รวมข้อมูล [ ฟันคุด ] ที่จำเป็นต้องรู้อย่างถูกต้อง ปี 2564 โดย ทันตแพทย์มหิดล

ฟันคุด

รู้ไว้ก่อนหากจำเป็นต้อง ผ่าฟันคุด กับ คุณหมอเฉพาะทาง !

อาการปวดฟัน จากปัญหา ฟันคุด เป็นอีกหนึ่งในปัญหาสุขภาพในช่องปากและฟันที่พบได้บ่อยๆ และมักจบลงด้วยการที่ทันตแพทย์แนะนำให้ผ่าฟันคุดออกเป็นส่วนใหญ่

ซึ่งหลายๆ คนยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการฟันคุดนี้ว่า จำเป็นแค่ไหนที่ต้องผ่าออก การผ่าฟันคุดออกนั้น มีข้อควรปฎิบัติ ตัวอย่างไร เมื่อ ปวดฟันคุด ทำอย่างไร ให้หาย เรามีคำตอบมาฝากค่ะ

เลือกอ่านหัวข้อฟันคุดที่ต้องการ

ฟันคุด-คืออะไร-รวมข้อมูลโดย-ทันตแพทย์มหิดล

ฟันคุด คืออะไร

ฟันคุด ( Impacted Tooth, Wisdom Tooth ) คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติในช่องปาก แบบฟันซี่อื่นๆ โดยอาจโผล่ออกมาเพียงบางส่วนเท่านั้นหรือในบางกรณีฟันคุดนั้นฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ก็มี ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าฟันคุดขึ้นช้ากว่าฟันซี่อื่นๆ ทำให้ไม่มีช่องว่างเพื่อที่จะโผล่ขึ้นมาได้

ฟันคุดจะมีทั้งหมด 4 ซี่ ด้านในของช่องปากทั้งบนและล่างในฝั่งซ้ายและขวา สามารถพบได้บ่อยๆ ในบริเวณฟันกรามซี่สุดท้าย ซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง

สาเหตุการเกิดฟันคุด

ปกติแล้วฟันคุด คือฟันซี่ที่ควรจะขึ้นในช่วงอายุประมาณ 16-25 ปี โดยอาจโผล่ขึ้นมาในลักษณะ ตั้งตรง เอียง หรือนอนในแนวราบ และมักจะอยู่ชิดกับฟันซี่ข้างเคียงเสมอ ฟันคุดเกิดจากฟันที่พยายามงอกขึ้นมา จึงมีแรงผลักดันการงอก และเป็นไปได้ว่าจะเบียดฟันซี่ข้างๆ หรืองอกขึ้นมาในขากรรไกร

จึงเป็นที่มาที่ทำให้เกิดอาการปวดฟันรุนแรง สร้างความทรมานแก่คนไข้ และนอกจากฟันคุดบริเวณฟันกรามล่างซี่สุดท้ายแล้ว ยังสามารถพบฟันคุดได้บริเวณฟันซี่อื่นๆ ฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อย แต่พบได้น้อย กว่าฟันกรามล่างซี่สุดท้าย

ลักษณะฟันคุด ต้องผ่า

ฟันคุดที่ต้องผ่า เพื่อลดปัญหาอาการปวด และอาการติดเชื้อ เช่น การอ้าปากได้จำกัด หรือ กลืนน้ำลายเจ็บคอ ในอนาคต มี 2 ลักษณะ

  • ฟันคุดที่มีเหงือกคลุม (soft tissue impaction) มีลักษณะแค่เหงือกอย่างเดียวที่ปกคลุมฟันคุด และตัวฟันมีลักษณะตั้งตรง สามารถเอาออกโดยการเปิดเหงือก ร่วมกับการถอนฟันคุด
  • ฟันคุดที่มีกระดูกคลุม (bony impaction) มีทั้งเหงือกและกระดูกที่คลุมฟันคุด รวมถึง ลักษณะตัวฟันคุดมีตำแหน่งได้หลายแบบ เช่น ตั้งตรง , เอียงตัว , นอน ทำให้ต้องมีการกรอกระดูกร่วมกับการแบ่งฟันคุดเป็นส่วนๆ เพื่อนำฟันคุดออกมา

อาการฟันคุด เมื่อเป็นมีลักษณะอย่างไร

ฟันคุด ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หากตัวฟันไม่โผล่ขึ้นมาเหนือเหงือก ต้องใช้การเอกซเรย์จึงจะสามารถเห็นได้ อาการของผู้ที่มีฟันคุด อาจมีอาการปวดฟันแสดงให้รู้สึก โดยจะรู้สึกเจ็บปวดมาก หรืออาจมีอาการอักเสบของเหงือกรอบๆ แก้มบวมโย้ อ้าปากได้น้อย กลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ ร่วมด้วย ในบางรายอาจมีอาการบวมและติดเชื้อลุกลามมาถึงใบหน้า แก้ม และลำคอ

