โรคปริทันต์ รักษายังไง? สาเหตุ อาการ วิธีป้องกันเหงือกอักเสบเรื้อรัง

โรคปริทันต์ รักษายังไง? สาเหตุ อาการ วิธีป้องกันเหงือกอักเสบเรื้อรัง

โรคปริทันต์คืออะไร

โรคปริทันต์ หรือในภาษาชาวบ้านเรียกว่า โรครำมะนาด จะมีความรุนแรงมากกว่า โรคเหงือกอักเสบ (มีการอักเสบแค่เหงือก) แต่ โรคปริทันต์ เป็นโรคที่มีการอักเสบของอวัยวะที่อยู่รอบ ๆ ตัวฟัน อันประกอบด้วย 1.เหงือก 2.เอ็นยึดปริทันต์ 3.เคลือบรากฟัน และ4.กระดูกเบ้าฟัน ซึ่งถ้าหากไม่ได้รับการรักษา อวัยวะต่าง ๆ ที่กล่าวไปจะถูกทำลายไปอย่างช้า ๆ จนอาจต้องสูญเสียฟันไปหรือต้องถอนฟันในที่สุด

ความแตกต่างโรคปริทันต์อักเสบและโรคเหงือกอักเสบ

โรคเหงือกอักเสบ เกิดจากคราบของจุลินทรีย์ที่สะสมในบริเวณเหงือก ซึ่งจะมีการอักเสบแค่เหงือก (บวม แดง มีหนอง)

โรคปริทันต์ จะเป็นมากกว่าโรคเหงือก เพราะมีการอักเสบของอวัยวะที่อยู่รอบ ๆ ตัวฟัน อันประกอบด้วย เหงือก ,เอ็นยึดปริทันต์ ,เคลือบรากฟัน และกระดูกเบ้าฟัน

สาเหตุของโรคปริทันต์

สาเหตุหลักของการเกิดโรคนี้คือ 

  • เชื้อแบคทีเรียในคราบจุลินทรีย์(ที่มากับอาหารที่เราทาน) เหล่านี้จะสร้างสารพิษมาย่อยเหงือกและกระดูกเบ้าฟันของเรา 
  • สาเหตุอื่นที่ทำให้โรคลุกลามมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ การตั้งครรภ์ ภูมิต้านทานต่ำ ขาดสารอาหารบางชนิด

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคปริทันต์อักเสบ

  • การสูบบุหรี่
  • โรคเบาหวาน
  • การไม่รักษาสุขภาพช่องปาก
  • ความเครียด
  • กรรมพันธุ์
  • ฟันเก ฟันซ้อน
  • ผู้ที่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์
  • ภูมิต้านทานต่ำ 
  • ขาดสารอาหารบางชนิด

สัญญาณเตือนของโรคปริทันต์

โรคปริทันต์เป็นโรคที่ค่อย ๆ เกิดขึ้น แต่เราสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ หรือ สัญญาณเตือนก่อนเข้าพบทันตแพทย์ ดังนี้

  • เหงือกมีสีแดงผิดปกติ ปกติแล้วเหงือกจะเป็นสีชมพูอ่อน แต่หากเกิดการอักเสบเหงือกจะมีสีแดงที่สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจน
  • เหงือกบวม มีลักษณะบวมร่วมกับการปวดเหงือกร่วมด้วย
  • เลือดออกเมื่อแปรงฟัน รู้สึกมีเลือดออกตลอดเวลา หรือตอนบ้วนน้ำหลังแปรงฟัน แต่หากรู้สึกว่ามีเลือดออกตลอดเวลาแสดงว่าเหงือกกำลังมีปัญหารุนแรง
  • มีกลิ่นปาก การสะสมของเชื้อแบคทีเรียเป็นจำนวนมากทำให้เหงือกอักเสบและมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ตามมาด้วย
  • เหงือกร่น จนฟันมีขนาดยาวขึ้น และส่งผลให้ฟันโยก เพราะเหงือกไม่สามารถทำหน้าที่คลุมรากฟันและยึดฟันแต่ละซี่ได้ปกติได้
  • ฟันโยก แปลว่า มีการทำลายของอวัยวะรอบปริทันต์ ทำให้ฟันไม่มีอะไรคอยsupport ฟันจึงโยก
  • มีอาการเสียวฟัน เพราะเหงือกร่น ทำให้เคลือบรากฟันเผยผึ่ง จึงเกิดอาการเสียวฟัน (โดยปกติเหงือกจะเป็นชั้้น barrier คอยปกคลุม) 

