ใครที่รู้สึกปวดฟัน เจ็บเหงือกด้านในมากๆ อาจจะกำลังมีอาการฟันคุดมีปัญหาอยู่ก็ได้ หรือใครที่กำลังวางแผนที่จะจัดฟันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นจัดฟันแบบดามอน จัดฟันแบบโลหะที่ต้องทำการเคลียร์ช่องปากให้พร้อมสำหรับติดเครื่องมือจัดฟัน อาจจะได้รับคำแนะนำให้ทำการถอนฟันคุดออก แล้วควรที่จะจัดการอย่างไรดี? ไม่ทำการผ่าฟันคุด ถอนฟันคุดออกได้ไหม แล้วถ้าจะต้องผ่าฟันคุดจะต้องมีอะไรที่ต้องรู้บ้าง?
มาดูสรุปทุกเรื่องที่เกี่ยวกับการผ่าฟันคุด ถอนฟันคุดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ Smile and Co ซึ่งเราจะมาตอบคำถามที่คนไข้กังวลมากที่สุดเกี่ยวกับการทำทันตกรรมนี้ให้ทราบกันแบบละเอียด จะมีเรื่องไหนบ้างที่ทุกคนสงสัย ตามไปดูพร้อมๆ กันเลย
ผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด คืออะไร
ผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด คือ คำที่มักจะมาคู่กันเสมอ ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบเป็นกระบวนการที่ต้องทำเมื่อฟันคุดมีปัญหาและไม่สามารถรักษาได้ แต่การผ่าและการถอนฟันคุดจะทำก็ต่อเมื่อมีสาเหตุของลักษณะฟันที่แตกต่างกันเล็กน้อย ดังนี้
ผ่าฟันคุด
ผ่าฟันคุด คือ การทำการผ่าฟันคุดซึ่งเป็นฟันกรามซี่สุดท้ายที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้ เช่น ไม่โผล่ขึ้นมาพ้นเงือก พ้นเหงือกขึ้นมาเล็กน้อย ฯลฯ ทำให้ต้องทำการผ่าฟันคุดออก โดยที่ทันตแพทย์จะทำการปิดเหงือก กรอกระดูก หรือแบ่งฟันเป็นชิ้นๆ รวมถึงเย็บแผลเพิ่มเติม
ถอนฟันคุด
ถอนฟันคุด คือ การถอนฟันออกตามปกติ โดยลักษณะฟันต้องขึ้นพ้นเหงือกแบบเต็มซี่จึงจะใช้วิธีการถอนฟันคุดได้
ผ่าฟันคุด ถอนฟันคุดทำไม
สำหรับสาเหตุที่ต้องทำการผ่าฟันคุด ถอนฟันคุดจะมีอยู่ด้วยกันหลายประการ คือ
- ป้องกันอาการปวดจากการที่ฟันกรามซี่ที่ 3 ขึ้นไม่ได้ หากปล่อยฟันคุดทิ้งไว้นานโพรงไซนัสอาจย้อยต่ำลงมาได้
- ป้องกันฟันข้างเคียงผุจากการที่ฟันคุดมีอาการผุ หรือเกิดจากการทำความสะอาดที่ไม่ทั่วถึง
- ป้องกันการเกิดถุงน้ำหรือเนื้องอกฟันคุด ซึ่งอาจเกิดการทำลายฟันซี่ข้างเคียง และกระดูกรอบๆ ได้
- ป้องกันกระดูกขากรรไกรหัก
- ป้องกันการเกิดฟันซ้อน ฟันเก
- ป้องกันการเกิดเหงือกอักเสบที่ปกคลุมฟัน
- ป้องกันการเกิดโรคปริทันต์
ผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด อันตรายไหม
การผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด ไม่ใช่การทันตกรรมที่อันตรายอย่างที่คิด โดยการผ่าฟันคุด ถอนฟันคุดจะเป็นกระบวนการที่ทำการผ่าเนื้อเยื่อและกระดูกบริเวณช่องปาก หรือทำการถอนฟันตามปกติ ซึ่งอาจเป็นการกระทำที่สร้างความเจ็บปวดได้ แต่ถ้าทำโดยทันทีหลังพบปัญหาของฟันคุด จะช่วยลดความเจ็บปวดและอันตรายได้อย่างมาก
ฟันคุดไม่ผ่าได้ไหม