อาการปวดฟันคุด โดยมากเกิดจากการติดเชื้อของฟันหรือเหงือกบริเวณนั้น ทำให้เกิดอาการปวด บวม ยิ่งมีการติดเชื้อมากขึ้นเท่าไหร่ อาการปวดก็เพิ่มขึ้นเท่านั้น

หากคุณเป็นคนที่พบทันตแพทย์อยู่สม่ำเสมอ ในช่วงอายุประมาณ 17 -18 ปีแพทย์มักจะแนะนำให้ทำการตรวจเอกซเรย์ เช็คดูว่าฟันซี่สุดท้ายมีลักษณะอย่างไรบ้าง มีฟันคุดซ้อนตัวอยู่หรือไม่ ตำแหน่งใด และหากตรวจพบทันตแพทย์มก็แนะนำให้ผ่าฟันคุดออกเสีย ตั้งแต่ยังไม่มีอาการเจ็บปวด เพราะถ้าปล่อยให้ฟันคุดต่อไปนอกจากจะไม่เป็นประโยชน์แล้ว ยังจะมีผลเสียต่อสุขภาพของช่องปากที่จะตามมาอีกด้วย

ปวดฟันคุดมาก วิธีแก้อาการปวดฟันคุดทำยังไง กินยาช่วยได้ไหม

การทานยาแก้ปวดอย่างเดียว เป็นแค่การบรรเทาอาการ ไม่ได้แก้ที่สาเหตุ ซึ่งถ้าปล่อยไว้อาจลุกลามเป็นปวดฟันรุนแรง มีการบวมและติดเชื้อ เข้าสู่บริเวณใบหน้าและลำคอ

ทันตแพทย์จะทำการรักษาเพื่อแก้ที่สาเหตุด้วยการถอนฟันหรือผ่าตัดฟันคุดออกในทันที ร่วมกับการระบายการติดเชื้อ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้นการรีบมาพบทันตแพทย์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก

ปวดฟันคุด นอนไม่หลับทำยังไงดี

การปวดฟันคุดเป็นสัญญาณว่ามีการติดเชื้อแล้ว อันดับแรก ควรต้องรีบนัดมาทำการรักษาในเช้าวันรุ่งขึ้น เพื่อทำการกำจัดสาเหตุออกเพื่อทุเลาอาการโดยการผ่าฟันคุด ร่วมกับการทานยาแก้ปวด และยาฆ่าเชื้อ จะได้นอนหลับในคืนถัดไป

ทำไมต้องผ่าฟันคุด-ถอนฟันคุด

ทำไมต้องผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด

ดังที่กล่าวมาข้างต้นว่า ฟันคุด ไม่ได้มีประโยชน์ ตามหลักการแล้วฟันคุดทุกซี่ควรจะได้รับการเอาออกโดยเร็วที่สุดหลังตรวจพบ

ฟันคุดสามารถสร้างโทษให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งสามารถแยกโทษจากการมีอยู่ของฟันคุดได้หลายประการดังนี้

  • ฟันคุดตัวการทำให้ฟันผุ เมื่อฟันคุดงอกขึ้นมาในลักษณะผิดรูปจึงเป็นที่กักเศษอาหารได้เป็นอย่างดี และเมื่อเราไม่สามารถทำความสะอาดออกได้ทั้งหมด แน่นอนว่าเป็นเรื่องยากเพราะอยู่ลึกใกล้ลำคอด้านใน ส่งผลให้ฟันคุดซี่นั้นผุและมักลุกลามไปยังฟันซี่ข้างๆ ให้ผุตามไปด้วย ในบางรายนอกจาก จะต้องผ่าฟันคุดออกแล้ว ยังจำเป็นต้องถอนฟันซี่ข้างๆ ที่ผุออกตามไปด้วยอีกซี่ก็มี
  • ฟันคุดบ่อเกิดปัญหาเหงือกอักเสบ เมื่อฟันคุดงอกโผล่ออกมาไม่หมด อาจมีเหงือกเข้าไป ปกคลุมฟัน และเมื่อมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือกแล้ว ไม่สามารถทำความสะอาดได้ เชื้อแบคทีเรียที่มาสะสมอยู่จะทำให้เหงือกเกิดการอักเสบ ปวดและบวมเป็นหนอง เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค ไปยังส่วนอื่นๆ มีการติดเชื้อ บางรายกลืนไม่ได้ ลุกลามลงคอ อาจทำให้หายใจไม่ได้ จำเป็นต้องพบแพทย์โดยเร่งด่วน
  • ฟันคุดมีโอกาสทำให้เกิดถุงน้ำ เมื่อมีฟันคุดเนื้อเยื่อรอบอาจพัฒนาเป็นถุงน้ำหรือเนื้องงอกได้ และด้วยฟันคุดที่มักอยู่ติดกับขากรรไกร จึงดัน เบียดกินกระดูกขากรรไกรไปเรื่อยๆ ในอนาคตจะส่ง ผลให้ใบหน้าผิดรูป มีโอกาสในการสูญเสียอวัยวะขากรรไกร และกระดูกขากรรไกรหักง่ายหากมีการกระทบ

