ฟันห่าง คืออะไร เกิดจากอะไร อุดช่องว่างระหว่างฟันได้ไหม ดูวิธีการรักษา !

ฟันห่าง คืออะไร เกิดจากอะไร อุดช่องว่างระหว่างฟันได้ไหม ดูวิธีการรักษา

‘ฟันห่าง’ นับเป็นปัญหาเรื่องฟันที่สามารถพบได้บ่อยและทำให้คนไข้หลายคนรู้สึกไม่มั่นใจจนทำให้ไม่กล้าเผยรอยยิ้มให้ใครเห็น แน่นอนว่าส่งผลต่อบุคลิกภาพโดยรวมได้ จะดีกว่าไหม? ถ้าใช้วิธีการทำทันตกรรมเพื่อแก้ปัญหาเรื่องฟันห่างให้หมดไป และกู้คืนรอยยิ้มสวยสดใสให้กลับมายิ้มได้อย่างมั่นใจมากขึ้น

บทความนี้ Smile and co เลยอยากจะมาบอกเล่าให้กับผู้ที่ประสบปัญหาฟันห่างอยู่ว่า อาการฟันห่างที่คุณพบนั้นสามารถแก้ไขได้อย่างไรบ้าง มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ แบบไหนถึงเรียกว่าอาการฟันห่าง รวมถึงจะดูแลรักษาฟันอย่างไรไม่ให้ห่าง มาดูคำตอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมๆ กันได้เลย

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

ฟันห่าง คืออะไร

ฟันห่าง (Diastema) คือ ลักษณะของฟันที่มีช่องว่างระหว่างฟัน ส่วนใหญ่มักเกิดบริเวณฟันหน้าสองซี่ด้านบน แต่ฟันซี่อื่นก็มีโอกาสที่ฟันจะห่างได้เช่นเดียวกัน ซึ่งอาการฟันห่างนี้ไม่ได้เป็นโรคที่ต้องทำการรักษา เช่น การเกิดคราบหินปูน, การมีฟันผุจนต้องทำการอุดฟัน ฯลฯ แต่ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแบคทีเรียในช่องปากจากการที่มีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่บ่อยครั้งได้ ส่วนในเด็กที่มีอาการฟันห่างจะได้รับผลกระทบจากการที่ฟันซี่ถัดไปไม่สามารถขึ้นมาในตำแหน่งที่ถูกต้องได้ทำให้มีโอกาสเกิดปัญหาด้านการบดเคี้ยวหรือการกัดตามมาได้นั่นเอง 

นอกจากนี้ ฟันห่างยังทำให้เกิดความไม่มั่นใจในการยิ้มหรือพูดคุย ซึ่งทำให้เสียบุคลิกภาพดูเป็นคนขาดความมั่นใจและทำให้สูญเสียโอกาสหลายๆ อย่างในด้านการเข้าสังคมหรือการทำงานในบางอาชีพไปอย่างน่าเสียดายด้วย

ฟันห่างมีลักษณะอย่างไร

ลักษณะของฟันห่างจะเป็นการที่ฟันมีช่องว่างระหว่างฟันที่กว้างกว่า 0.5 มิลลิเมตร พบได้ในฟันทุกตำแหน่ง แต่ส่วนใหญ่จะพบกับฟันหน้า และยังพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ไม่ต้องกังวลใจไปเพราะอาการฟันห่างสามารถรักษาได้หลายวิธีด้วยกัน ซึ่งเราจะบอกวิธีการรักษาฟันห่าง ปิดช่องว่างระหว่างฟันในหัวข้อต่อๆ ไป

สาเหตุที่ทำให้ฟันห่าง

ฟันห่างเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยในที่นี้จะขอแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยที่ทำให้คนเราฟันห่างได้ นั่นคือ

ฟันห่างจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้

  1. กรรมพันธุ์ 

กรรมพันธุ์มีส่วนที่ทำให้เกิดฟันห่างได้ตั้งแต่กำเนิด เช่น การมีขนาดฟันเล็กกว่าขากรรไกรจนทำให้ฟันเรียงตัวห่างจากกันมากกว่าปกติ หรือการที่มีเนื้อเยื่อในช่องปากที่หนาแล้วแทรกอยู่ตามร่องฟันมากเกินไปก็ทำให้เกิดอาการฟันห่างได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถถ่ายทอดผ่านทางกรรมพันธุ์ได้นั่นเอง