ไม่ใช่ว่าเป็นฟันคุดแล้วจะต้องทำการผ่าออกทุกซี่ ในบางกรณีก็สามารถทำการถอนออกเหมือนฟันปกติได้ อย่างเช่น ฟันคุดขึ้นโผล่พ้นเหงือกแล้ว แบบนี้ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องถึงขั้นผ่าฟันคุดออก แต่ถ้าหากฟันอยู่ในลักษณะที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติ หรือไม่ได้อยู่ในแนวที่เดียวกับฟันก็จะต้องทำการผ่าฟันคุดออก เพราะการมีฟันคุดอยู่อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะต่างๆ เช่น อาการปวด กระดูกขากรรไกรหัก การเกิดถุงน้ำหรือเนื้องอกฟันคุด ฟันผุ เป็นต้น
ผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด ตอนอายุเท่าไหร่
ช่วงอายุที่เหมาะสมสำหรับการผ่าฟันคุด ถอนฟันคุดจะอยู่ที่ช่วงประมาณ 17-25 ปี เพราะรากฟันจะยังไม่แข็งแรง โดยจะยาวประมาณ ½ – 2/3 ของรากฟัน รวมถึงเป็นช่วงที่กระดูกยืดหยุ่นและนิ่ม จึงจะใช้ระยะเวลาพักฟื้นเร็วกว่าวัยอื่น และผ่าตัดได้ง่ายด้วย
การเตรียมตัวก่อนผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด
ก่อนที่จะผ่าฟันคุด ถอนฟันคุดควรทำการเตรียมตัวให้พร้อมก่อน โดยมีข้อปฏิบัติตัว ดังนี้
- เข้าพบกับทันตแพทย์ก่อนทำการรักษาด้วยการผ่าหรือถอนฟันคุด
อันดับแรกแนะนำให้เข้าพบกับทันตแพทย์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยลักษณะของฟันคุดก่อนว่าควรผ่าหรือถอนออก รวมถึงบอกกับแพทย์ด้วยในเรื่องของโรคประจำตัว เช่น ความดัน และการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาละลายลิ่มเลือด เพื่อให้ทันตแพทย์ประเมินว่าสามารถทำการถอนฟันคุดหรือผ่าฟันคุดได้หรือไม่อย่างไร
- เลือกช่วงเวลาในการถอนหรือผ่าตัดฟันคุดที่เหมาะสม
ควรปรึกษาทันตแพทย์เรื่องวันเข้ารับการรักษาฟันคุดที่เหมาะสม เพื่อให้มีเวลาพักฟื้นเพิ่มเติมมากขึ้น เนื่องจากหลังจากทำการผ่าหรือถอนอาจทำให้เกิดอาการปวดตามมาได้
- เตรียมร่างกายให้พร้อม
หากฟันคุดของคุณจำเป็นต้องรับการผ่าตัดควรเตรียมร่างกายให้พร้อม เช่น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ, รับประทานอาหารให้เรียบร้อยพออิ่มท้อง, แปรงฟันให้สะอาด, งดการสูบบุหรี่, งดการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
ขั้นตอนการผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด
- ทำการตรวจสอบลักษณะของฟันด้วยการ X-ray เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม
- ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาก่อนทำการถอนหรือผ่าเพื่อลดอาการปวดที่เกิดขึ้น
- การทำการผ่าฟันคุด ถอนฟันคุดด้วยการใช้เครื่องมือพิเศษที่ช่วยให้สามารถผ่าเนื้อเยื่อและกระดูกบริเวณช่องปากได้ แต่ถ้าหากว่าฟันอยู่ในแนวระนาบอาจต้องทำการการกรอฟันและค่อยๆ เอาฟันออกมาด้วย
- การทำความสะอาดแผล ทันตแพทย์จะใช้น้ำเกลือสำหรับทำความสะอาดปากและบาดแผล
- ทำการเย็บแผลให้เรียบร้อย เพื่อให้แผลปิดสนิทและอยู่กับที่
