
เหงือกบวม เหงือกอักเสบ สาเหตุเกิดจากอะไร มีอาการแบบไหนบ้าง มีวิธีการรักษาด้วยตนเองและทันตแพทย์ อย่างไร พร้อมวิธีการป้องกันไม่ให้เหงือกบวมอักเสบ จนอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคปริทันต์ จนอาจต้องสูญเสียฟันของเราไปตลอดกาล
เหงือกอักเสบ เหงือกบวม
ถ้าจะให้พูดถึงความเจ็บปวดนั้นเราทุกคนต่างก็รู้ดีว่ามันเป็นสิ่งที่ทรมาน ไม่ว่าจะเป็น ความเจ็บปวดทางใจหรือทางกาย อย่างการเกิดอุบัติเหตุหรืออาการเจ็บป่วย แต่เราเชื่อว่ามีอีก สิ่งหนึ่งที่ทุกคนเคยเผชิญ และรับรู้ได้ถึงความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส นั่นก็คือความ เจ็บปวดจากการปวดฟัน ปวดเหงือก นั่นเอง ถึงแม้ว่ามันจะไม่ได้เป็นอุบัติเหตุร้ายแรงหรือเกิดโศกนาฏกรรม ล้างเมืองก็เถอะ แต่ความเจ็บปวดจากการปวดฟัน หรือปวดเหงือก
ที่ไม่ว่าจะเป็นฟันคุด ฟันผุทะลุโพรงประสาท เหงือกเป็นหนอง เหงือกบวมหรือเหงือกอักเสบมันก็เจ็บปวดรวดร้าวไปถึงแกนสมอง สะเทือนไป ถึงหัวใจเลยทีเดียว ซึ่งนั่นหมายความว่าก่อนที่อาการปวดฟันจะมาถึง เหงือกของเราก็มีอาการ สาหัสมาพอสมควรแล้วแหละค่ะ

เหงือก คืออะไร
เหงือก เป็นอวัยวะที่ใครหลาย ๆ คนมองข้ามและไม่ได้ให้ความสำคัญสักเท่าไหร่ แต่ใน ความเป็นจริงแล้วเหงือกถือว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญไม่แพ้อวัยวะอื่นเลย เพราะเหงือกมีหน้าที่ สำคัญคือคอยยึดฟันไว้ให้ติดกับกระดูกขากรรไกรและเป็นอวัยวะที่ช่วยรองรับแรงในการบด เคี้ยว ซึ่งรูปร่างและลักษณะของเหงือกจะมีสีชมพูขอบเรียบเต็มไปด้วยเส้นเลือด ซึ่งนั่น หมายความว่าหากมีความผิดปกติที่เหงือก มีอาการเหงือกบวม เลือดออกตามไรฟัน หรือเหงือก อักเสบอยู่บ่อยครั้ง แบบนี้ก็สันนิษฐานไว้เลยว่าคุณเข้าข่ายเป็นโรคเหงือกอักเสบเข้าแล้วแหละ
โรคเหงือกบวม อักเสบ เป็นอย่างไร
โรคเหงือกบวม เหงือกอักเสบ มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ลักษณะของ เหงือกจะเปลี่ยนจากสีชมพูเป็นสีแดงเข้มเหมือนสีเลือด มีอาการบวม เลือดออกขณะแปรงฟัน ซึ่ง อาการเหล่านี้มักจะพบได้บ่อยและไม่ค่อยรุนแรงมากนัก แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราควรจะละเลย เพราะถ้า หากเราปล่อยไว้จนมันรุนแรงมากขึ้น จนกลายเป็นโรคปริทันต์ (มีการทำลายกระดูกร่วมด้วย) สิ่งที่ตามมาคือทำให้เราอาจสูญเสียฟันได้

เหงือกบวม อักเสบ เกิดจากอะไร
สาเหตุเหงือกบวม อักเสบ หลัก ๆ ของอาการเหงือกบวมมักเกิดจากการที่เราแปรงฟันไม่สะอาด ดูแลสุขภาพ ช่องปากได้ไม่ดีพอจนก่อให้เกิดแบคทีเรียจนกลายไปเป็นหินปูนที่เกาะอยู่ตามซอกฟัน และพอ
เกิดการหมักหมมเป็นเวลานาน ปัญหาที่ตามมาคือเหงือกจะมีอาการบวมและอักเสบ ซึ่งนอกจาก เรื่องของการรักษาความสะอาดแล้วก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สามารถเป็นสาเหตุของเหงือกบวกได้ เช่นกัน อย่างการสูบบุหรี่ , มีฟันคุดภายในช่องปาก, การใส่อุปกรณ์จัดฟัน,การใช้ยาบางชนิด อย่างยาคุมกำเนิด ขาดสารอาหาร ตลอดไปจนถึงปัจจัยทางพันธุกรรม