  1. อุบัติเหตุ

การเกิดการกระแทกหรือประสบอุบัติเหตุจนทำให้ฟันโยกและเคลื่อนไปจากตำแหน่งเดิม ไปจนถึงฟันหลุดหายไปก็เป็นส่วนที่ทำให้เกิดอาการฟันห่างตามมาได้ ดังนั้นจึงควรทำการรักษาอย่างเหมาะสมไม่ควรปล่อยทิ้งไว้

  1. การมีฟันเกิน

ในบางกรณีอาจมีฟันที่อยู่ในกระดูกขากรรไกร ทำให้ฟันซี่อื่นไม่สามารถงอกขึ้นมาได้ จึงทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันขึ้น สาเหตุจะคล้ายกับการที่ฟันขึ้นไม่ครบจนทำให้เกิดฟันห่างได้

  1. มีความผิดปกติด้านเนื้อเยื่อ

เช่น เนื้อเยื่อที่ยึดเกาะใต้ลิ้นกับพื้นด้านล่างของช่องปากมีความผิดปกติ, เนื้อเยื่อยึดระหว่างริมฝีปากกับสันเหงือกโตมากเกินไป, เนื้อเยื่อขอบเหงือกเจริญเติบโตมากเกินไป ฯลฯ จนทำให้เนื้อเยื่อเหล่านี้เข้าไปแทรกตัวอยู่ระหว่างฟันจนทำให้ฟันแยกออกจากกันและก่อให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันในที่สุด

ฟันห่างจากปัจจัยที่ควบคุมได้

  1. พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

อย่างเช่น การดูดนิ้ว ใช้ลิ้นดุนฟัน การดูดปาก จนทำให้เกิดแรงดันหากทำจนติดเป็นนิสัยก็จะทำให้เกิดอาการฟันห่างได้ด้วยเช่นเดียวกัน

  1. การเป็นโรคเหงือก

ซึ่งอาจเกิดจากการดูแลช่องปากที่ไม่ดีพอจนทำให้เป็นโรคเหงือก บวม แดง อักเสบ ไปจนถึงขั้นเป็นหนอง จนทำให้ฟันเกิดอาการโยก เลือดออกตามไรฟัน และเกิดเป็นภาวะฟันห่าง เนื่องจากฟันไม่โยกกลับตำแหน่งเดิมนั่นเอง

ฟันห่างมีข้อเสียหรือไม่

ฟันห่างนั้นมีข้อเสียหลายอย่างที่ทำให้หลายคนเลือกที่จะทำการรักษาอาการนี้ให้หาย ยกตัวอย่างเช่น

  • ทำให้ไม่กล้ายิ้มหรือพูดคุยเต็มที่เนื่องจากหมดความมั่นใจจากฟันที่ห่างซึ่งสังเกตเห็นได้
  • ฟันห่างทำให้มีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ตามซอกฟันได้ง่ายทำให้เกิดทั้งความรำคาญและบางครั้งส่งผลต่อบุคลิกภาพอีกด้วย
  • หากเกิดฟันห่างจากการเป็นโรคเหงือกย่อมส่งผลต่อสุขภาพภายในช่องปากและทำให้รู้สึกเจ็บหรือปวดได้ แนะนำให้ทำการรักษาโรคเหงือกให้เรียบร้อยก่อนทำการรักษาฟันห่างเพิ่มเติม
  • ในเด็กที่มีฟันในลักษณะที่ห่างจะส่งผลกระทบกับฟันอื่นๆ ที่ยังไม่ขึ้นมา เพราะจะทำให้ฟันขึ้นผิดตำแหน่งจนกลายเป็นฟันซ้อน ฟันเก หรือก่อให้เกิดปัญหาการกัดหรือเคี้ยวอาหารตามมาได้เช่นกัน
  • ส่งผลกระทบต่อสายงานบางอาชีพ เช่น แอร์โฮสเตส พิธีกร นักแสดง นักร้อง พนักงานต้อนรับ เป็นต้น