นอกจากนี้การถอนฟันคุดยังมีวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น การจัดฟัน ต้องถอนฟันกรามซี่ที่สาม ออกเสียก่อนเพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนฟันซี่อื่นๆ เป็นต้น

อาการฟันคุดหลังเป็นมีอาการแทรกซ้อนอะไรบ้าง

ปวดฟันคุด ไม่ผ่าฟันคุด อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

การปล่อยฟันคุดไว้นานๆ อาจทำให้เหงือกอักเสบ ฟันซี่ข้างๆ ผุ นอกจากนี้ การปล่อยไว้นานๆ แรงดันจากฟันคุดจะไปทำลายกระดูกรอบๆ รากฟันหรือรากฟันข้างเคียง ถึงเวลานั้นอาการปวดฟันจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น จนอาจทำให้มีปัญหารากฟันตามมา แม้ว่าจะผ่าฟันคุดไปแล้ว ยังต้องรักษารากฟันด้วย รวมถึงมี ผลทำให้เกิดปัญหาที่ไซนัส การติดเชื้อในเหงือก ใบหน้าและลำคอ ดังนั้นควรรีบไปเอาออกดีที่สุด อย่าคิดว่าเดี๋ยวทานยาแก้ปวดแล้วก็หาย

ขั้นตอนการถอนฟันคุด ผ่าฟันคุด

เมื่อเอกซเรย์ตรวจพบตำแหน่งของฟันคุด ทันตแพทย์จะวางแผนการผ่าฟันคุดออก ซึ่งขั้นตอนการผ่าฟันคุดออกนั้นเป็นเรื่องง่าย ไม่ได้น่ากลัวอย่างหลายคนกังวล และไม่ต่างไปจากการถอนฟันซี่อื่นๆ มากนัก

โดยทันตแพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่เพื่อระงับความรู้สึก หลังจากนั้นก็จะเปิดเหงือกเพื่อให้เห็น ฟันคุดซี่นั้นๆ แล้วใช้เครื่องกรอตัดฟันออกมา แล้วล้างทําความสะอาดก่อนเย็บแผลปิด การผ่าฟันคุดไม่จำเป็นต้องเสียเวลาพักฟื้น เมื่อทำเสร็จสามารถกลับบ้านได้ไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล

การดูแลรักษาภายหลังการผ่าฟันคุด

  • หลังผ่าตัดฟันคุด ห้ามบ้วนเลือดและนํ้าลาย ในวันนั้น เพราะอาจทําให้เลือดไหลไม่หยุดได้ ให้กัดผ้าก๊อสนาน 1-2 ชั่วโมง กลืนนํ้าลายตามปกติได้
  • ควรประคบนํ้าแข็ง หรือ cold pack บริเวณแก้ม ในช่วง 3-5 วันแรก เพื่อลดอาการบวม
  • หลังจากวัน ผ่าตัดอาจมีอาการตึงๆบริเวณแก้มด้านที่ทําการผ่าตัด ควรฝึกบริหารกล้ามเนื้อโดยการอ้าปาก
  • ระหว่างช่วงที่มีอาการปวดฟันคุด โดยในช่วงเวลานั้นสามารถรับประทานยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะตามแพทย์สั่ง เพื่อบรรเทาอาการ และรับประทานอาหารได้มากขึ้น
  • แนะนำให้เลือกรับประทานอาหารชนิดอ่อนๆ ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนต่อแผล
  • การทำความสะอาด สามารถแปรงฟันทําความสะอาดในช่องปากตามปกติ และกลับไปตัดไหมหลังผ่าตัด 5- 10 วัน

