[รวมขัอมูล] เกลารากฟัน รักษาโรคปริทันต์อักเสบ คืออะไร สาเหตุ การรักษา ป้องกัน

เกลารากฟัน รักษาโรคปริทันต์อักเสบ คืออะไร สาเหตุ การรักษา ป้องกัน

การเกลารากฟัน คือการใช้เครื่องมือปริทันต์ เกลากำจัดหินปูนที่อยู่ใต้เหงือก ส่วนใหญ่จะลึกมากกว่า 3 มิลลิเมตรขึ้นไป ซึ่งมักจะทำให้เกิดความเจ็บปวดกับผู้ป่วย จึงจำเป็นต้องทำร่วมกับการฉีดยาชา เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเจ็บ และทันตแพทย์สามารถกำจัดหินปูน รวมทั้งเนื้อเยื่ออักเสบที่อยู่ลึกๆได้หมดโดยไม่ต้องกังวลว่าจะทำให้ผู้ป่วยเจ็บ

ดังนั้น การรักษาโดยการเกลารากฟันนี้ส่วนใหญ่ใช้เวลา เพราะเป็นงานละเอียดและยากที่จะทำการกำจัดหินปูนที่อยู่ลึกให้ครบทุกด้านได้ในครั้งเดียว ทันตแพทย์จึงต้องนัดมาเกลารากฟันหลายครั้ง

วันนี้คุณหมอจะพาคนไข้ทุกคน มารู้จักเกี่ยวกับเรื่องของการเกลารากฟันกันคะ

เลือกหัวข้ออ่านเกี่ยวกับการเกลารากฟัน

เกลารากฟัน คืออะไร

เกลารากฟัน (Root Planing) คือ การกำจัดหินปูนและจุลินทรีย์ ที่สะสมที่ลึกลงไปที่ผิวรากฟันด้านล่าง และเนื้อเยื่ออักเสบที่อยู่ใต้เหงือกลึกๆ ส่วนใหญ่จะต้องเริ่มต้นขูดหินปูนด้านบน ๆ ให้หมดก่อน โดยใช้เครื่องขูดหินปูน (sonic หรือ ultrasonic scaler)  ในการกำจัดหินปูน หลังจากนั้นก็จะใช้เครื่องมือปริทันต์โดยเฉพาะ เช่น คิวเรตต์ (Curette) ที่มีขนาดและรูปร่างต่างๆกัน และ ซิกเกล (Sickle) เพื่อใช้ในการขูดหินปูนที่หลงเหลือออกและเกลารากฟันใต้เหงือก การเกลารากฟันโดยส่วนใหญ่ต้องทำร่วมกับการฉีดยาชาด้วย เพราะเจ็บมาก

การเกลารากฟัน นอกจากจะรักษาการอักเสบของเหงือกแล้ว ยังช่วยรักษาอวัยวะปริทันต์อื่นๆ ด้วย เช่น เคลือบรากฟัน (Cementum) เอ็นยึดปริทันต์ (Periodontal Ligament) และ กระดูกเบ้าฟัน (Socket)

เกลารากฟันทั้งปาก หรือ แค่บางซี่ รู้ได้อย่างไร

การเลือกเกลารากฟันทั้งปาก หรือ เกลารากฟันบางซี่ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาสุขภาพฟันของทันตแพทย์ ผู้รักษา หากประเมินแล้วมีปัญหาของโรคปริทันต์หลายซี่ และ รุนแรง (โดยการ X-ray และ ตรวจร่องลึกปริทันต์) ก็มีจำนวนฟันที่ต้องเกลารากฟันหลายซี่ แต่สามารถทยอยทำได้ ไม่จำเป็นต้องเกลารากฟันทั้งปากในครั้งเดียว

เกลารากฟัน ช่วยอะไรได้บ้าง

การเกลารากฟันนั้นจะใช้รักษาในผู้ป่วยที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบ (คือมีการทำลายอวัยวะปริทันต์ ไม่ใช่เฉพาะที่เหงือกแต่ลุกลามไปถึงกระดูกเบ้าฟัน) สามารถสังเกตได้คือ เหงือกมีการอักเสบ ร่วมกับการมีเหงือกร่น หรือมีฟันโยก หรือบางครั้งอาจมีฝีปริทันต์ร่วมด้วย เช่น มีหนอง