ฟันห่าง อันตรายไหม

หาเป็นอาการฟันห่างโดยปกติที่ไม่ได้เกิดจากโรค เช่น โรคเหงือก, การเกิดคราบหินปูนสะสม ฯลฯ ก็ไม่ได้เป็นอันตรายอะไรกับสุขภาพในช่องปาก ยกเว้นว่าเป็นอาการฟันห่างในเด็กที่อาจจะส่งผลกระทบกับการขึ้นของฟันซี่อื่นๆ ในอนาคตได้ แนะนำให้ทำการปรึกษากับทางทันตแพทย์ถึงความเหมาะสมในการรักษาและวิธีการดูแลฟันที่ถูกต้องจะเป็นการดีที่สุด

วิธีรักษาฟันห่าง ปิดช่องว่างระหว่างฟัน

วิธีรักษาฟันห่างปิดช่องว่างระหว่างฟันนั้นสามารถทำได้มากมายหลายวิธี โดยในที่นี้เราขอรวบรวมมาให้เป็น 7 วิธีที่นิยมทำกัน ดังต่อไปนี้

การอุดฟันสีเหมือนฟัน (Composite Bonding)

การอุดฟันสีเหมือนฟัน (Composite Bonding) คือ วิธีการแก้ปัญหาฟันห่างด้วยการใช้วัสดุบูรณะฟันที่ทำมาจากเรซินคอมโพสิตสีเหมือนฟัน เพื่อปิดช่องว่างเล็กๆ ระหว่างฟัน ทำแล้วจะออกมาดูเหมือนฟันสีธรรมชาติ ไม่เจ็บ ไม่จำเป็นต้องใช้ยาชา และใช้เวลาทำเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น

การทำวีเนียร์ (Veneers)

การทำวีเนียร์ (Veneers) คือ การเคลือบฟันเทียม โดยใช้คอมโพสิต (COMPOSITE) เป็นวัสดุแบบเดียวกับที่ใช้ในการอุดฟัน หรือพอร์ซเลน (PORCELAIN) เป็นวัสดุเซรามิกมาใช้ในการแก้ไขรูปร่างฟันที่ไม่สวยอย่างอาการฟันห่าง นอกจากนี้ยังช่วยแก้ปัญหาปัญหาฟันเหลืองได้เป็นอย่างดี จึงเหมาะสำหรับคนที่ต้องการรักษาฟันห่างไปพร้อมๆ กับหาวิธีทำให้ฟันขาวไปพร้อมๆ กันเป็นอย่างมาก

การจัดฟัน (Orthodontic treatment)

การจัดฟัน (Orthodontic treatment) คือ วิธีการแก้ไขปัญหาฟันไม่สวย ซึ่งไม่ใช่แค่แก้ไขเฉพาะปัญหาฟันห่าง แต่แก้ได้ทั้งฟันหน้ายื่น ฟันซ้อน ฟันเก ฯลฯ หลายคนอาจจะสงสัยว่าการจัดฟันมีกี่แบบ ต้องขอบอกว่ามีให้เลือกมากมายหลายแบบตามความต้องการของคนไข้และรูปแบบการรักษาเลย ยกตัวอย่างเช่น จัดฟันแบบโลหะ, จัดฟันแบบดามอน, จัดฟันเซรามิก เป็นต้น

การจัดฟันใส (Invisalign)

การจัดฟันแบบใส (Invisalign) คือ การจัดฟันรูปแบบหนึ่งที่สามารถถอดได้ ช่วยเคลื่อนฟันไปยังตำแหน่งที่ต้องการเพื่อแก้ไขปัญหาฟันในรูปแบบต่างๆ เช่น ฟันเก ฟันห่าง ฟันซ้อน ฯลฯ พร้อมถูกออกแบบมาด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทำให้การจัดฟันมีความสะดวก รวดเร็ว และเหมาะสำหรับบุคคล อีกทั้งยังมองไม่เห็นว่ากำลังจัดฟันอยู่อีกด้วย 

การทำรากฟันเทียม (Dental Implant)

