การจัดฟัน ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาด้านทันตกรรม ที่ช่วยทั้งการเสริมบุคลิกภาพ มีรอยยิ้มที่สวยงาม สร้างความมั่นใจ รวมถึงช่วยเรื่องการบดเคี้ยวอาหารและการออกเสียงให้ชัดเจนขึ้นได้ ใครที่กำลังวางแผนจัดฟัน แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร การจัดฟันมีกี่แบบ แต่ละแบบมีข้อดี ข้อเสียต่างกันอย่างไร เหมาะกับใครบ้าง เลือกจัดฟันแบบไหนดีที่สุด สามารถศึกษาข้อมูล เหล็กดัดฟัน เครื่องมือจัดฟัน เหล่านี้ ก่อนตัดสินใจได้ครับ
อ่านบทความเพิ่มเติมที่ คุณหมอแนะนำ สำหรับคนอยากจัดฟัน
ได้ที่นี่ครับ : ข้อมูล จัดฟัน ที่ต้องรู้ก่อนพบทันตแพทย์
การจัดฟันมีกี่แบบ
ประเภทการจัดฟันในปัจจุบันมีหลายรูปแบบให้เลือกครับ คุณหมอแนะนำให้คนไข้ที่ต้องการ ศึกษาข้อมูลการจัดฟันครั้งแรก อย่างละเอียด เนื่องจากการจัดฟันแต่ละแบบจะสามารถตอบสนองความต้องการคนไข้ได้ต่างกัน ทั้งในเรื่องของวิธีการและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ราคาค่าใช้จ่ายก็ต่างกันออกไปด้วย ดังนี้
จัดฟันแบบโลหะ
จัดฟันแบบโลหะ หรือการจัดฟันแบบยางสี สามารถเห็นได้ทั่วไปครับ และนิยมในกลุ่มวัยรุ่น เพราะราคาไม่สูงมาก เป็นวิธีจัดฟันโดยใช้อุปกรณ์ติดแน่นบนฟัน ที่เรียกว่า Bracket เป็นสีโลหะสีเงิน ส่วนยางหรือ Oring ที่ใช้รัดลวดจัดฟันให้ติดกับ Bracket จะมีสีสันสดใส ทำหน้าที่ในการดึงฟันช่วยในการเคลื่อนฟันให้ไปยังตำแหน่งที่ทันตแพทย์จัดฟันต้องการ
ข้อดีการจัดฟันแบบโลหะ
- ราคาไม่สูงมาก
- สามารถจัดฟันที่มีความซ้อนเกได้ทุกรูปแบบ
- สามารถเปลี่ยนสียางได้ทุกเดือน ตามความต้องการ
ข้อจำกัด
- จำเป็นจะต้องมาพบทันตแพทย์ทุกเดือน เพื่อปรับเครื่องมือและเปลี่ยน Oring
ขั้นตอนการจัดฟันแบบโลหะ : ทันตแพทย์นัดทำประวัติ พิมพ์ปาก ถ่ายเอกซเรย์ ตรวจเช็คสภาพฟันเพื่อเคลียร์ช่องปาก หลังจากนั้นจะนัดติดเครื่องมือ และนัดตรวจเพื่อปรับเครื่องมือเดือนละครั้ง จนกว่าจะเข้าที่ตามต้องการ ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ในการดัดฟันขึ้นอยู่กับปัญหาฟันของแต่ละบุคคลครับ และเมื่อเข้าที่เรียบร้อยแล้ว ทันตแพทย์นัดถอดเครื่องมือจัดฟัน พร้อมกับพิมพ์ปากทำรีเทนเนอร์ครับ
จัดฟันแบบเซรามิก
จัดฟันแบบเซรามิก เป็นการจัดฟันยึดติดแน่น คล้ายกับการจัดฟันแบบโลหะครับ ต่างกันตรงที่เครื่องมือที่ใช้ยึดติดฟัน (Bracket) ที่มีสีเหมือนฟัน เหมาะกับทุกเพศทุกวัย ที่ไม่ต้องการให้เห็นว่าจัดฟันชัดเจน แต่ยางที่ใช้ดึงฟัน (Oring) ยังเป็นสีสดใส ส่วนลวดดัดฟันที่ใช้ในการจัดฟันแบบเซรามิก ก็ยังเป็นสีโลหะเงินเหมือนการจัดฟันแบบโลหะ
