ฟันกรามแตกเป็นโพรง เป็นรู รักษายังไง ควรอุดหรือถอน และราคาเท่าไหร่

ฟันกรามแตกเป็นโพรง เป็นรู รักษายังไง ควรอุดหรือถอน

ฟันกราม (Molar Tooth) คือ ฟันซี่สำคัญที่จะอยู่ด้านในสุดของฟันมีทั้งส่วนของฟันบนและฟันล่าง (ฟันคุดที่ฝังอยู่ใต้เหงือกและบริเวณกระดูกขากรรไกร ถ้าโผล่ขึ้นมาก็ไม่ได้นับเป็นฟันกราม)​ โดยฟันกรามจะทำหน้าที่ช่วยในการบดเคี้ยวอาหาร รวมถึงช่วยควบคุมทิศทางการเคลื่อนไหวของขากรรไกรอีกด้วย แต่ด้วยการเป็นฟันซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่ลึกมากๆ อาจทำให้ทำความสะอาดได้ไม่ดี จนทำให้เกิดอาการฟันผุ ไปจนถึงมีการติดเชื้อ และอักเสบตามมาจนทำให้ต้องทำการรักษาทางทันตกรรม เช่น อุดฟัน, รักษารากฟัน, ครอบฟัน ฯลฯ 

แล้วอาการฟันแตกเป็นโพรงหรือเป็นรูที่เรากำลังจะพูดถึงกันในบทความนี้ล่ะ? มีสาเหตุการเกิดจากการรักษาความสะอาดที่ไม่ดีพอด้วยหรือเปล่า และจะรักษาด้วยวิธีการไหนได้บ้าง รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการรักษาเท่าไหร่ ตาม Smile and co ไปดูพร้อมๆ กันเลยดีกว่า

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

รู้จักกับอาการ ‘ฟันกรามแตก’

ฟันกรามแตก คือ อาการของฟันกรามซึ่งเป็นฟันที่มีขนาดใหญ่และมีความแข็งแรงกว่าฟันซี่อื่นเกิดรอยร้าวและเกิดการแตกหักขึ้นทั้งแบบที่สามารถมองเห็นและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าได้ โดยอาจจะเริ่มแตกหักจากผิวฟันเล็กๆ ไปจนถึงขั้นฟันกรามแตกครึ่งซี่ไปเลยก็ได้ จนทำให้เกิดโพรงหรือรูบริเวณฟันกรามตามมานั่นเอง

สาเหตุที่ทำให้ฟันกรามแตก

ส่วนสาเหตุที่ทำให้ฟันกรามแตกนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น

  • การใช้ฟันกรามในการบดเคี้ยวหรือกัดฉีกของแข็ง เช่น น้ำแข็ง กระดูก ถั่ว ลูกอม ฯลฯ จนนำไปสู่อาการฟันร้าวและถ้าปล่อยเอาไว้หรือทำพฤติกรรมเดิมๆ ก็อาจจะทำให้เกิดอาการฟันกรามแตกตามมาได้
  • การใช้ฟันกรามในการงัดหรือกัดของแข็งอยู่บ่อยๆ
  • การนอนกัดฟัน
  • การสึกหรอของฟันกรามตามอายุ ส่วนใหญ่จะพบได้ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
  • การเกิดอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนต่อฟัน
  • การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างกะทันหันในปาก เช่น รับประทานอาหารร้อนมากๆ แล้วเปลี่ยนไปรับประทานอาหารที่เย็นมากๆ ทันที
  • การอุดฟันขนาดใหญ่จนทำให้โครงสร้างของฟันอ่อนแอลง

อาการที่เกิดขึ้นได้เมื่อฟันกรามแตก

อาการที่เกิดขึ้นได้เมื่อฟันกรามแตกเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณควรเข้าพบทันตแพทย์เพื่อรักษาก่อนที่จะสูญเสียฟันซี่สำคัญของคุณไป ลองมาดูกันว่าคุณมีอาการเหล่านี้อยู่หรือเปล่า