หลังผ่าฟันคุด กินอะไรได้บ้าง

ส่วนมากทานได้หมดครับ แต่จะข้อแนะนำว่าช่วง 5 วันแรก ทานอาหารอ่อน ๆ ไม่แข็งไม่เหนียว (จะได้ไม่ระคายเคืองแผล) ทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีอุณหภูมิเย็นๆ (เพราะถ้าร้อนไป หรือ มีรสชาติเผ็ดอาจแสบร้อนบริเวณแผลได้)

หลังผ่าฟันคุด ห้ามกินอะไรบ้าง

  • ห้ามรับประทานอาหารเผ็ดจัด ร้อนจัด
  • สามารถอมน้ำแข็ง ทานของเย็นๆได้
  • ห้ามรับประทานอาหารที่มีความแข็งที่อาจส่งผลกระทบฟันและแผลผ่าตัด
  • ห้ามสูบบุหรี่อย่างน้อย 3 วันแรก เนื่องจากการสูบบุหรี่จะเป็นการขัดขวางการหายของแผลและมีเลือดออกจากแผลมากขึ้น

วิธีแก้ปวดฟันคุด หลังผ่าฟันคุด

ในกรณีที่ผ่าตัดฟันคุดออกแล้ว ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำหลังการผ่าตัดจากทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ โดยทั่วไปแล้ว หลังผ่าตัดหากมีอาการปวดฟันอยู่ สามารถใช้ยาแก้ปวด ซึ่งโดยปกติจะให้ ยาแก้ปวด 2 กลุ่ม ร่วมกับการประคบเย็นในช่วง 3 วันแรก

คำถามเกี่ยวกับฟันคุดที่พบบ่อย

ผ่าฟันคุด ปวดฟันคุด กี่วันหาย?

หลังจากการผ่าฟันคุดอาจมีอาการปวดและบวมบริเวณแก้มด้านที่ทําการผ่าตัดประมาณ 3-5 วัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่จะหายไปได้เอง และสามารถควบคุมได้โดยยาแก้ปวด รวมถึงการประคบเย็น ซึ่งปกติแผลผ่าฟันคุดจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไป แผลจึงจะหายโดยสมบูรณ์

อาการข้างเคียงหลังผ่าฟันคุด

หลังผ่าฟันคุดผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดค่อยข้างเกิดขึ้นได้ แต่ค่อนข้างน้อยมาก เช่น มีเลือดไหลจากแผลผ่าตัดมากกว่าปกติ บางรายมีไข้ หรือมีการติดเชื้อหลังการผ่าตัด อาการปวดบวมไม่ทุเลา มีกลิ่นปาก มีอาการเจ็บแปลบๆ หรือ ชาที่ใบหน้า ริมฝีปาก หรือลิ้น ถ้ามีอาการเหล่านี้ควรรีบติดต่อไปพบทันตแพทย์เพื่อหาทางแก้ไขให้ทันท่วงที

ควรเอาฟันคุดออกตอนอายุเท่าไหร่

หากพบว่ามีฟันคุดสามารถทำการผ่าออกได้ ยิ่งเร็วยิ่งดี การผ่าตัดในช่วงที่อายุยังน้อย 18 – 25 ปี สามารถทำได้ง่ายกว่า ฟื้นตัวได้ไวกว่า แผลหายเร็วกว่า และผลแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดต่ำ เช่น การชาของริมฝีปากล่างจากฟันคุดใกล้เส้นประสาท

ผ่าฟันคุดเจ็บไหม

ความเจ็บหรือไม่เจ็บขึ้นอยู่กับคุณหมอที่ให้การรักษาว่าสามารถควมคุมการฉีดยาชาได้ดีขนาดไหน ถ้าควบคุมได้ดีมาก คนไข้จะไม่มีอาการเจ็บเลยในขณะทำการรักษา แต่ถ้าคนไข้มีอาการกลัวมากๆ การผ่าฟันคุดโดยการดมยาสลบ ก็เป็นคำตอบในการรักษาครับ

ผ่าฟันคุดช่วยให้หน้าเรียวรึเปล่า

การผ่าฟันคุด หรือการถอนฟันคุด ไม่ได้ช่วยทำให้ใบหน้าของเราเรียวลง เพราะไม่ได้เป็นการช่วย ทำให้ขากรรไกรมีขนาดเล็กลง