อาการของโรคปริทันต์

ระยะของโรคปริทันต์

  1. ระยะแรก : เหงือกบวม เหงือกอักเสบ ที่เรียกกันว่าโรคเหงือกอักเสบ

มีการอักเสบแค่เหงือก (ปวด บวม แดง บริเวณเหงือก) แต่ยังไม่มีการทำลายกระดูกรองรับฟัน

  1. ระยะที่สอง : โรคปริทันต์อักเสบระยะต้น

ระยะที่เริ่มมีการทำลายของกระดูกรองรับรากฟัน ไม่เกิน 1 ใน 3 ซี่ฟัน

  1. ระยะที่สาม : โรคปริทันต์อักเสบระยะกลาง

ระยะที่มีการทำลายกระดูกรองรับรากฟัน จาก 2 ใน 3 ของซี่ฟัน แต่ยังไม่ถึงปลายราก

  1. ระยะที่สี่ : โรคปริทันต์อักเสบระยะปลาย

ระยะที่การทำลายกระดูกรองรับรากฟัน ทั้งซี่ฟันจนถึงปลายรากทำให้เกิดฝีปลายรากมีอาการปวดร่วมด้วย ทำให้เหงือกร่น และอาจต้องถอนฟัน 

การวินิจฉัยโรคปริทันต์

  • ซักประวัติโรคประจำตัวและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน คนไข้สูบบุหรี่ คนไข้ที่มีน้ำลายน้อย (dry mouth)
  • ตรวจสุขภาพช่องปาก การประเมินคราบจุลิยทรีย์ คราบหินปูน ประเมินเหงือกมีอาการอักเสบกี่ตำแหน่ง มีเลือดออกที่เหงือกง่ายมั้ย
  • การตรวจประเมินร่องลึกปริทันต์ เพื่อประเมินปริมาณกระดูกรอบอวัยวะปริทันต์ เช่น ถ้าร่องลึกมากกว่า 3 มิลลิเมตร จะเริ่มมีการทำลายกระดูกรองรับรากฟัน 
  • การถ่ายภาพ x-ray เพื่อประเมินสภาพกระดูกรองรับรากฟันที่เหลืออยู่

การรักษาโรคปริทันต์

การรักษาโรคปริทันต์แบบไม่ต้องผ่าตัด

ขูดหินปูน (Scaling) เป็นการขูดคราบสกปรกที่อยู่ตามร่องเหงือกและใต้เหงือก (ลึกลงไปประมาณ 3 มิลลิเมตร) โดยจะใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที

การเกลารากฟัน (root planning) การทำให้ผิวรากฟันเรียบเพื่อให้เนื้อเยื่อเหงือกสามารถกลับมายึดติดแน่นติดกับผิวฟันได้เหมือนเดิม ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้องทำหลายครั้ง และควรทำโดยทันตแพทย์เฉพาะทางโรคเหงือก

หลังรักษาเสร็จแล้วประมาณ 4-6 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะเรียกกลับมาดุอาการอีกครั้งว่าหายดีหรือไม่ ถ้ายังมีร่องลึกปริทันต์เหลืออยู่หรือมีการละลายของกระดูกไปมาก อาจจำเป็นต้องใช้วิธีผ่าตัดเหงือก (ศัลย์ปริทันต์ : Periodontal Surgery) ร่วมด้วย