ประโยชน์ของการเกลารากฟันสามารถช่วยได้ดังนี้

  • ลดปัญหากลิ่นปาก เนื่องจากลดเชื้อแบคทีเรียในช่องปากจำนวนมาก และลดเหงือกบวมอักเสบ
  • เหงือกกลับมาแข็งแรงมากขึ้นเมื่อเกลารากฟันไปแล้ว เพราะจะทำให้ผิวรากฟันเรียบ ไม่มีทั้งคราบหินปูนและคราบเชื้อโรคที่เกาะบนรากฟัน
  • คนไข้สามารถทำความสะอาดได้ง่ายมากขึ้น เป็นการช่วยป้องกันการกลับมาของโรคปริทันต์ได้
  • ฟันจะแข็งแรงขึ้น ไม่โยก ทำให้สามารถกลับมาเคี้ยวอาหารได้และมีสุขภาพช่องปากที่ดีเหมือนเดิม

เกลารากฟันกับขูดหินปูน ต่างกันอย่างไร

การขูดหินปูน คือการกำจัดหินปูนที่สะสมเหนือเหงือกและใต้เหงือกลงไปเล็กน้อย ส่วนการเกลารากฟันนั้นจะเป็นการกำจัดหินปูน สิ่งสะสมบนผิวรากฟันและเนื้อเยื่ออักเสบที่อยู่ใต้เหงือกลึกๆ

สำหรับการขูดหินปูนนั้นส่วนใหญ่จะใช้เครื่องขูดหินปูน (sonic หรือ ultrasonic scaler) ในการกำจัดหินปูน เครื่องนี้จะมีเสียงดังและมีน้ำเยอะขณะขูด โดยทันตแพทย์จะขูดหินปูนเหนือเหงือกและอาจร่วมกับการใช้เครื่องมือปริทันต์ เช่น คิวเรตต์ และ ซิกเกล ขูดหินปูนที่ยังหลงเหลือที่เครื่องขูดหินปูนเข้าไม่ถึง เช่น บริเวณซอกฟัน หรือใต้เหงือกเล็กน้อย

การขูดหินปูนนั้นปกติจะไม่ต้องฉีดยาชา เพราะไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยเจ็บมาก แต่อาจจะรู้สึกเสียวฟันและเจ็บเล็กน้อยที่เหงือกซึ่งผู้ป่วยมักจะทนได้

การขูดหินปูนเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีสภาวะเหงือกอักเสบ ซึ่งการอักเสบนั้นเกิดบริเวณเหงือกอย่างเดียว ยังไม่ทำอันตรายต่อ อวัยวะปริทันต์อื่นๆ ได้แก่ เคลือบรากฟัน เอ็นยึดปริทันต์และ กระดูกเบ้าฟัน เวลาที่ใช้ในการขูดไม่นาน สามารถขูดหินปูนทั้งปากได้เสร็จในครั้งเดียว

โดยทั่วไป การเกลารากฟันมักจะต้องรักษามากกว่าหนึ่งครั้ง ไม่สามารถทำให้เสร็จภายในครั้งเดียว พร้อมทั้งต้องคอยตรวจสอบด้วยว่า คนไข้สามารถดูแลทำความสะอาดได้อย่างถูกต้องหรือไม่

ดังนั้น การเกลารากฟัน จึงมักมีราคาที่สูงกว่าการขูดหินปูนปกติ เนื่องจากเป็นการรักษาที่ใช้เวลามากกว่า และอาจต้องฉีดยาชาร่วมด้วย ผู้ที่เป็นโรคเหงือกอักเสบรุนแรง มักต้องเข้าพบทันตแพทย์บ่อยครั้งกว่าคนทั่วไป เพื่อดูแลและตรวจเช็คอาการของโรคอย่างสม่ำเสมอ