มีฟันคุด ต้องผ่าฟันคุดไหม ไม่ผ่าได้รึเปล่า

โดยปกติแพทย์มักแนะนำให้ถอนฟันคุดออกในทุกกรณี พบแล้วไม่ผ่าออกได้หรือไม่นั้น การผ่าตัดฟันคุดออก ทันตแพทย์จะผู้พิจารณาองค์ประกอบอื่นๆ รวมด้วย เช่น ตำแหน่งของฟันคุด ฟันคุดกับตำแหน่งเส้นประสาท รวมทั้งยังต้องคำนึงถึงอายุด้วย ดังนั้นควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อประกอบการตัดสินใจและวางแผนการรักษา

ถอนฟันคุดต้องรอให้เห็นฟันคุดก่อนไหม

การถอนฟันคุดไม่จำเป็นต้องรอให้เห็นฟันคุด หากตรวจพบสามารถเอาออกได้ทันที เพื่อลดโอกาสภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจตามมาหากมีการปวด บวม อักเสบ หรือติดเชื้อ

ปวดฟันคุดเหงือกบวม ผ่าฟันคุดเลยได้ไหม

สามารถทำการผ่าฟันคุดได้ครับ เดิมทีมีความเชื่อเก่าๆ ว่าควรรอให้หายปวดก่อน หรือรอให้หายเหงือกบวมก่อน แล้วค่อยมาผ่าฟันคุด แนะนำว่าอย่ารอครับ เพราะเราไม่รู้ว่าเหงือกบวมจากฟันคุดจะมีการติดเชื้อที่ลุกลามไปบริเวณใบหน้า ศีรษะ ลำคอ เช่น มีอาการอ้าปากได้จำกัด ,แก้มบวม, กลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ ซึ่งส่งผลต่อการลุกลามของเชื้อเข้าสู่อวัยวะอื่นๆ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุด คือการเข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุด คือ การผ่าฟันคุด ร่วมกับการได้รับยาฆ่าเชื้อ กับคุณหมอเฉพาะทางครับ

สามารถป้องกันการเกิดฟันคุดได้ไหม

ฟันคุดเป็นฟันที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จึงไม่สามารถป้องกันได้ สิ่งที่ดีที่สุดคือการตรวจเช็คสุขภาพช่องปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ หากพบความผิดปกติ จะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที

การผ่าฟันคุดออก ไม่ได้เป็นเรื่องน่ากลัว หากเปรียบเทียบกับโทษที่อาจเกิดจากฟันคุด และหากพบว่ามีฟันคุดเกิดขึ้นแล้ว แต่ปล่อยปะละเลย กลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค และการติดเชื้อลุกลามไปอวัยวะอื่นๆ

แน่นอนว่ามี ปัญหาสุขภาพปากและช่องฟันตามมา ทั้งเหงือกอักเสบ ฟันผุ เกิดขึ้นได้ สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าตนเองมีฟันคุดหรือไม่ สามารถตรวจเอกซเรย์หาตำแหน่งของฟันคุดได้ โดยคุณสามารถวางแผนกา รักษากับทันตแพทย์ได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้เกิดอาการปวด ส่งผลเสียในภายหลัง

6 thoughts on “รวมข้อมูล [ ฟันคุด ] ที่จำเป็นต้องรู้อย่างถูกต้อง ปี 2564 โดย ทันตแพทย์มหิดล

  1. สุวนันท์ says:

    เวลากินพวกเนื้อสัตว์เช่นไก่ย่างหมูทอดอ่ะค่ะพอเวลากินเสร็จมันจะมีอาการปวดมากๆที่ฟันคุดอ่ะค่ะต้องรักษายังไงคะ

  2. กัญญารัตน์ อ่อนกันหา says:

    ปวดเหงือกมากเลยค่ะ ตอนนี้อายุ21ปี กำลังมีน้องค่ะ จำเป็นไหมค่ะที่ต้องรอให้น้องถึงอายุครรภ์4-5 เดือน ถึงจะผ่าหรือถอนได้ ในตัวเราไม่เข้าใจตรงนี้ค่ะ ขอวิธีแนะนำหน่อยค่ะ ทานข้าวลำบากมากค่ะ

    • Smile And Co says:

      แนะนำให้เริ่มถอนตอนไตรมาสที่ 2 (เดือนที่ 4-6) แต่หากคนไข้ปวดมากสามารถนัดเข้ามาตรวจทางคลินิกได้ค่ะ

  3. นัส says:

    สวัสดีค่ะ เคยไปเอ็กซ์เรย์รากแล้วหมอบอกไม่เจอฟันคุด แต่ก็มีอาการปวดหายไม่ตลอดควรทำยังไงคะ เวลาปวดจะปวดเหงือกด้านล่างในสุดตรงขากรรไกรปวดจนอ้าปากไม่ได้เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไรค่ะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Line chat facebook chat call to clinic

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า