  • มีอาการปวดเป็นพักๆ หรือเป็นๆ หายๆ รวมถึงปวดบริเวณฟันกรามขณะที่เคี้ยวอาหารหรือใช้ฟันกรามเพื่อการกัด
  • รู้สึกเสียวฟันในขณะที่กินของร้อนจัดหรือเย็นจัด
  • มีอาการเหงือกบวมในบริเวณซี่ฟันกรามที่มีปัญหาแตก
  • มีกลิ่นปากและลมหายใจมีกลิ่น
  • หากฟันกรามแตกเยอะก็อาจจะพบว่าเป็นรูที่สังเกตเห็นได้
  • มีไข้

หากมีอาการเหล่านี้แล้วไม่ได้ทำการแก้ไขอาจทำให้เกิดการติดเชื้อหรือเกิดโรคอื่นๆ ตามมาได้ เช่น การเกิดฝีรากฟัน เป็นต้น

ลักษณะของฟันกรามแตก

ฟันกรามแตกเป็นร่องเล็กๆ 

ลักษณะของฟันกรามแตกเป็นร่องเล็กๆ (Craze lines) จะเป็นลักษณะของฟันกรามที่แตกบริเวณชั้นเคลือบผิวฟันซึ่งอยู่ด้านนอกสุดของฟัน ปกติจะไม่ได้ทำให้รู้สึกเจ็บหรือปวด แต่ก็ควรที่จะไปพบกับทันตแพทย์ก่อนเพื่อทำการรักษาให้ฟันกลับมาเป็นปกติดังเดิม

ฟันกรามแตกเป็นรู

ลักษณะของฟันกรามแตกเป็นรูปวดมาก (Fractured cusp) หรือ ฟันกรามแตกเป็นโพรง มักพบในฟันที่มีรอยอุดขนาดใหญ่ และมักจะเป็นรอยแตกลึกไปสู่บริเวณเนื้อฟัน แต่ส่วนใหญ่ก็จะไม่ได้ทะลุไปถึงโพรงประสาทฟันจึงไม่ได้ก่อให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดมากมายนัก แต่ก็ควรทำการรักษา เพราะต่อไปอาจมีเศษอาหารตกลงไปและถ้าทำความสะอาดไม่ดีอาจก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาได้

ฟันกรามแตกและมีรอยร้าว

ลักษณะของฟันกรามแตกและมีรอยร้าว จะมีอยู่ด้วยกันหลายลักษณะ เช่น

  • ฟันกรามแตกและมีรอยร้าวแบบแนวเฉียง มักเห็นตามผิวฟัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเจ็บปวดระดับเบา
  • ฟันกรามแตกและมีรอยร้าวแบบบขวางซึ่งยังไม่ถึงบริเวณเหงือก ซึ่งอาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดได้
  • พื้นผิวฟันแตกและมีรอยร้าวอาจเกิดจากพฤติกรรมและเทคนิคการอุดฟัน มีได้หลายสาเหตุ และมักสัมพันธ์กับการอายุการใช้งานของฟัน

ฟันกรามแตกเป็น 2 ส่วน

ลักษณะของฟันกรามแตกเป็น 2 ส่วน (Split tooth) มักจะเกิดจากพฤติกรรมชอบเคี้ยวอาหารแข็ง หรือมีประวัตินอนกัดฟัน ร่วมกับเนื้อฟันที่บางและการมีรอยอุดฟันขนาดใหญ่ อาการมักจะทำให้รู้สึกปวด อาจมีหนองเกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่อรอบรากฟัน และผู้ป่วยจะรู้สึกว่าฟันแยกออกจากกันได้