ข้อดีการจัดฟันแบบเซรามิก
- สีเหมือนฟัน มองเห็นเครื่องมือไม่ชัดเจน
- เป็นจัดฟันด้านนอกจึงดูแลรักษาเครื่องมือทำได้ง่าย
- สามารถจัดฟันที่มีความซ้อนเกได้ทุกรูปแบบ
ข้อจำกัด
- จำเป็นจะต้องมาพบทันตแพทย์ทุกเดือน เพื่อปรับเครื่องมือและเปลี่ยน Oring
- ค่าใช้จ่ายสูงกว่าจัดฟันแบบโลหะ
- วัสดุที่นำมาใช้แตกหักได้ง่าย เมื่อเทียบกับการจัดฟันแบบโลหะ
- ใช้ระยะเวลาในการจัดฟันนาน ประมาณ 2-3 ปี ขึ้นอยู่กับปัญหาในช่องปาก
ขั้นตอนการจัดฟันแบบเซรามิก : ขั้นตอนไม่ต่างจากการจัดฟันแบบโลหะ คือเข้าพบทันตแพทย์ นัดทำประวัติ พิมพ์ปาก ถ่ายเอกซเรย์ เคลียร์ช่องปาก และเข้าสู่ลำดับขั้นตอนการจัดฟัน จากนั้นคนไข้ต้องพบทันตแพทย์เดือนละ 1 ครับ เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องมือการดึงฟัน
จัดฟันแบบดามอน
การจัดฟันแบบดามอน คือการจัดฟันด้วยเครื่องมือแบบ Damon เป็นเครื่องมือที่ไม่ต้องใส่ยางรัดฟัน ทำงานด้วยระบบ Self-ligating Braces เป็นเทคโนโลยีพิเศษเฉพาะของเครื่องมือแบบบานพับ และลวดชนิดพิเศษที่ทำให้การเคลื่อนฟันไม่เจ็บมากนัก เหมาะกับคนที่กลัวความเจ็บปวดจากการจัดฟัน
ข้อดีการจัดฟันแบบดามอน
- การเคลื่อนฟันทำได้เร็วขึ้น ลดระยะเวลาการจัดลง
- ด้วยคุณสมบัติของลวดชนิดพิเศษ สามารถลดการระคายเคืองช่องปาก
- สามารถทำความสะอาดฟันได้ง่ายกว่าเพราะไม่มียางรัด
- ไม่ต้องพบแพทย์บ่อยเหมือนการจัดฟันชนิดโลหะติด
- สามารถจัดฟันที่มีความซ้อนเกได้ทุกรูปแบบ
ข้อจำกัด
- มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
- เกิดหินปูนได้ง่าย หากคนไข้ไม่รักษาความสะอาด
ขั้นตอนการจัดฟันแบบดามอน : เมื่อตัดสินใจจัดฟันแบบดามอน ทันตแพทย์จะทำการตรวจสุขภาพช่องปาก เอกซเรย์ฟัน พิมพ์ฟัน และทำการทำการเคลียร์ช่องปาก เพื่อเตรียมพร้อมสภาพช่องปาก จากนั้นทันตแพทย์จะวางแผนการรักษา และเริ่มทำการติดเครื่องมือจัดฟัน โดยส่วนใหญ่จะนัดตรวจเช็กทุก ๆ 6-8 สัปดาห์ เพื่อปรับลวดจัดฟัน ให้ฟันเข้าที่ตามที่วางแผนการรักษาไว้
จัดฟันแบบใส
การจัดฟันแบบใส invisalign คือ การจัดฟันไร้เครื่องมือ ไร้ลวดเหล็ก สามารถถอดได้ เครื่องมือการจัดฟันเป็นการออกแบบเฉพาะบุคคล เป็นเครื่องมือจัดฟันที่ทำมาจากพลาสติกที่ผิวสัมผัสเรียบ ใส จึงแทบมองไม่เห็นว่าจัดฟันอยู่
การจัดฟันใสเป็นการวางแผนการรักษาโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เห็นเป็นภาพ 3D ถึงการเคลื่อนของฟัน สามารถคำนวนจำนวนชุดเครื่องมือจัดฟันแบบใสที่จะต้องใช้ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการให้ทราบว่ากำลังจัดฟัน
ข้อดีการจัดฟันใส
- สามารถปัญหาฟันเก ฟันซ้อน ฟันห่าง ได้ทุกรูปแบบ