อาการเหงือกบวมประเภทต่าง ๆ
หลายคนอาจจะสงสัยว่าถ้าหากเรามีเหงือกบวม เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเหงือกเรากำลังจะ อักเสบหรือเกิดความผิดปกติ เพราะส่วนใหญ่แล้วอาการเหงือกบวมจะแสดงออกมาไม่มากหรือ อาจจะไม่แสดงอาการปวดใด ๆ ออกมา ถ้าหากเป็นเช่นนั้นเรามาคอยสังเกตกันดีกว่าค่ะ ว่า อาการเหงือกบวมหรือเหงือกเป็นหนองจะมีลักษณะเป็นอย่างไร
อาการเหงือกบวมแดงอักเสบ
เหงือกจะเปลี่ยนสีจากชมพูอ่อนเป็นแดงเข้มถึงม่วงและจะมีอาการบวมโตขึ้นเรื่อย ๆ จน บิดเนื้อฟัน หากจับหรือสัมผัสบริเวณที่บวมจะมีอาการเจ็บ หรือมีเลือดออกตามไรฟันขณะแปรง ฟันและอาจมีฟันผุร่วมด้วย
อาการเหงือกบวมเป็นหนอง
อาการเหงือกบวมเป็นหนองซึ่งนอกจากเหงือกจะบวมโตแล้ว ยังมีของแถมมาด้วยคือ หนอง เพราะหากเหงือกอักเสบหรือติดเชื้อ เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีม่วงและมีความคล้ำโดย เฉพาะบริเวณขอบเหงือก และเมื่อเรากดหรือสัมผัสบริเวณที่อักเสบก็จะมีหนองออกมา
อาการรากฟันอักเสบ
รากฟันอักเสบจะเป็นอาการที่เส้นเลือดในโพรงประสาทฟันเกิดการอักเสบและมีปัญหา ส่งผลให้มีตุ่มหนองที่เหงือก สีของฟันจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำขึ้น หรือหากเคี้ยวอาหารก็จะรู้สึกเจ็บ และเสียวฟัน
แน่นอนค่ะว่าอาการเหล่านี้หากปล่อยไว้ก็จะเป็นอันตราย เช่นอาจเกิดการสูญเสียฟันที่ถึง กับต้องใส่ฟันปลอม หรืออาจจะร้ายแรงกว่านั้นคือเป็นโรคที่เกี่ยวกับเหงือกหรือลามไปจนถึงเป็น มะเร็งในช่องปากเลยก็ว่าได้
สำหรับบางคนอาจจะคิดว่า เป็นแล้วหายหรือเป็นแล้วก็ผ่านไป คงจะไม่เป็นอะไรหรอก ถ้าเป็นเช่นนั้นเราไปดูถึงความอันตรายของโรคที่เกี่ยวกับเหงือกกันเลย ค่ะ และเชื่อว่าความคิดของคุณอาจจะเปลี่ยนไปแน่นอน

โรคที่เกี่ยวกับเหงือกมีอะไรบ้าง
โรคที่เกี่ยวกับเหงือกเป็นสิ่งที่อาจจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะใคร ๆ ก็สามารถเป็นได้ ไม่ว่า จะเป็น วัยเด็ก ผู้ใหญ่หรือแม้กระทั่งวัยผู้สูงอายุ ดังนั้นสิ่งที่เราควรรู้และตระหนักคือโรค ที่เกี่ยวกับเหงือกนั้นไม่ได้เป็นเรื่องที่ไกลตัวเราสักนิด เพราะฉะนั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักและ ทำความเข้าใจกับโรคที่เกี่ยวกับเหงือกกันดีกว่าค่ะ แล้วเราจะรู้ว่ามันเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก ๆ
โรคปริทันต์
โรคปริทันต์หรือที่เรียกกันว่าโรครำมะนาด เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของอวัยวะ ภายในช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นเหงือก ซี่ฟัน รากฟัน ที่เกิดจากคราบจุลินทรีย์ที่มากับอาหารและ น้ำลาย ซึ่งโรคปริทันต์จะมีความรุนแรงมากกว่าโรคเหงือกอักเสบ เพราะโรคนี้เกิดจากการ อักเสบเรื้อรังที่ค่อย ๆ ทำลายกระดูกเบ้าฟันและเนื้อเยื่อของเหงือกไปเรื่อย ๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว หรือรู้ตัวอีกทีก็ตอนที่เหงือกบวมและติดเชื้อไปเสียแล้ว ซึ่งในบางคนอาจจะมีอาการที่ร้ายแรง กว่านั้นเช่น มีเลือดออกตามไรฟัน ปวดฟัน มีกลิ่นปาก ฟันโยกหรือเกิดการแยกกันของซี่ฟันจน เกิดเป็นช่องว่าง บางรายต้องไปพบทันตแพทย์เพื่อถอนฟันซี่นั้นออก