- ทำการกัดผ้าก๊อซให้แน่นๆ ประมาณ 2-3 ชั่วโมง จนกว่าเลือดจะหยุดไหล
- ทันตแพทย์จะทำการแนะนำการดูแลตัวเองหลังการผ่าตัดฟันคุด ถอนฟันคุดให้เพิ่มเติมด้วย
การดูแลหลังผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด
หลังจากที่ผ่าฟันคุด ถอนฟันคุดเสร็จแล้ว จะต้องปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของทันตแพทย์ ดังนี้
- หากเลือดไม่หยุดไหลให้ทำการกัดผ้าก๊อซจนกว่าเลือดจะหยุดไหล ถ้ายังมีเลือดออกให้เปลี่ยนผ้าก๊อซชิ้นใหม่เพื่อความสะอาด
- หลีกเลี่ยงการอมน้ำแข็ง อมน้ำ อมเลือดหรือบ้วนน้ำลาย เพราะจะทำให้เลือดไหลเยอะขึ้น
- ควรรักษาแผลให้สะอาดโดยการใช้น้ำเกลือสำหรับทำความสะอาดปากและบาดแผล
- หลีกเลี่ยงการใช้ฟันที่อยู่ใกล้เคียงกับแผล
- ใช้ยาปิดแผลจะช่วยให้แผลหายได้เร็วขึ้น
- งดสูบบุหรี่
- แปรงฟันได้ตามปกติแต่งดแปรงบริเวณใกล้กับแผล
- หากมีเลือดออกมากกว่าปกติหรือปวดมากให้ไปพบทันตแพทย์ทันที
หลังผ่าฟันคุด ถอนฟันคุดกินอะไรได้บ้าง
หลังจากที่ผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด เสร็จแล้วในช่วง 2-3 วันแรกควรรับประทานอาหารอ่อนๆ อย่างอาหารเหลว อาหารที่เคี้ยวง่าย ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป เช่น
- ข้าวต้ม ซุป แกง หรือโจ๊ก
- ผักที่ต้มสุกแล้ว
- เนื้อสัตว์ที่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ และทำให้สุกจนนิ่มเคี้ยวง่าย
- เนื้อสัตว์เล็ก สัตว์น้ำที่มีความนิ่ม เช่น ปลา
หลังผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด ห้ามกินอะไรบ้าง
หลังจากที่ผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด เสร็จแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่เป็นกรด อาหารเหนียวและแข็ง อาหารเผ็ด อาหารรสจัด รวมถึงห้ามดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้เลือดออกมากยิ่งขึ้น
ผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด ราคาเท่าไหร่
ราคาการผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ประเภทของฟันคุด ระดับความยากของการผ่าฟันคุด โดยราคาถอนฟันคุด จะเริ่มต้นที่ 1,000 – 2,000 บาท ส่วนราคาผ่าฟันคุด จะอยู่ที่ 3,500 – 6,000 บาท
ฟันคุด ถอนฟันคุด ใช้ประกันสังคมได้ไหม
โดยปกติแล้วผู้ประกันตนมีสิทธิ์ได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง 900 บาทต่อปีแบบไม่ต้องสำรองจ่าย จึงสามารถใช้เงินส่วนนี้ในการรักษาฟันคุดได้ด้วย
ผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด ที่ไหนดี
- เลือกทำกับสถานพยาบาลที่มีทันตแพทย์เฉพาะทาง เพราะหากทำการถอนหรือผ่าฟันคุดผิดพลาดอาจกระทบกับเส้นประสาทจนทำให้เกิดการชาได้ จึงควรเลือกทำกันคลินิกที่มีทันตแพทย์ที่เชี่ยวชาญโดยตรง
- คลินิกที่เลือกควรมีมาตรฐานได้รับความน่าเชื่อถือ รวมถึงมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย
