รู้เท่าทัน อาการเสียวฟัน พร้อมหาวิธีการรักษา แก้ ลด ป้องกัน

อาการเสียวฟัน

ปวดฟันจี๊ด ๆ รู้สึกเจ็บแปลบ ๆ เป็นอาการเสียวฟันที่ใครก็ไม่อยากประสบพบเจอ แต่เชื่อเถอะว่าในช่วงชีวิตหนึ่งที่ผ่านมา ทุกคนคงต้องเคยมีอาการเสียวฟันมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะเมื่อโดนความร้อน เย็น หรือความดันอากาศที่เปลี่ยนแปลง หรือหายใจในอากาศหนาวแล้วรู้สึกเจ็บ ซึ่งอาการเสียวฟันเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพช่องปากที่ควรรีบแก้ไข หากรู้สาเหตุของอาการและทำการรักษาแก้ไขอย่างถูกต้อง ก็จะสามารถจบปัญหาที่รบกวนชีวิตประจำวันแบบนี้ไปได้

อาการเสียวฟัน-คืออะไร

อาการเสียวฟัน คืออะไร

อาการเสียวฟัน คือ อาการปวดฟันลักษณะหนึ่งอันเกิดจากการเสียผิวหน้าฟันหรือชั้นเคลือบฟัน ที่ทำหน้าที่ในการช่วยปกป้องฟันให้มีสุขภาพดี เมื่อผิวหน้าฟันเกิดภาวะกร่อนหรือเสียหาย ฟันสึก รากฟันเสียหาย เหงือกร่นมากกว่า 1 มิลลิเมตร ฟันผุ ฟันร้าว ชั้นเนื้อฟันที่อยู่ด้านในจึงมีโอกาสสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมได้ง่าย 

เมื่อมีการอักเสบของเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟัน และส่วนของประสาทฟันที่อยู่บริเวณเนื้อฟันไร้การปกป้อง จึงทำให้ไวต่อความรู้สึกจึงรู้สึกเสียวฟันได้เมื่อมีความร้อน ความเย็นมาสัมผัส ซึ่งอาการเสียวฟันสามารถพบได้ทุกเพศเฉลี่ยอายุระหว่าง 20-50 ปี

อาการเสียวฟันเกิดจากอะไร

อาการเสียวฟันเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ในที่นี้จะขอแบ่งเป็นอาการเสียวฟันจากพฤติกรรมและอาการเสียวฟันจากปัญหาสุขภาพช่องปาก ดังนี้

อาการเสียวฟันจากพฤติกรรม

  • การดื่มเครื่องดื่มหรือรับประทานอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น ดื่มน้ำอัดลม รับประทานอาหารรสเปรี้ยว 
  • การใช้ฟันขบเคี้ยวของแข็งและเหนียว เช่น ขบน้ำแข็ง เคี้ยวอาหารเหนียว 
  • พฤติกรรมแปรงฟันที่ไม่ถูกต้อง เช่น แปรงฟันแรงเกินไป การใช้แปรงสีฟันที่มีลักษณะแข็งเกินไป หรือการแปรงฟันมากกว่าสามครั้งต่อวัน
  • นอนกัดฟัน

พฤติกรรมดังกล่าวอาจทำให้เกิดการสูญเสียของสารเคลือบฟัน หากทำเป็นประจำล้วนทำให้เคลือบฟันสึก และบางลงจนถึงชั้นเนื้อฟันที่อยู่ใกล้กับโพรงประสาทฟันที่มีจำนวนของเส้นประสาทอยู่มาก เมื่อเกิดการกระตุ้น จะทำให้เกิดอาการเสียวฟัน

อาการเสียวฟันจากปัญหาสุขภาพช่องปาก

  • ฟันผุ
  • ฟันแตก ฟันร้าว
  • โรคเหงือกอักเสบ เหงือกร่น

ซึ่งอาการเสียวฟันเหล่านี้มักเป็นร่วมกับอาการปวดฟันหากปล่อยไว้โดยไม่รักษาอาจเกิดการลุกลามทำให้สูญเสียฟันได้

อีกหนึ่งต้นเหตุที่สามารถก่อให้เกิดอาการเสียวฟันเฉียบพลันคือ เกิดจากทันตแพทย์ หากคุณเคยเข้ารับการรักษาฟัน กรอฟัน ที่ทันตแพทย์ทำไม่เหมาะสมหรือดูแลไม่ถูกต้อง ก็อาจทำให้เกิดการเสียวฟันได้ รวมถึงในผู้ที่เคยเข้ารับการฟอกสีฟันบ่อยเกินไปก็มีผลให้เกิดการเสียวฟันบางชั่วขณะได้เช่นเดียวกัน วิธีการ-แก้-ลด-อากาเสียวฟัน

วิธีแก้-ลดอาการเสียวฟัน

สำหรับวิธีแก้อาการเสียวฟัน สามารถทำได้ไม่ยุ่งยาก โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอันเป็นปัจจัยสำคัญในการทำลายผิวหน้าฟัน ได้แก่