ขั้นตอนการเกลารากฟัน

  • การตรวจวัดร่องปริทันต์ และ เอ็กซ์เรย์ (X-ray) ฟัน เพื่อทำการประเมินวินิจฉัย เพราะการรักษาโรคปริทันต์จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของการเกิดโรค
  • ขูดหินปูน (Scaling) ก่อนทำการเกลารากฟัน เพื่อกำจัดหินปูนและคราบจุลินทรีย์ที่เกาะอยู่บนตัวฟันและบริเวณขอบเหงือกออก
  • เกลารากฟัน (Root Planing) เป็นการทำผิวรากฟันให้สะอาดและเรียบ เพื่อกำจัดหินปูนและคราบจุลินทรีย์ที่เกาะลึกลงไปในผิวรากฟันเป็นการขูดหินปูนที่อยู่ลึกลงไปใต้เหงือกมากๆ มักต้องฉีดยาชาและขูดที่ละส่วนหรือที่ละครึ่งปาก การรักษาโดยการเกลารากฟันนี้ส่วนใหญ่ใช้เวลานาน เพราะเป็นงานละเอียดและยากที่จะกำจัดหินปูนที่อยู่ลึกให้หมดได้ในครั้งเดียว
  • ในกรณีที่เป็นโรคปริทัต์ชนิดรุนแรง ต้องใช้การผ่าตัดเปิดเหงือก (ศัลย์ปริทันต์ : Periodontal Surgery) เพื่อทำการรักษาการผ่าตัดเปิดเหงือก ทันตแพทย์จะพิจารณาวางแผนการรักษา ซึ่งจะมีหลายชนิดและหลายลักษณะงาน เช่น การตัดเหงือก, การกรอแต่งกระดูก การร่นเหงือก หรือ ผ่าตัดเพื่อขูดหินปูนบนผิวรากฟันที่ลึกมากๆ ขึ้นอยู่กับระดับการลุกลามของโรค
  • หลังจากเสร็จสิ้นการเกลารากฟันแต่ละครั้ง ต้องนัดพบทันตแพทย์ประจำทุก 3-6 เดือน (follow up and recall) หลังจากรักษาเสร็จแล้ว เพื่อตรวจสอบว่าสุขภาพเหงือกดีขึ้นหรือไม่ และจะตรวจสภาพร่องลึกปริทันต์ด้วย ส่วนใหญ่เนื้อเยื่อเหงือกที่เคยบวมแดงนั้นจะกลับมาแข็งแรงและอีกครั้ง อาการเลือดออกลดลงหรือหายไป ส่วนร่องลึกปริทันต์นั้นก็จะมีขนาดเล็กลงด้วย หลังจากนี้ ถ้าคุณดูแลใส่ใจฟันอย่างดี คุณก็อาจไม่ต้องทำการรักษาแค่ขูดหินปูนเท่านั้น

การดูแลรักษาหลังเกลารากฟัน

  1. หลังจากเกลารากฟันเสร็จอาจจะมีอาการเสียวฟันได้ ดังนั้นก่อนและหลังจากเกลารากฟันคนไข้ควรใช้ยาสีฟันที่ช่วยลดอาการเสียวฟันเพื่อบรรเทาอาการดังกล่าว ซึ่งปกติแล้วอาการจะหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์
  2. หลังการเกลารากฟันอาจมีเลือดซึมๆ ออกมาที่ขอบเหงือกและมีอาการบวม ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้
  3. ทันตแพทย์จะนัดมาตรวจและเกลารากฟันอีกครั้ง คนไข้ต้องมาตามนัด
  4. รักษาความสะอาดช่องปากอยู่เสมอ ด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟันและน้ำยาบ้วนปากอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เพื่อลดการเกิดหินปูนให้น้อยที่สุด
  5. สามารถทานอาหารได้ตามปกติ แต่แนะนำเน้นอาหารอ่อนๆ ไม่ร้อน ไม่รสจัด จะช่วยเพิ่มความสบายของเหงือกที่เกลารากฟันไป
  6. นัดพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน เพราะหินปูนสามารถเกิดขึ้นได้แม้เราจะแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง โดยเฉพาะตรงบริเวณซอกฟันที่เราแปรงเข้าไปไม่ถึง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังเกลารากฟัน

  • เสียวฟัน อาการเสียวฟันหลังเกลารากฟัน อาจจะพบได้ และจะหายไปเองภายในหนึ่งสัปดาห์ ถ้ามีอาการเสียวฟันมาก อาจใช้ยาสีฟันลดการเสียวฟัน ช่วยได้ และพยายามเลี่ยงยาสีฟันกลุ่ม whitening ในช่วงนี้ เนื่องจากจะทำให้อาการเสียวฟันเพิ่มมากขึ้น
  • ฟันโยก ในคนไข้ที่เป็นโรคปริทันต์ หลังเกลารากฟันใหม่ๆจะรู้สึกว่าฟันโยกมากขึ้น แต่หลังจากนั้นฟันจะค่อยๆแน่นขึ้นในวันต่อๆไป
  • รู้สึกว่ามีช่องระหว่างฟัน ในคนไข้ที่เหงือกร่น เมื่อทำการขูดหินปูนที่สะสมระหว่างฟันออกไป คนไข้อาจจะรู้สึกว่ามีช่องระหว่างซี่ฟันได้ เพราะมีเหงือกร่นเดิมอยู่แล้ว
  • ในคนไข้ที่เกลารากฟันจากโรคปริทันต์อักเสบ อาจจะมีเลือดซึมในวันแรก ให้กัดผ้าก๊อซและบ้วนน้ำเกลือ

เกลารากฟันที่ไหนดี

  1. เลือกคลินิกทันตกรรมที่ได้มาตรฐาน แจ้งราคาค่าใช้จ่าย ในการรักษาชัดเจน และสามารถตรวจสอบได้ว่าคลินิกทันตกรรมนั้น มีการขึ้นทะเบียนกระทรวงอย่างถูกต้อง มีเลขที่ใบอนุญาตประกอบกิจการ 11 หลัก
  2. เลือกทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ เป็นทันตแพทย์เฉพาะทางในสาขานั้น ๆ มีประสบการณ์ในการรักษาสูง มีใบรับรองต่าง ๆ ที่ให้การรับรองทันตแพทย์คนนั้น ในการรักษา
  3. เลือกคลินิกทันตกรรมที่มีรีวิวของคนไข้ในการเกลารากฟัน โดยในปัจจุบันอาจจะเลือกดูในรีวิวบน Facebook ใน pantip บน Google  ที่มีคนไข้ ที่มาเข้ารับการรักษามาคอมเม้นต์เกี่ยวกับคลินิกทันตกรรมนั้น
  4. เลือกสถานที่ ที่สามารถเดินทางได้สะดวก ใกล้บ้าน ใกล้ที่ทำงาน มีการคมนาคมสะดวก เพื่อให้สามารถเดินทางเข้ารับการรักษาได้อย่างรวดเร็ว เพราะการรักษาอย่างการเกลารากฟัน ก็อาจจะต้องมาพบทันตแพทย์มากกว่า 1 ครั้ง

เกลารากฟัน ราคาเท่าไหร่

ราคาการเกลารากฟันจะอยู่ที่ 400 บาท ต่อการเกลารากฟัน 1 ซี่ 1,500-2,000 บาท ต่อ 1 quadrant (มี4 quadrant) เกลารากฟันทั้งปาก ราคา 6,000-8,000 บาท

การดูแลรักษาเหงือก

การดูแลความสะอาดของช่องปากและฟันที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ การทำความสะอาดโดยผู้เชี่ยวชาญก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกันเมื่อมีการสะสมตัวของคราบแบคทีเรียที่มากและแข็งจนกลายเป็นหินปูน ซึ่งทันตแพทย์เท่านั้นที่จะขจัดออกได้ แต่เราสามารถป้องกันโรคเหงือกอักเสบด้วยตัวเองได้โดย

  • การแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธีเพื่อขจัดคราบแบคทีเรียไม่ให้สะสม
  • การรับประทานอาหารที่ถูกโภชนาการสำหรับฟันและกระดูก
  • การหลีกเลี่ยงบุหรี่ และยาสูบ
  • การพบทันตแพทย์เป็นประจำ

