การรักษารากฟัน คืออะไร สาเหตุ อาการ วิธีการรักษา การเตรียมตัว ราคาเท่าไหร่ 2024

การรักษารากฟัน คืออะไร สาเหตุ อาการ วิธีการรักษา การเตรียมตัว ราคาเท่าไหร่ 2023

รักษารากฟัน

รักษารากฟัน ( Root canal treatment ) ก่อนฟันจะหายไป ปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน เป็นปัญหาใหญ่ที่คุณไม่ควรละเลย

โดยเฉพาะอาการปวดฟัน เสียวฟัน ที่ส่งผลให้เกิดฟันผุ เมื่อไม่ยอมเข้ารับการรักษา หรือทำการอุดฟัน ปล่อยปละละเลยให้ฟันผุ ฟันแตกเรื้อรัง อาจต้องทำการรักษารากฟัน เพราะฟันผุรุนแรงกระทั่งทะลุไปถึงโพรงประสาท เกิดการอักเสบและมีฝีรากฟันเป็นหนอง มีอาการปวดทรมาน จนไม่สามารถรักษาด้วยการอุดฟันได้อีกแล้ว

อีกทั้งยังอาจลุกลามไปสู่ฟันซี่อื่นๆ และสุดท้ายคุณอาจต้องสูญเสียฟันซี่นั้น หรือซี่ข้างเคียงไปเลยทีเดียว

เลือกหัวข้ออ่านการรักษารากฟัน

การรักษารากฟัน คืออะไร ?

การรักษารากฟัน ( Root canal treatment ) คือ ขบวนการกำจัดเชื้อจุลชีพที่อยู่ในโพรงประสาทฟัน หรือเนื้อเยื่อขนาดเล็ก ที่อยู่ใจกลางฟัน อันเป็นเหตุให้เกิดการติดเชื้อ อักเสบ ของโพรงเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน หากโพรงประสาทฟันบางส่วนถูกทำลายจะต้องทำการเอาออกเพื่อรักษาและทำความสะอาดส่วนที่เหลือให้ปราศจากเชื้อโรค และทำการซ่อมแซม อุดคลองรากฟันและบูรณะตัวฟัน เพื่อคืนความแข็งแรงและสวยงาม ให้ฟันกลับมาใช้งานได้ตามปกติ การรักษารากฟัน เป็นวิธีที่ช่วยให้คุณไม่จำเป็นต้องถอนฟันออกไป ซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถช่วยรักษาฟันไว้ได้

การรักษารากฟัน-คืออะไร

ภาพประกอบ : การรักษารากฟัน

โพรงประสาทฟัน คืออะไร

โพรงประสาทฟัน คือชั้นที่อยู่ด้านในสุดของฟัน ที่ประกอบด้วย เส้นประสาทของฟัน เส้นเลือดที่มาเลี้ยง รวมถึงท่อน้ำเหลือง ทำให้เมื่อมีฟันผุลุกลามมาในชั้นโพรงประสาทฟัน จึงทำให้เกิดการอาการปวดฟันที่ค่อนข้างรุนแรง ซึ่งถ้ามีการติดเชื้อลุกลามมากขึ้น เชื้อโรคจะกระจายลงสู่ปลายรากฟัน และทำให้รากฟันอักเสบ

โพรงประสามฟัน

ภาพประกอบ : โพรงประสาทฟัน

การรักษารากฟันแตกต่างจากการถอนฟันอย่างไร

การรักษารากฟันสามารถเก็บรักษาฟันเดิมของคุณเอาไว้ใช้งานได้ต่อไปได้ โดยดีกว่าการถอนฟันแล้วเลือกวิธีการใส่ฟันปลอม เพราะฟันที่รักษารากแล้วจะมีคุณสมบัติเหมือนฟันในปากซี่อื่นๆ คือ มีเบ้ากระดูกยึดให้ฟันแน่นมั่นคงแข็งแรง และให้ความรู้สึกที่ดีกว่าการใส่ฟันปลอม สามารถใช้งานได้ สะดวกเป็นธรรมชาติ

ทำไมต้องรักษารากฟัน

ทำไมต้องรักษารากฟัน

เมื่อทันตแพทย์ตรวจแล้วพบว่ายังสามารถทำการรักษารากฟัน ได้โดยที่ไม่ต้องถอนออก ก็จะแนะนำให้คุณ รักษารากฟัน ซึ่งประโยชน์ของขบวนการรักษารากฟันจะช่วยให้การเคี้ยวกลับมามีประสิทธิภาพที่ดีเหมือนเคย สามารถใช้ฟันกัดอาหารได้อย่างปกติ ลักษณะรูปร่างของฟันกลับมาสวยงาม ที่ สำคัญที่สุดคือปัญหาสุขภาพฟันไม่ลุกลามป้องกันไม่ให้ฟันซี่อื่นถูกทำร้ายไปด้วย