- สามารถทำได้โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องอายุ
- ไม่ระคายเคืองในช่องปาก ลดปัญหา เหงือกบวม เหงือกอักเสบแดง จากการดึงฟัน ของลวดจัดฟัน
- ถอดง่าย ใส่สบาย เวลารับประทานอาหาร หรือแปรงฟัน
- ไม่เสียบุคลิกภาพ เหมาะกับผู้ที่ต้องทำงานโดยใช้หน้าตา หรือสร้างความน่าเชื่อถือ
- สามารถพูด ยิ้ม ได้อย่างเต็มที่
- ไม่ต้องพบทันตแพทย์บ่อย
- ระยะเวลาในการจัดฟัน เข้าที่เร็ว
ข้อจำกัด
- ราคาสูง
ขั้นตอนการจัดฟันแบบใส : เมื่อปรึกษาทันตแพทย์แล้วว่าสามารถจัดฟันใสได้ ทันตแพทย์จะทำการถ่ายรูปในช่องปากและใบหน้า เอกซเรย์ พิมพ์แบบฟัน และส่งไปยังแล็บเพื่อดำเนินการผลิตชุดจัดฟัน เมื่อได้ชุดจัดฟันเฉพาะบุคคลแล้ว ทันตแพทย์จะนัดวันเพื่อทำการใส่พร้อมให้คำแนะนำ โดยจะต้องใส่เครื่องมือวันละ 20-22 ชั่วโมง สามารถถอดออกได้เฉพาะเวลารับประทานอาหารและแปรงฟันครับ จะมีเปลี่ยนชุดใหม่ตามลำดับ ทุก 2 สัปดาห์ จนกว่าฟันจะเคลื่อนไปตาแผนที่วางไว้ จากนั้นทันตแพทย์จะนัดหมายเพื่อตรวจสอบการเคลื่อนที่ของฟันเป็นระยะครับ
อย่างไรก็ตาม การจัดฟันทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะจัดฟันแบบใส หรือเครื่องมือจัดฟันชนิดใดก็ตาม หลังจัดฟันจำเป็นต้องใส่ รีเทนเนอร์ (Retainer) เพื่อคงสภาพฟันหลังการจัดฟันต่อไปครับ
เลือกจัดฟันแบบไหนดีที่สุด?
ดังที่กล่าวมาประเภทการจัดฟันมีหลายแบบ และมีข้อดี ข้อเสียต่างกัน เลือกจัดฟันแบบไหนดีที่สุด? ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์และความต้องการของแต่ละบุคคลครับ คนไข้สามารถพิจารณาเลือกได้ตามความเหมาะสมกับตนเอง และงบประมาณที่มีอยู่ครับ ถ้าให้หมอแนะนำ หากเป็นนักเรียน นักศึกษา มีงบประมาณจำกัด และต้องการแก้ปัญหาสุขภาพฟัน
สามารถเลือกการจัดฟันแบบติดเครื่องมือได้ครับ แต่ถ้าใครไม่มีปัญหาเรื่องงบประมาณ และต้องการความมั่นใจ ความน่าเชื่อถือ และไม่เสียบุคลิกภาพ สามารถพูด ออกเสียงได้ชัด การจัดฟันแบบใสก็เป็นทางเลือกที่ดีครับ
สิ่งสำคัญคือ เลือกคลินิกทำฟันที่ได้มาตรฐาน และทำการรักษากับทันตแพทย์ที่มีประสบการณ์และชำนาญการจัดฟันโดยเฉพาะเท่านั้น เพื่อให้คำปรึกษา แนะนำได้อย่างเหมาะสม และการจัดฟันดำเนินไปอย่างราบรื่น เนื่องจากการจัดฟันต้องอาศัยระยะเวลาในการจัดฟันนานเป็นปี ต้องพบทันตแพทย์บ่อย ๆ การดูแลติดตามผลอย่างต่อเนื่องจากคลินิก จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามครับ
คนไข้ สามารถ เลือกช่องทาง ปรึกษาทันตแพทย์ ที่ Smile And Co Dental Clinic
ที่มีคุณหมอจากมหิดล ได้ที่ smileandcodentalclinic.com/contact-us/