ฟันกรามแตกเป็นแนวตั้ง

ลักษณะของฟันกรามแตกเป็นแนวตั้ง (Vertical root fracture) รอยแตกเริ่มต้นจากส่วนรากฟัน และอยู่เฉพาะส่วนรากเท่านั้น ถ้าไม่ได้เกิดอาการติดเชื้อบริเวณรากฟันก็จะไม่แสดงอาการอะไร ส่วนใหญ่จะเป็นในกรณีฟันที่ทำการรักษารากและมีการขยายคลองรากมากเกินไปร่วมกับการใส่เดือยฟัน หรือมีการใช้แรงในการอุดคลองรากฟันที่มากเกินไป ซึ่งหากเกิดฟันแตกในลักษณะนี้ส่วนมากจะต้องทำการถอนฟันออก

ฟันกรามแตกเหลือแต่รากทำอย่างไร

ฟันกรามแตกเหลือแต่รากหรือเรียกกันว่า ตอฟัน ซึ่งอาจจะปรากฏอยู่ใต้เหงือกหรือเหนือเหงือกขึ้นมาก็ได้ ซึ่งตอฟันที่ว่านี้ไม่ได้มีประโยชน์ในการช่วยบดเคี้ยวอาหารอีกต่อไป แถมยังส่งผลเสียทำให้เกิดกลิ่นปาก เกิดอาการปวด เกิดปัญหาเศษอาหารเข้าไปติดได้ แถมยังไม่สามารถใส่ฟันปลอมทดแทนได้ด้วย ดังนั้น ทางแก้เดียวคือการไปพบกับทันตแพทย์เพื่อทำการถอนออกก่อนที่จะทำทันตกรรมอื่นๆ เพิ่มเติมที่ช่วยทดแทนฟันซี่เดิมที่สูญเสียไป

ฟันกรามแตก อันตรายไหม

ฟันกรามแตกอาจไม่ได้เห็นว่าเป็นอันตรายทันทีในกรณีที่มีการแตกหรือร้าวไม่มาก รวมถึงไม่มีอาการปวด แต่ถ้าหากทิ้งไว้นานๆ แน่นอนว่าย่อมมีความเสี่ยงที่ตามมาทั้งในเรื่องของบุคลิกภาพที่จะเสียหายจากการมีกลิ่นปากหรือลมหายใจที่เหม็น, เกิดความรู้สึกรำคาญเมื่อมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ในส่วนของฟันกรามที่แตกเป็นรู และถ้าทำความสะอาดไม่ดีพอก็นำไปสู่อาการฟันผุ ปวด บวม หรือติดเชื้อ จนถึงขั้นต้องถอนฟันทิ้งได้เลย 

นอกจากนี้แล้วยังทำให้ความสุขในการรับประทานอาหารลดลงจากอาการเสียวฟันและปวดฟัน ซึ่งในผู้สูงอายุมักเป็นอาการที่ส่งผลให้รับประทานอาหารได้น้อย ทำให้สุขภาพแย่ลงได้ด้วยผลข้างเคียงเมื่อฟันกรามแตก

ผลข้างเคียงเมื่อฟันกรามแตกก็คืออาการของโรคต่างๆ ภายในช่องปากที่ตามมาได้ง่ายมากขึ้น ทั้งจากพฤติกรรมการดูแลที่อาจไม่สะอาดเนื่องจากรอยแตกทำให้ทำความสะอาดฟันได้ยากขึ้น รวมถึงรอยแตกนั้นทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดและกระทบต่อการใช้ชีวิต ซึ่งโรคในช่องปากที่ตามมานั้นมีได้หลายอย่างเลย ไม่ว่าจะเป็น…

  • ฟันผุ (Tooth decay) 
  • โรคเหงือก (Gum disease)
  • ฝีในฟัน (Tooth abscess)
  • สูญเสียฟัน (Tooth loss)

ฟันกรามแตก ทำให้ติดเชื้อได้ไหม

ฟันกรามแตกสามารถทำให้เกิดการอักเสบหรือการติดเชื้อตามมาได้ โดยเชื้ออาจจะกระจายไปสู่กระดูกและเหงือกในบริเวณใกล้เคียง หรือทำให้เกิดฝีในฟันหรือฝีรากฟันที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรียในฟันที่มีหนองสะสม ทำให้เกิดอาการเจ็บ เหงือกบวม เป็นไข้ และลมหายใจเหม็นในปาก ทางที่ดีควรทำการรักษาอย่าปล่อยให้เกิดการติดเชื้อลุกลามจะดีที่สุด