การทำรากฟันเทียม (Dental Implant) คือ การทำรากฟันเทียมมาทดแทนรากฟันจริง โดยวัสดุจะทำจากไททาเนียมหรือเซรามิก มีลักษณะคล้ายกับสกรู เวลาใส่เข้าไปในขากรรไกร เพื่อรองรับการทำทันตกรรมฟันปลอม,ครอบฟัน หรือสะพานฟัน ทำให้ฟันดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด ช่วยแก้ไขปัญหาฟันห่าง หรือการสูญเสียฟันไปได้เป็นอย่างดี

การทำทันตกรรมโรคเหงือก (Periodontics)

การทำทันตกรรมโรคเหงือก (Periodontics) คือ การรักษาโรคเหงือกซึ่งทำให้เกิดฟันห่างขึ้น แล้วหลังจากนั้นจึงค่อยทำทันตกรรมอื่นๆ เพิ่มเติม โดยการรักษาโรคเหงือกจะต้องทำทั้งการเคลียร์ช่องปาก เช่น ขูดหินปูน, รักษาฟันผุ และรักษาอาการโรคเหงือกอื่นๆ ตามอาการ ซึ่งควรเข้ารับคำแนะนำจากทันตแพทย์ ไม่ควรปล่อยเอาไว้นาน เพราะนอกจากจะทำให้ฟันห่างแล้วอาจลุกลามจนถึงขั้นสูญเสียฟันซี่สำคัญไป

การตัดเหงือก (Gum Contouring Surgery)

การตัดเหงือก (Gum Contouring Surgery) คือ การศัลยกรรมตัดแต่งเหงือกมักทำร่วมกับการครอบฟันหรือวีเนียร์, การรักษารากฟัน,การผ่าหรือถอนฟันคุด เพื่อให้เหงือกดูสวยงาม พร้อมแก้ปัญหาเหงือกร่น, ฟันห่าง, ฟันกรามผุ, ฟันแตก, มีรอยผุอยู่ใต้ขอบเหงือก, ป้องกันรากฟันผุได้อีกด้วย

เลือกปิดช่องว่างฟันห่างแบบไหนดี

มาดูกันต่อดีกว่าว่าวิธีการปิดช่องว่างฟันห่างในแต่ละแบบมีข้อดี-ข้อจำกัดอย่างไร เพื่อที่จะได้ตัดสินใจเลือกวิธีการที่ต้องการได้อย่างเหมาะสมที่สุด