1.หลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำร้ายผิวเคลือบฟัน โดยเฉพาะการการรับประทานที่ทำร้ายผิวเคลือบฟัน เช่น อาหารรสจัด ผลไม้รสเปรี้ยวและน้ำอัดลม ที่มีฤทธิ์เป็นกรด หากบริโภคบ่อยและติดต่อกันนานเกินไป อาจทำให้เกิดการละลายตัวของเคลือบฟัน และควรงดเคี้ยวของแข็งเพราะการกัดของแข็งอาจทำให้ฟันแตกหรือหักเป็นรอยร้าวขนาดเล็กได้

DID YOU KNOW !!  ในสระว่ายน้ำที่ผสมคลอรีน จะความเป็นกรดผสมอยู่ และสามารถทำลายเคลือบฟันได้ ดังนั้นหลังขึ้นจากสระ ไม่ควรแปรงฟันทันที เพราะเคลือบฟันที่โดนน้ำในสระจะถูกทำลายได้ง่าย

2.แปรงฟันอย่างถูกวิธี ด้วยการเลือกใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม และแปรงฟันให้ถูกวิธี ปกป้องกันภาวะเหงือกอักเสบ เลือกใช้ยาสีฟันพิเศษ ที่มีสารโปรตัสเซียมไนเตรต โปรตัสเซียมคลอไรรด์ หรือกลูตารอลดีไฮด์ผสมอยู่ จะช่วยป้องกันไม่ให้เส้นประสาทถูกกระตุ้นบรรเทาอาการเสียวฟันได้ แนะนำแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดฟันหลังแปรงฟันทุกครั้ง

อย่างไรก็ตาม หากลองใช้วิธีแก้อาการเสียวฟัน ทั้ง 2 วิธีที่กล่าวมา ทำแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ให้รีบปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อรับการรักษาให้ถูกต้องตามสาเหตุ

วิธีรักษาอาการเสียวฟัน

เสียวฟันแบบไหนที่ต้องรีบพบแพทย์ ก่อนสายเกินแก้!

ถึงแม้ว่าอาการเสียวฟันจะสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมบางอย่าง แต่หากคุณมีอาการเสียวฟันร่วมกับอาการดังต่อไปนี้ควรพบแพทย์ด่วน เพราะอาการเสียวฟันที่เกิดขึ้นอาจลุกลามลงไปถึงรากฟันได้

  • เสียวฟันร่วมกับฟันผุรุนแรง มีอาการปวดฟันมาก
  • มีอาการเสียวฟันมากจนทนไม่ไหว
  • เสียวฟันร่วมกับฟันแตก ฟันร้าว

วิธีการรักษาอาการเสียวฟัน

อาการเสียวฟัน โดยทั่วไป ที่ไม่ใช่เกิดจากฟันผุ สามารถรักษาได้ด้วยตัวคุณเองด้วยการเลือกใช้ยาสีฟันที่มีสรรพคุณลดอาการเสียวฟัน แปรงฟันทุกวัน อาการเสียวฟันก็จะค่อยๆ ลดลงไปได้เอง หากใช้ยาสีฟันลดอาการเสียวฟันอย่างต่อเนื่องประมาณ 14 วันแล้ว แต่อาการเสียวฟันยังไม่หายไป แนะนำให้รีบปรึกษาทันตแพทย์ทันที

วิธีการรักษาอาการเสียวฟัน ในส่วนของทันตแพทย์ คือ การหาสาเหตุให้พบ และอาจใช้สารเคลือบฟลูออไรด์เสริมสร้างสารเคลือบฟันและเนื้อฟันบริเวณให้แข็งแรง กรณีที่ทราบถึงปัญหาสุขภาพฟันที่ก่อให้เกิดอาการเสียวฟัน ก็จะใช้วิธีรักษาตามสาเหตุที่เป็น เช่น การอุดฟัน ถอนฟัน ครอบฟัน รักษาโรคเหงือก รักษาคลองรากฟัน เป็นต้น

วิธีการป้องกันอาการเสียวฟัน

ควรหลีกเลี่ยงสาเหตุที่กล่าวมาแล้วข้างต้น รวมไปถึงไม่ใช้ฟันผิดหน้าที่ เช่น กัด ดึง ขบของแข็งๆ หลีกเลี่ยงอาหารเปรี้ยวจัด แต่หากเลี่ยงไม่ได้หลังรับประทานอาหารรสเปรี้ยวที่เป็นกรด ควรดูแลด้วยการบ้วนปากหลังรับประทานอาหารเหล่านี้ทุกครั้ง พบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน และเมื่อปีปัญหาที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้ตัวคุณเอง ควรปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อไม่ให้เกิดการลุกลาม

อาการเสียวฟัน ถึงแม้จะไม่ใช่อาการเจ็บปวดที่รุนแรง แต่อาการเสียวฟันเป็นสัญญาณเริ่มต้นที่บ่งบอกได้ว่าสุขภาพช่องปากและฟันของคุณกำลังมีปัญหา จึงควรรีบทำการรักษาหาสาเหตุ ไม่ควรประมาท เพราะไม่เช่นนั้นอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ตามมาได้

Line chat facebook chat call to clinic

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า