การรักษาโรคปริทันต์ด้วยการผ่าตัด

การผ่าตัด จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยให้ความร่วมมือทำความสะอาดฟันอย่างสม่ำเสมอ หรือขูดหินปูนไปแล้วแต่ยังไม่หาย แพทย์จะพิจารณาทำการผ่าตัดเพื่อสร้างเส้นใยเหงือก เอ็นยึด และกระดูกเบ้าฟันที่แข็งแรง

เช่น การเปิดเหงือกเพื่อการเกลารากฟัน หรือที่เรียกว่า (ศัลย์ปริทันต์Periodontal Surgery) 

ค่ารักษาโรคปริทันต์

  • ขูดหินปูน 900-1,800
  • เกลารากฟัน  1,500-2,000 ต่อ quadrant 

โรคปริทันต์รักษาที่ไหนดี

คำถามที่พบบ่อย

โรคปริทันต์รักษาหายไหม

ดังที่กล่าวแล้วข้างต้นว่า โรคนี้มีการทำลายทั้งเนื้อเยื่อและกระดูก ร่างกายไม่สามารถสร้างกลับมาเหมือนเดิมได้ รวมทั้งสาเหตุของโรคกลับมาใหม่ทุกวัน ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้เป็นแล้วเป็นตลอดชีวิตไม่มีวันหายขาด การขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันไม่ใช่วิธีการรักษาเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการทำความสะอาดฟันโดยทันตแพทย์

การรักษาและป้องกันโรคที่ยั่งยืนเพื่อไม่ให้โรคกลับมาเป็นใหม่ได้เร็วคือการดูแลทำความสะอาดฟันให้ดีอย่างเคร่งครัดทุกวันเพื่อคงสภาพของเหงือกและกระดูกที่เหลืออยู่ให้มีสุขภาพที่ดีตลอดไป

การแปรงฟันให้สะอาดในวันพรุ่งนี้ไม่สามารถมาทดแทนการถูกทำลายในวันนี้ได้ เพราะฉะนั้นจึงควรหันมาดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้และควรพบทันตแพทย์ทุก ๖ เดือนเพื่อรับคำแนะนำและการดูแลอย่างต่อเนื่อง มิฉะนั้นอาจจะสายเกินแก้และมาเสียใจในภายหลัง

โรคปริทันต์รักษานานไหม 

ไม่นาน แต่เป็นโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่องตลอด กล่าวคือ ต้องมีการติดตามผลตลอดทุกๆ 3-6 เดือน เพื่อประเมินความรุนแรงของโรค รวมถึงการดูแลการทำความสะอาดช่องปากของคนไข้

โรคปริทันต์รักษาด้วยตัวเองได้ไหม

ไม่ได้ค่ะ ต้องรักษาโดยทันตแพทย์ แต่สามารถการป้องกันโรคได้คือ การดูแลตัวเองที่บ้าน แปรงฟันให้สะอาด ใช้อุปกรณ์ในการทำความสะอาดที่เหมาะสมกับลักษณะช่องปากเพิ่มเติมจากแปรงสีฟัน เพราะแปรงสีฟันเพียงอย่างเดียว มีข้อจำกัดไม่สามารถเข้าถึงซอกฟัน หรือร่องเหงือกได้ จึงอาจพิจารณาใช้ไหมขัดฟัน หรือแปรงซอกฟันเพิ่มเติม ขูดหินปูนสม่ำเสมอ ตามช่วงเวลาที่ทันตแพทย์แนะนำใช้แปรงสีฟัน ไหมขัดฟัน

ข้อสรุป ‘โรคปริทันต์’

การทำลายของโรคปริทันต์มักเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมพออายุมากจึงมักพบฟันโยกเป็นหนอง แล้วต้องมาถอนฟันและใส่ฟันปลอม เราควรมาพบทันตแพทย์ เพื่อประเมินอาการของโรคตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลตัวเองและป้องกันฟันให้อยู่กับเราได้นานที่สุด 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Line chat facebook chat call to clinic

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า