ฟันกรามแตก รักษาอย่างไร

หากคุณมีอาการฟันกรามแตกแนะนำให้เข้าพับกับทันตแพทย์เพื่อรับการประเมินขั้นตอนการรักษา ซึ่งวิธีการรักษานั้นก็จะขึ้นอยู่กับอาการและลักษณะของฟันด้วยว่าเป็นอย่างไร ซึ่งวิธีการส่วนใหญ่ที่ใช้จะมีดังต่อไปนี้

  • กรอฟัน : จะเป็นวิธีการรักษาฟันกรามแตกที่เป็นรอยร้าวบริเวณเคลือบฟันเพียงเล็กน้อย ไม่มีอาการใดๆ นอกจากจะรู้สึกว่าฟันคมหรือฟันบาดลิ้น ทันตแพทย์จะทำการกรอฟันให้กลับมาเรียบและขัดลดความคมของฟันให้น้อยลง รวมถึงแก้ไขให้ฟันกลับมาสวยงามเหมือนเดิม
  • อุดฟัน : จะเป็นวิธีการรักษาฟันกรามแตกแบบเป็นรูหรือเป็นโพรง จึงต้องใช้วิธีการอุดฟันเพื่อทดแทนส่วนของฟันที่แตกหายไปจนเกิดเป็นรู ซึ่งการอุดฟันก็สามารถเลือกวัสดุอุดฟันได้ว่าจะใช้เป็นวัสดุสีโลหะ (Amalgam Filling) หรือจะอุดด้วยวัสดุที่สีเหมือนฟันก็ได้
  • ครอบฟัน : จะเป็นวิธีการรักษาฟันกรามแตกแบบบางส่วนของฟันเสียหาย เพื่อเก็บรักษาฟันไว้ให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้น แต่ถ้าเกิดรอยแตกลึกถึงชั้นโพรงประสาทฟันจนทำให้มีอาการปวดก็จะต้องทำการรักษารากฟันก่อน
  • รักษารากฟัน : จะเป็นวิธีการรักษาฟันกรามแตกในกรณีที่มีอาการปวดและตรวจแล้วพบว่า มีการแตกลึกจนเห็นเส้นประสาทหรือโพรงประสาทฟัน เพื่อรักษารากฟันเอาไว้ หลังจากนั้นจึงทำการครอบฟันเพิ่ม เพื่อให้ฟันกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิมต่อไป (ลองดูว่ารักษารากฟันราคาเท่าไหร่ได้ที่ รักษารากฟัน ราคาเท่าไหร่ ทุกค่าใช้จ่ายที่ควรรู้เมื่อรักษารากฟัน)
  • ถอนฟัน : จะเป็นวิธีการรักษาฟันกรามแตกในกรณีที่มีการแตกค่อนข้างมาก หรืออาจจะเหลือแค่ส่วนของตอฟันทำให้ต้องถอนฟันทิ้ง เพื่อป้องกันการปวด บวม หรือในกรณีที่ต้องการใส่ฟันปลอมไปจนถึงทำการใส่รากฟันเทียมก็ควรที่จะกำจัดฟันส่วนนี้ทิ้งไปเช่นเดียวกัน 

(ดูรีวิวรากฟันเทียมเพิ่มเติมได้ที่: รีวิวรากฟันเทียม อัปเดตล่าสุด)