อย่างที่เราทราบกันไปแล้วเบื้องต้นว่าโรคโรคปริทันต์นั้นมีสาเหตุมาจากคราบจุลินทรีย์ ที่มากับอาหารและน้ำลาย ดังนั้นวิธีรักษาคือต้องกำจัดเชื้อแบคทีเรียด้วยการเกลารากฟันและ การขูดหินน้ำลายที่เกาะอยู่ตามตัวฟัน แต่เนื่องจากโรคนี้ไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดขาย เพราะเมื่อเราทานอาหารแบคทีเรียก็จะกลับมาอีก ฉะนั้นแล้วสิ่งที่เราควรทำคือการดูแลรักษา ความสะอาดสุขภาพช่องปากด้วยการแปรงฟันอย่างถูกวิธีและใช้ไหมขัดฟันขัดบริเวณซอกฟัน อย่างสม่ำเสมอ
บทความน่าสนใจเกี่ยวกับรากฟัน : การรักษารากฟัน คืออะไร มีขั้นตอนการรักษาอย่างไร
โรคเหงือกอักเสบ
โรคเหงือกอักเสบเป็นโรคที่เกิดขึ้นบริเวณเหงือก ซึ่งในระยะยะแรกเหงือกจะมีการระคาย เคือง จนเกิดการบวม และเมื่อเราปล่อยทิ้งไว้นานอาการเหงือกอักเสบก็จะตามมา แล้วเราจะรู้ ได้อย่างไรว่าเหงือกกำลังจะอักเสบ จากที่เราได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าให้สังเกตจากสีของเหงือก ซึ่งปกติแล้วเหงือกจะมีสีชมพู แต่ถ้าหากเปลี่ยนสีเป็นสีแดงเข้มถึงม่วง เหงือกบวมและมีเลือด ออกร่วมด้วยนั่นก็หมายความว่าโรคเหงือกอักเสบกำลังถามหาคุณแล้วแหละค่ะ

วิธีรักษาเหงือกอักเสบด้วยตนเอง
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วหลาย ๆ คนที่สังเกตเหงือกขงตัวเองแล้วเกิดความกลัวกันใช่ไหมคะ เราขอบอกว่าถ้าในระยะแรกหรือมีอาการเบื้องต้นมันก็ไม่ได้หน้ากลัวขนาดค่ะ เพราะมันยังมีวิธี รักษาและเราก็สามารถรักษาได้ด้วยตัวเองอย่างวิธีง่าย ๆ เช่น
- ใช้น้ำยาบ้วนปากเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียและคราบจุลินทรีย์ที่ตกค้างจากเศษอาหาร
- ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย วันละ 8 แก้ว เพื่อช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำลาย
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงอาหารประเภทน้ำตาลที่เป็นสาเหตุของการเกิดฟันผุ
- หากเหงือกมีอาการบวมสามารถใช้น้ำแข็งหรือผ้าชุบน้ำเย็นมาประคบเพื่อบรรเทา อาการปวด
- ทานยาแก้ปวดหรือยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการปวด ซึ่งเราขอแนะนำให้อ่าน ทำความเข้าใจ วิธีกินยาพาราเซตามอลให้ปลอดภัย
สำหรับบางคนที่มีอาการเหงือกบวมเกินขีดจำกัดของระยะแรกแล้ว หรือมีอาการปวด บวมเรื้อรังจนยากที่จะรักษาเอง ทางเราก็ขอแนะนำว่าควรไปพบทันตแพทย์จะดีที่สุดค่ะ และไม่ ควรซื้อยาแก้เหงือกอักเสบมาทานเองนะคะ

วิธีรักษาโรคเหงือกโดยทันตแพทย์
หากใครที่มีอาการเหงือกอักเสบเรื้อรัง หรือปวดฟันจนเกินที่จะรักษาได้ก็ควรไปพบ ทันตแพทย์เพื่อที่จะได้รักษาอย่างถูกวิธี เช่น