วิธีปิดช่องว่างฟันห่างข้อดีข้อจำกัด
การอุดฟันสีเหมือนฟัน (Composite Bonding)ราคาถูกใช้เวลาในการรักษาไม่นานทำเสร็จได้ในครั้งเดียวสีเหมือนฟันธรรมชาติไม่เจ็บไม่ต้องกรอฟันให้เสียเนื้อฟันสามารถรื้อออกได้ห้ามใช้ฟันซี่นั้นในการกัดแทะสิ่งของหรืออาหารหากดูแลและทำความสะอาดไม่ดี อาจทำให้เกิดเหงือกอักเสบในบริเวณนั้นได้
การจัดฟัน (Orthodontic treatment)ฟันกลับมาเรียงตัวสวยเป็นธรรมชาติแก้ไขปัญหาฟันไม่สวยได้หลายรูปแบบสามารถเลือกชนิดเครื่องมือได้ช่วยลดปัญหาฟันผุและเหงือกอักเสบได้ทำให้ฟันทำหน้าที่ในการขบเคี้ยวอาหารได้ดีขึ้นจัดฟันหน้าเปลี่ยน ดูดีขึ้นโดยไม่ต้องไปทำศัลยกรรมจัดฟันเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าใช้เวลาในการเตรียมตัวและการพบทันตแพทย์มีข้อจำกัดในการรับประทานอาหารต้องทำความสะอาดช่องปากอย่างพิถีพิถันมากขึ้นสร้างความเจ็บปวดจากการถอน ดึงฟัน หรือติดเครื่องมือจัดฟันต้องติดอุปกรณ์จัดฟัน เช่น ยางจัดฟัน, ลวด, แบร็กเก็ต ถ้าหลุดหรือเสียหายต้องทำการเปลี่ยนและพบหมอต้องใส่รีเทนเนอร์หลังจัดฟัน
การจัดฟันใส (Invisalign)สามารถถอดเครื่องมือออกได้ใช้เวลาในการจัดฟันน้อยไม่บาดเหงือกและกระพุ้งแก้มให้ความรู้สึกเหมือนไม่ได้จัดฟันขั้นตอนไม่ซับซ้อน ออกแบบครั้งเดียว ไม่ต้องปรับเครื่องมือบ่อยช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพฟันเหมาะทั้งกับคนที่จัดฟันครั้งแรก, จัดฟันครั้งที่สองมีค่าใช้จ่ายที่สูงควรใส่เครื่องมือ 22 ชั่วโมง/วันมีโอกาสที่จะลืมเครื่องมือขณะถอดได้
การทำรากฟันเทียม (Dental Implant)พูดและออกเสียงได้ชัดขึ้นสุขภาพในช่องปากดีขึ้นเคี้ยวอาหารได้สะดวกขึ้นเพิ่มความมั่นใจ เสริมบุคลิกภาพราคาสูงกว่าฟันปลอมประเภทอื่นทำได้เฉพาะผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไปมีข้อจำกัดสำหรับผู้มีโรคประจำตัวผู้ที่สูบบุหรี่หรือดื่มสุราจัดมีความเสี่ยงในการรักษา
การทำทันตกรรมโรคเหงือก (Periodontics)ช่วยรักษาอาการโรคเหงือกให้หายสุขภาพในช่องปากดีขึ้นเพิ่มความมั่นใจและส่งเสริมบุคลิกภาพไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาฟันห่างโดยตรง แต่ถ้าเป็นโรคเหงือกจะต้องทำการรักษาให้หายก่อน จึงจะไปแก้ฟันห่างได้
การตัดเหงือก (Gum Contouring Surgery)ช่วยป้องกันฟันรากฟันผุช่วยทำให้ทำความสะอาดฟันได้ง่ายขึ้นช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับโรคเหงือกทำให้กล้ายิ้มมากขึ้นช่วยทำให้การทำวีเนียร์ให้ดูมีมิติอาจทำให้เกิดโรคช่องปากต่างๆ ได้ง่าย หากดูแลสุขภาพในช่องปากได้ไม่ดีพอ

อุดฟันห่างราคาเท่าไหร่

ราคาอุดฟันห่างจะเป็นการอุดฟันในลักษณะสีเหมือนฟันโดยเริ่มต้นอยู่ที่ 800 บาท ซึ่งคนไข้สามารถใช้สิทธิ์ประกันตนเอง ประกันสังคม หรือบัตรทองในการเบิกเพื่อจ่ายค่าอุดฟันได้

ปิดช่องว่างฟันห่างที่ไหนดี

ปิดช่องว่างฟันห่างด้วยความปลอดภัยและมีแหล่งอ้างอิงให้ตรวจสอบความน่าเชื่อถือ ทั้งในด้านการตรวจสอบเลขที่ใบอนุญาตประกอบกิจการ 11 หลัก ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล และใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล รวมถึงตรวจสอบข้อมูลของทันตแพทย์ว่าเป็นแพทย์เฉพาะทางหรือไม่ที่ https://thaiortho.org/certified-orthodontist/ หรือถ้ามีข้อสงสัยติดต่อสอบถามกับ Smile And Co dental clinic ได้เลย ทันตแพทย์ของเราพร้อมให้คำปรึกษาฟรีแบบไม่มีค่าใช้จ่าย

วิธีดูแลรักษาฟันไม่ให้ห่าง

  • งดพฤติกรรมเสี่ยงที่มีโอกาสทำให้ฟันห่าง เช่น การดูดปาก การดูดนิ้ว การใช้ลิ้นดุนฟัน การใช้ฟันกัดแทะของแข็ง ฯลฯ
  • ควรดูแลสภาพฟันให้มีสุขภาพดีด้วยการขูดหินปูนและควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพในช่องปากทุกๆ 6 เดือน เพื่อไม่ให้มีโอกาสเป็นโรคเหงือกหรือโรคอื่นๆ ในช่องปาก
  • ปรับเปลี่ยนวิธีกลืนน้ำลายให้ถูกวิธี เพื่อป้องกันฟันห่าง
  • แปรงฟันให้ถูกวิธีและเลือกใช้แรงที่มีขนอ่อนนุ่ม เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อเหงือกและฟันในขณะแปรง
  • ทำความสะอาดซอกฟันด้วยการใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน

คำถามที่พบบ่อย

ฟันห่างควรจัดฟันไหม

ฟันห่างจะจัดฟันดีไหม คำถามนี้ขึ้นอยู่กับว่าคนไข้ต้องการจัดการกับปัญหาฟันห่างแบบถาวรด้วยการเคลื่อนตำแหน่งฟันโดยการจัดฟันหรือเปล่า เพราะนอกจากการจัดฟันแล้วยังมีการรักษาด้วยวิธีอื่นอีก เช่น การอุดฟันสีเหมือนฟัน การทำรากฟันเทียม การตัดเหงือก ฯลฯ แต่ทั้งนี้ สามารถทำการปรึกษาแพทย์ก่อนได้ว่าลักษณะฟันห่างของคนไข้เหมาะกับการรักษาแบบใด และถ้ารักษาด้วยการจัดฟันจะเหมาะสมหรือไม่

ฟันห่างอุดได้ไหม

ฟันห่างอุดได้ไหม? คำตอบคือ ได้ โดยวิธีการอุดฟันห่างจะเรียกว่าการอุดฟันสีเหมือนฟัน (Composite Bonding) ซึ่งช่วยเติมให้ช่องว่างระหว่างฟันเต็มขึ้นและยังทำให้ฟันที่อุดมีสีเหมือนกันธรรมชาติเลยทีเดียว

ฟันห่างจัดฟันนานไหม

ระยะเวลาในการจัดฟันเพื่อแก้ปัญหาฟันห่างจะขึ้นอยู่รูปแบบของวิธีการจัดฟัน เช่น ถ้าเลือกวิธีการจัดฟันแบบใสจะใช้เวลาในการจัดฟันอยู่ที่ประมาณ 2- 6 เดือนขึ้นไป ขึ้นอยู่กับการประเมินการรักษาและรูปแบบการจัดฟันใสที่คนไข้เลือก แต่ถ้าจัดฟันรูปแบบอื่นก็จะใช้เวลานานขึ้น ส่วนใหญ่อยู่ที่ประมาณ 2 ปีขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของแต่ละบุคคล)

ฟันห่างรักษาด้วยตัวเองได้ไหม

ฟันห่างไม่สามารถทำการรักษาได้ด้วยตัวเอง เนื่องจากจำเป็นต้องทำทันตกรรมเพื่อปิดช่องว่างฟันที่ห่างด้วยเครื่องมือทำฟันและใช้ความเชี่ยวชาญของทันตแพทย์ในการตกแต่งและรักษา ซึ่งจะเห็นว่าวิธีการรักษาแต่ละวิธีนั้นมีความยุ่งยากและต้องอาศัยประสบการณ์ในการจัดการปัญหาฟันห่าง เช่น การจัดฟัน, ทำวีเนียร์, ทำรากฟันเทียม ฯลฯ จึงจะทำให้ฟันเคลื่อนตัวหรือกลับมาชิดสนิทสวยงามได้เหมือนเดิม

ปิดช่องว่างฟันที่ห่างแล้วจะกลับมาห่างอีกไหม

หากดูแลฟันให้สะอาดปราศจากโรคเหงือก รวมถึงแก้พฤติกรรมที่ทำให้ฟันห่าง เช่น การดูดปาก การดูดนิ้ว การใช้ลิ้นดุนฟัน การใช้ฟันกัดแทะของแข็ง ฯลฯ แน่นอนว่า เมื่อปิดช่องว่างระหว่างฟันไปแล้วก็อาจจะไม่กลับมามีฟันที่ห่างอีก ยกเว้นว่าจะเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดจนทำให้ฟันเกิดแตก หรือบิดเบี้ยวผิดรูป นั่นก็อาจจะทำให้เกิดอาการฟันห่างกลับมาอีก

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Line chat facebook chat call to clinic

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า