ฟันกรามแตก ใช้เวลารักษากี่วัน

ในด้านการรักษาฟันกรามแตกใช้เวลากี่วันนั้นขึ้นอยู่กับว่าฟันกรามแตกในลักษณะใด ถ้าหากเป็นแค่รอยร้อยหรือแตกเพียงเล็กน้อย ทำเพียงแค่กรอฟันก็สามารถรักษาอาการได้แล้ว แต่ถ้าต้องรักษารากฟันก็จะใช้เวลาประมาณ 1-2 ครั้ง (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพของการติดเชื้อและการวินิจฉัยของทางแพทย์ด้วย) ระยะเวลาห่างกันประมาณ 1-2 สัปดาห์เลยทีเดียว ซึ่งคุณสามารถเข้าพับกับทันตแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาก่อนได้

ฟันกรามแตก มีค่ารักษาราคาเท่าไหร่

สำหรับการรักษาฟันกรามแตก ราคาจะขึ้นอยู่กับวิธีการรักษา ซึ่งมีเรตราคาที่แตกต่างกัน เช่น ราคาครอบฟันจะอยู่ที่ 10,000 – 22,000 บาท, ราคารักษารากฟันกรามจะอยู่ที่ประมาณ 10,000 – 13,000 บาท, ราคาถอนฟันจะเริ่มต้นที่ 900 – 2,000 บาท (ตรวจสอบอัตราค่าบริการของทาง Smile and Co แบบละเอียดได้ที่ อัตราค่าบริการ)

หลังฟันกรามแตกดูแลฟันอย่างไร

เมื่อพบว่าฟันกรามแตกอย่างแรกถ้ายังมีส่วนของฟันที่แตกอยู่ให้เก็บใส่ไว้ในขวดที่มีน้ำนมหรือน้ำลายผสมเอาไว้ เพื่อยืดอายุของเนื้อฟัน เผื่อว่าเมื่อพบกับทันตแพทย์จะได้นำชิ้นส่วนฟันต่อกลับเข้าไปได้ ส่วนฟันที่แหลมคมในช่องปากให้ใช้ขี้ผึ้งสำหรับจัดฟันที่คนจัดฟันแบบโลหะ ใช้สำหรับป้องกันลวดจัดฟันบาดปากทาปิดบริเวณขอบคมๆ ของฟันเอาไว้ได้ 

หลังจากนั้นให้ทำการกลั้วปากด้วยน้ำเกลือเพื่อยับยั้งแบคทีเรียในช่องปาก และอย่าลืมรับประทานยาแก้ปวดเพื่อระงับอาการปวดเอาไว้ด้วย

ข้อควรปฏิบัติหลังรักษาฟันกรามแตก

วิธีในการป้องกันไม่ให้เกิดฟันกรามแตกซ้ำจะมีอะไรที่ต้องดูแลบ้าง แนะนำให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้

  1. ปรับพฤติกรรมที่เสี่ยงทำให้ฟันกรามแตก เช่น การกัดฟัน หรือกัดสิ่งของด้วยฟันกราม, การรับประทานอาหารที่แข็งหรือเคี้ยวยาก, ใส่อุปกรณ์คลุมฟันเพื่อป้องกันการกระแทกเมื่อเล่นกีฬาหรือตอนนอนเพื่อแก้ปัญหาการนอนกัดฟัน,ให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหาร เช่น ไม่ทานของร้อนจัดและเย็นจัดในเวลาเดียวกัน เพราะว่าจะเสี่ยงในการทำให้ฟันเกิดรอยร้าวได้
  2. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมเพราะแคลเซียมมีส่วนช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของกระดูกและฟัน รวมถึงช่วยชะลอการเสื่อมสลายของกระดูก เช่น นม ผลิตภัณฑ์จากนม งา ถั่วขาว ปลาซาร์ดีน เป็นต้น
  3. หมั่นดูแลสุขภาพในช่องปากให้สะอาดและแข็งแรงอยู่เสมอด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น และใช้ไหมขัดฟันในการทำความสะอาดซอกฟันที่แปรงเข้าไปทำความสะอาดไม่ถึงควบคู่กันไปด้วย
  4. เข้าพับกับทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพในช่องปากทุกๆ 6 เดือน เพื่อดูว่าฟันแข็งแรงดีหรือไม่ มีปัญหาอื่นๆ เช่น หินปูน ฟันผุ ที่ต้องเคลียร์ช่องปากหรือเปล่า รวมถึงยังเป็นช่วงเวลาปรึกษาการทำทันตกรรมอื่นๆ เพิ่มได้ด้วย เช่น ปรึกษาเรื่องการจัดฟัน, ผ่าตัดขากรรไกร, ตัดเหงือก เป็นต้น