การป้องกันไม่ให้เกิดโรคปริทันต์

  • ควรแปรงฟันและทำความสะอาดซอกฟันอย่างถูกวิธีเพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์ ให้ได้อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้งด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์
  • เปลี่ยนแปรงสีฟันเมื่อพบว่าขนแปรงบานหรือเสียหายแล้ว
  • ขัดฟันด้วยไหมขัดฟันระหว่างซอกฟัน สะพานฟัน ครอบฟัน หรือรากฟันเทียมเป็นประจำทุกวัน อย่างน้อยวันละครั้ง
  • ใช้น้ำยาบ้วนปากเพื่อช่วยลดการเกิดคราบแบคทีเรีย
  • งดสูบบุหรี่

คำถามที่พบบ่อย

เกลารากฟันเจ็บไหม

สามารถควบคุมได้โดยใช้ยาชาในขณะทำการรักษา ส่วนหลังทำการรักษาอาจทานยาแก้ปวดร่วมด้วยหากมีอาการตึงๆบริเวณเหงือก แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพช่องปากของคนไข้แต่ละคนร่วมด้วย

ระยะเวลาพักฟื้นหลังเกลารากฟัน

  • หลังจากเกลารากฟันเสร็จอาจจะมีอาการเสียวฟันได้ ดังนั้นก่อนและหลังจากเกลารากฟันคนไข้ควรใช้ยาสีฟันที่ช่วยลดอาการเสียวฟันเพื่อบรรเทาอาการดังกล่าว ซึ่งปกติแล้วอาการจะหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์
  • หลังการเกลารากฟันอาจมีเลือดซึมๆ ออกมาที่ขอบเหงือกและมีอาการบวม ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ สามารถอมน้ำเกลืออุ่นๆช่วยได้
  • ต้องรักษาความสะอาดช่องปากอยู่เสมอ ด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟันและน้ำยาบ้วนปากอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เพื่อลดการเกิดหินปูนให้น้อยที่สุด
  • นัดพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน เพราะหินปูนสามารถเกิดขึ้นได้แม้เราจะแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง โดยเฉพาะตรงบริเวณซอกฟันที่เราแปรงเข้าไปไม่ถึง

เกลารากฟันฟันจะหายโยกไหม

หลังจาก เกลารากฟัน ไป 1 เดือนขึ้นไป ร่วมกับการทำความสะอาดได้ดี ฟันจะแน่นขึ้นมามากขึ้น โยกน้อยลง เพราะมีการสร้างเนื้อเยื่อรองรองรับฟันมากขึ้น

เกลารากฟันกินข้าวได้ไหม

สามารถทานอาหารได้ปกติค่ะ แต่เน้นอาหารอ่อนๆ ไม่ร้อน ไม่รสจัด จะช่วยเพิ่มความสบายของเหงือกที่เกลารากฟันไป

เกลารากฟันเลือดไหลไม่หยุด ทำอย่างไร

โดยปกติ ถ้าไม่ได้มีโรคเกี่ยวกับเลือดหยุดยาก หรือ ทานยาละลายลิ่มเลือด เลือดจะหยุดไหลเป็นปกติ แต่ถ้ายังมีเลือดซึมๆ สามารใช้ผ้าก็อส วางตรงตำแหน่งนั้น แล้วกัดเบาๆ 1-2 ชั่วโมง , อย่าพยายามบ้วนเลือดกับน้ำลายออกมา เพราะจะยิ่งซึมมากขึ้น

เกลารากฟันจัดฟันได้ไหม

ต้องเกลารากฟันก่อนเริ่มจัดฟัน เพราะถ้าฝืนจัดไปในฟันที่มีสภาพปริทันต์ไม่ดี จะส่งผลต่อฟันซี่นั้นอาจโดนแรงการเคลื่อนฟันจากการจัดฟัน ทำให้ต้องถอนได้ในอนาคต

เกลารากฟัน สามารถเบิกประกันสังคมได้ไหม

สามารถหักประกันสังคมได้โดยไม่ต้องสำรองจ่าย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Line chat facebook chat call to clinic

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า