- มีค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผล ไม่ถูกจนน่าสงสัยหรือแพงเกินไป
- ควรเลือกคลินิกที่สามารถเดินทางไปได้สะดวก
อาการข้างเคียงหลังผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด
หลังผ่าฟันคุด ถอนฟันคุดอาจมีอาการบวม อาการปวด และเลือดออกมากหรือน้อย ซึ่งเป็นอาการปกติของการผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด แต่สำหรับใครที่กังวลเรื่องผลข้างเคียงที่มากกว่านั้น การผ่าฟันคุดนั้นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นที่เกิดขึ้นได้อยู่เหมือนกัน เช่น การติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัดโดยอาจเกิดจากเศษอาหารที่เข้าไปติด การทำความสะอาดที่ไม่ทั่วถึง หรือแบคทีเรียที่อยู่ในช่องปาก เป็นต้น
อาการผิดปกติหลังผ่าฟันคุด ถอนฟันคุดที่ควรพบแพทย์
สำหรับใครที่ผ่าฟันคุดหรือถอนฟันคุดแล้วควรสังเกตตัวเองว่ามีอาการผิดปกติดังนี้หรือไม่ หากมีควรรีบไปพบทันตแพทย์ เช่น
- มีอาการเลือดออกมากผิดปกติ หรือเลือดออกไม่หยุด
- มีอาการชา เจ็บจี๊ด หรือบวมไม่หาย
- มีอาการขากรรไกรแข็ง อ้าปากได้ลำบาก
- มีอาการหน้าเบี้ยว นานกว่า 2 สัปดาห์
ผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด กี่วันหายบวม
ระยะเวลาในการฟื้นตัวปกติจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 วัน หรือถ้านานหน่อยก็ไม่เกิน 2 สัปดาห์ ส่วนใครที่ต้องทำการกรอกระดูกอาจต้องรอ 1 – 2 เดือน เพื่อรอให้แผลกลับมาปิดสนิทเป็นปกติ
ผ่าฟันคุด ถอนฟันคุดแล้วหน้าบวม
หากทำการผ่าฟันคุด ถอนฟันคุดแล้วหน้าบวม หรืออ้าปากได้น้อยลง สามารถรับประทานยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะที่ทันตแพทย์จัดให้เพื่อบรรเทาอาการได้
ผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด เจ็บไหม
ในขั้นตอนการผ่าหรือถอนฟันคุดคนไข้จะไม่ได้รู้สึกถึงความเจ็บ เพราะทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาให้ แต่หลังจากที่ยาชาหมดฤทธิ์ อาจมีอาการปวดอยู่ประมาณ 2 – 3 วัน หลังจากนั้นจะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ
ฟันคุดโผล่ไม่ปวดต้องผ่าหรือถอนไหม
ฟันคุดส่วนใหญ่มักมีความจำเป็นต้องถอนหรือผ่าออก ไม่ว่าจะปวดหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพภายในช่องปากอื่นๆ ตามมา เช่น ฟันผุ การอักเสบของเหงือก ทำให้ฟันเคลื่อนที่ไปในทางที่ดีขึ้น เป็นต้น
ผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด เลือดไหลไม่หยุดทำยังไง
ห้ามอมน้ำแข็ง บ้วนน้ำลาย แต่ให้ใช้ห่อน้ำแข็งประคบนอกปากในบริเวณที่ทำการถอนหรือผ่าตัดแทน หลังจากนั้น 1 วันอาจใช้น้ำเกลืออุ่นบ้วนเบาๆ เพื่อทำความสะอาดเพิ่มเติม แต่ถ้าเลือดยังไม่หยุดไหล หรือยังมีเลือดซึมตลอดเวลาติดต่อกัน แนะนำให้กลับไปพบกับทันตแพทย์ทันทีเพื่อดูอาการ