คำถามที่พบบ่อย

ฟันกรามแตก ถอนฟันได้ไหม

หากฟันมีส่วนที่เสียหายรุนแรง เช่น ฟันกรามแตกจนเหลือแต่ตอฟัน สามารถทำการถอนฟันเพื่อป้องกันอาการติดเชื้อที่อาจจะตามมาได้

ฟันกรามแตกเด็กกับผู้ใหญ่ต่างกันไหม

ฟันกรามไม่ว่าจะเป็นของเด็กหรือผู้ใหญ่จะเป็นฟันแท้เหมือนกัน ดังนั้น จึงต้องรีบรักษาให้เร็วที่สุดเพราะมีโอกาสสูญเสียฟันซี่สำคัญไปแบบถาวรได้ แต่เนื่องจากโครงสร้างของฟันเด็กนั้นอาจจะต่างจากผู้ใหญ่อยู่บ้าง รวมถึงเด็กอาจมีความกังวล ความเครียด และความกลัวที่มากกว่า จึงควรใช้ทันตแพทย์เด็กที่เชี่ยวชาญในการรักษาจะดีกว่า

ฟันกรามแตกครึ่ง อุดได้ไหม

หากฟันกรามแตกครึ่งทันตแพทย์มักจะใช้วิธีการครอบฟัน เพื่อรักษาเนื้อฟันเอาไว้ และทำให้ฟันกลับมาใช้งานได้ปกติมากกว่าการอุดฟันที่จะเหมาะกับการซ่อมแซมฟันกรามแตกในลักษณะเป็นโพรงหรือรูมากกว่า

ฟันกรามแตกปวดฟันมากทำอย่างไร

ในเบื้องต้นให้รับประทานยาแก้ปวดและทำการบ้วนน้ำเกลือเพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียในช่องปากก่อนแล้วเข้าพบกับทันตแพทย์โดยเร็วเพื่อวินิจฉัยและทำการรักษาฟันกรามแตกอย่างถูกต้อง

ฟันกรามแตกไม่รักษาได้ไหม

หากฟันกรามแตกแล้วไม่ทำการรักษาหรือรักษาช้าอาจทำให้เกิดการติดเชื้อจนลุกลามกลายเป็นปัญหาช่องปากอื่นๆ ได้ รวมถึงยังทำให้เกิดความเจ็บ ปวด เป็นไข้ และก่อให้เกิดความรำคาญ ซึ่งกระทบต่อการใช้ชีวิตด้วย ดังนั้นจึงควรรักษาให้หายขาดจะดีที่สุด

ฟันกรามแตก รักษาด้วยตัวเองได้ไหม

หากเกิดเหตุทำให้ฟันกรามแตกจะไม่รักษาได้ด้วยตัวเอง แนะนำให้เข้าพับกับทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาตามลักษณะอาการจะปลอดภัยที่สุด

สรุป

ฟันกรามแตกเป็นอาการที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยตัวเองได้ เพราะเป็นการสูญเสียเนื้อฟันบางส่วนหรือมีอาการฟันร้าวเกิดขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องใช้การทำทันตกรรมในการรักษา ซึ่งถ้าคุณไม่แน่ใจว่าจะรักษาฟันกรามแตกที่ไหนหรือใช้วิธีใดในการรักษาดี สามารถติดต่อนัดปรึกษาสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์เฉพาะทาง Smile And Co Dental Clinic แบบฟรีๆ ได้เลยที่ ติดต่อเรา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Line chat facebook chat call to clinic

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า