สาเหตุหลักการเกิดปัญหาที่รากฟัน

  • ฟันผุมาก
  • มีปัญหาโรคเหงือก
  • ฟันได้รับการกระทบกระแทก จนทำให้ฟันแตกหัก จนถึงโพรงประสาทฟัน
  • นอนกัดฟันรุนแรง
  • มีพฤติกรรมการเคี้ยวที่ค่อนข้างรุนแรง การกัดเค้นฟัน หรือใช้ฟันรุนแรง นับเป็นการไปรบกวนโพรงประสาทฟัน ส่งผลให้ฟันมีอาการร้าว จนกระทั่งเชื้อโรคสามารถแทรกซึมข้าไปในส่วนของโพรงประสาทฟันได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะอาการเกิดปัญหารากฟัน

ลักษณะอาการเกิดปัญหารากฟัน

เมื่อเกิดปัญหาผิดปกติที่รากฟัน มักมีสัญญาณเตือนด้วยอาการ เจ็บเวลา เคี้ยวหรือกัดอาหาร มีอาการเสียวฟันเมื่อดื่มเครื่องดื่มร้อนหรือเย็น รู้สึกฟันหลวมหรือโยก ที่เป็นเช่นนี้ เพราะรากฟันถือเป็นส่วนหนึ่งในอวัยวะในช่องปากที่สำคัญมาก ฟันแต่ละซี่จะประกอบไปด้วยโพรงประสาทฟัน (Pulp chamber)

ซึ่งเป็นส่วนที่รับสัญญาณความรู้สึก เมื่อโพรงประสาทฟันหรือ คลองรากฟันเกิดการติดเชื้อ จะทำฟันซี่นั้นตายไป จึงเกิดอาการแสดงดังที่กล่าวมาข้างต้น รวมไปถึง ในบางรายอาจมีอาการหน้าบวม มีน้ำหนองไหลจากฟันที่ติดเชื้อ รากฟันเป็น หนอง หรือมีตุ่มหนองขึ้นบนเหงือก สีของฟันคล้ำลง ได้อีกด้วย

หนองปลายรากฟัน

หนองปลายรากฟัน เกิดได้อย่างไร

อาการสัญญาณเตือนรุนแรง ที่บ่งบอกได้ว่ารากฟันของคุณกำลังมีปัญหาหนัก คือ เกิดหนองที่ปลายรากฟัน ซึ่งอาจมีหนองไหลออกมาให้เห็น หรือพบได้ จากการ x-ray เห็นเป็นลักษณะเงาดำที่ปลายรากฟัน นั้นหมายถึงว่ามีเชื้อโรคลุกลาม ไปจนกระทั่งทำลายส่วนของเนื้อเยื่อทั้งโพรงประสาทฟันแล้ว

ซึ่งลักษณะนี้ทันตแพทย์จะไม่สามารถ อุดฟัน ได้อย่างเดียว ต้องรักษารากฟันให้เรียบร้อยเสียก่อน

ทั้งนี้การพบหนองที่ปลายรากฟันเกิดขึ้นได้จากการที่คุณปล่อยให้เกิดฟัน ผุเป็นระยะเวลานาน โดยที่ไม่ได้รับการรักษา จนมีการอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณ รอบปลายรากฟัน ซึ่งจะมีอาการปวดฟันเวลาเคี้ยว หรือเมื่อฟันกระทบกัน บางรา ยอาจมีอาการบวมหรือตุ่มหนองบริเวณเหงือกหรือเพดานเกิดขึ้นร่วมด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

ถ้าไม่ปวดฟัน เพราะอะไรถึงต้องรักษารากฟัน

บางครั้งปัญหารากฟันอักเสบ จากภาวะฟันผุ หรือแตก มานาน อาจไม่ส่งผลให้เกิดอา การเจ็บปวด หรืออาจเคยปวดแต่หายแล้ว แต่ว่าการดำเนินของโรคก็ยังคงอยู่ มีโอกาสที่จะกลับมาปวดอีกครั้งหรือมีการติดเชื้อมากกว่าเดิม เพราะรากฟันเองยังไม่ได้รับการแก้ปัญหา ซึ่งเมื่อทำการ x-ray และพบว่ามีหนองในรากฟัน ดังนั้นเมื่อตรวจพบควรรีบทำ การรักษารากฟันทันที เพื่อลดการสูญเสียฟัน

ประเภทของการรักษารากฟัน

ประเภทของการรักษารากฟัน

การรักษารากฟันแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักคือ

1. การรักษารากฟันด้วยวิธีปกติ

ทันตแพทย์ตรวจวัดความยาวของ คลองรากฟัน โดยการถ่ายเอกซเรย์แล้วจะใช้ File ขนาดเล็กเพื่อรักษารากฟัน และทำความสะอาดภายในคลองรากฟันเพื่อขจัดเนื้อเยื่อที่มีปัญหาและแบคทีเรีย

หลังจากนั้นจะใช้วัสดุอุดคลองรากฟัน ( Gutta percha ) โดยที่ฟันจะไม่ถูกอุดอย่างถาวรจนกว่าจะขจัดจนปลอดเชื้อในโพรงประสาทและคลองรากฟัน