- แพทย์จะจ่ายยาปฏิชีวะนะมาให้รับประทานเพื่อรักษาภาวะเหงือกติดเชื้อ ซึ่งตัวยา อาจจะมาในรูปแบบของยารับประทาน ยาบ้วนปาก ยาแก้เหงือกอักเสบ ที่ใช้ รักษาอาการเหงือกอักเสบโดยตรง
- หากมีอาการรุนแรงหรือมีภาวะเหงือกร่น ทันตแพทย์จะทำการผ่าตัดปลูกถ่ายเหงือก โดยการนำเนื้อเยื่อช่องไปมาปลูกถ่ายเพื่อทดแทนเนื้อเยื่อที่เสียหายไป ให้กลับมา ใช้งานและมีสภาพดังเดิม
- แพทย์จะทำการเกลารากฟันหรือขูดคราบฟัน เพื่อขจัดคราบหินปูนที่ติดอยู่ตามซอก ฟัน
- หากผู้ป่วยมีภาวะมะเร็งในช่องปาก ทันตแพทย์จะทำการฉายแสงบำบัดหรือเคมี บำบัด หรืออาจใช้ทั้งสองวิธีนี้ร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ใครที่อ่านจบก็อย่าเพิ่งกลัวไปนะคะ ถ้าเราดูแลความสะอาดเป็นอย่างดีก็วางใจได้ใช่ ไหมล่ะ โรคเหงือกอักเสบไม่มาเยือนแน่นอนค่ะ ป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ถือว่าเป็นการ ป้องกันที่ดีที่สุด

การป้องกันอาการเหงือกบวมอักเสบ
ในเมื่อเรากลัวที่จะเป็นสิ่งแรกที่เราต้องทำคือสร้างปราการป้องกันนี่แหละค่ะ ดังนั้นเรา ไปดูกันดีกว่าว่าโรคเหงือกบวมหรือเหงือกอักเสบจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร
- ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือหลังมื้ออาหาร และควรแปรงฟันอย่างถูก วิธี
- ทานอาหารทีมีประโยชน์ มีสารอาหารครบ 5 หมู่ หรือเลือกทานอาหารที่มีแคลเซียม และวิตามินซีสูง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้เหงือกและฟัน
- ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากทุก ๆ 6 เดือน เพื่อขอคำปรึกษาและ คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี
- คอยสังเกตอาการผิดปกติของฟันและเหงือก เพื่อที่จะได้รักษาอย่างทันท่วงที หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลมและอาหารที่มีรสหวานที่เป็นสาเหตุของการเกิดฟันผุ
- ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีฤทธิ์อ่อน ๆ เพื่อลดการระคายเคือง หรือใช้ไหมขัดฟันทำความ สะอาดคราบสกปรก
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ หลาย ๆ คนอ่านจบแล้วคงจะรีบลุกไปส่องกระจกสังเกตเหงือก และฟันของตัวเองกันอยู่ล่ะสิ สารภาพมาซะดี ๆ ว่าใครที่แปรงฟันไม่สะอาดหรือไม่แปรงฟันเลย หลังมื้ออาหาร ใครที่เป็นแบบนี้ขอให้ปรับพฤติกรรเสียใหม่นะคะ ไม่เช่นนั้นจะเสียเงินโดยเปล่า ประโยชน์ไม่รู้ตัว หรือสำหรับใครที่อยากจะเปลี่ยนวิธีดูแลสุขภาพช่องปากของตัวเองใหม่ ก็สามารถดูวิธีการป้องกันและดูแลสุขภาพช่องฟันที่เราได้นำมาฝากไว้ได้เลยค่ะ
สุดท้ายนี้ที่เรา อยากจะฝากคืออย่าละเลยการไปพบทันตแพทย์นะคะ หรือไปพบอย่างน้อย 6 เดือนครั้งก็ได้ เพื่อ เราจะได้ป้องกันและรักษาอย่างทันท่วงที คงมีมีใครอยากปวดฟันหรอกใช่ไหมคะ เพราะมันเป็น สิ่งที่ทรมานปวดไปจนถึงแกนสมองเลยเชียวแหละ เราเตือนคุณแล้วนะ