2. การรักษารากฟันด้วยวิธีการผ่าตัดปลายรากฟัน

วิธีการนี้จะเลือกใช้ เมื่อวิธีที่หนึ่งล้มเหลว โดยจะทำการผ่าตัดเข้าไปที่ตำแหน่งปลายรากฟันที่เป็น หนองทำการตัดปลายรากฟันออกบางส่วน ซึ่งปัจจุบันมีกล้องจุลศัลยกรรมที่ช่วย เพิ่มกำลังขยายในการมองเห็นคลองรากฟันที่มีขนาดเล็กให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ทันตแพทย์สามารถมองเห็นได้ชัดเจนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงเพิ่ม ผลสำเร็จในการรักษารากฟันให้สูงขึ้นด้วยหลังจากนั้นทำการอุดวัสดุเข้าไปใน ส่วนปลายรากฟันที่ทำความสะอาดไว้

โดยวัสดุนี้จะไม่เป็นพิษต่อเนื้อเยื่อ และทำให้เกิดการหายของเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟันขึ้น

การเตรียมตัวก่อนรักษารากฟัน

การเตรียมตัวก่อนรักษารากฟัน

  • ก่อนอื่นเมื่อพบทันตแพทย์ และได้รับการวินิฉัยว่ามีฟันผุทะลุโพรงประสาทต้องรักษารากฟัน คุณหมอจะส่งคุณหมอที่ทำครอบฟันว่าซี่ดังกล่าวสามารถทำครอบได้หรือไม่ เพราะถ้าทำครอบฟันไม่ได้ การรักษารากฟันอาจไม่มีความหมาย
  • โดยทั่วไปจะใช้ 2 ครั้งในการรักษารากฟัน
    • ครั้งแรก คือ การทำความสะอาดโพรงประสาทฟันและรากฟัน โดยการขยายขนาดของบริเวณคลองรากฟัน รวมถึงใช้น้ำยาทำความสะอาดเพื่อกำจัดเชื้อโรค
    • ครั้งที่สอง คือ เมือโพรงประสาทฟันและรากฟันสะอาดปราศจากเชื้อโรค คุณหมอจะอุดคลองรากฟัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และถ้าเป็นไปได้คุณหมอจะทำเดือยฟัน (core build up) เพื่อเป็นแกนกลางในการเสริมสร้างความแข็งแรงของการทำครอบฟันต่อไป

วิธีการรักษารากฟัน

  1. การรักษารากฟัน ทันตแพทย์จะทำร่วมกับการฉีดยาชา จะใช้แผ่นยางบางๆ เพื่อแยกฟัน (Rubber dam) ที่มีปัญหาออกจากฟันอื่น
  2. หลังจากนั้นทันตแพทย์จะเอาฟันผุโดยเอาส่วนที่เสียหายออกกำจัดเนื้อฟันที่อักเสบหรือติดเชื้อออกจนถึงส่วนโพรงประสาทฟัน
  3. ทำความสะอาดรากฟัน และใส่ยาลง ไปในคลองรากฟัน
  4. ปิดรากฟันด้วยวัสดุอุดชั่วคราว เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ
การรักษารากฟัน-ขั้นตอนที่-1
การรักษารากฟัน-ขั้นตอนที่-2
การรักษารากฟัน-ขั้นตอนที่-3
การรักษารากฟัน-ขั้นตอนที่-4

อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษารากฟัน ในบางรายไม่ได้จบในครั้งเดียวจำเป็นต้องใช้เวลาหลายครั้งในการทำความสะอาด รวม ถึงเปลี่ยนยาในคลองรากฟันเพื่อฆ่าเชื้อจนกว่าการติดเชื้อ หรือการอักเสบจะหายเป็นปกติ

เมื่อพบว่า ไม่เกิดการอักเสบแล้ว ทันตแพทย์ก็จะอุดปิดคลองรากฟัน และใส่เดือยฟัน เพื่อเป็นแกนเสริมสร้างความแข็งแรง เพื่อการทำ ครอบฟัน ซึ่งเป็นขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้อาจต้องขึ้นกับสภาพเนื้อฟันที่เหลืออยู่มาร่วมพิจารณา

รักษารากฟัน กี่วันหายปวด

บางครั้งทันตแพทย์อาจสามารถรักษารากฟันเสร็จได้ในครั้งเดียว ในกรณีที่การติดเชื้อไม่ ลุกลามรุนแรง หากไม่มีอาการอื่นๆแทรกซ้อน ใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 2-3 สัปดาห์ จึงจะหายปวด และกลับมาเป็นปกติครับ

รักษารากฟัน กี่วันเสร็จ ใช้เวลาไหนไหม

โดยมากใช้เวลา 2 ครั้งในการมาพบทันตแพทย์ ห่างกัน 1-2 สัปดาห์ ขึ้นกับสภาพการติดเชื้อของฟันซี่นั้นว่ามากน้อยเพียงใด บางกรณีที่มีการติดเชื้อหรือหนองปลายรากมาก อาจต้องใช้เวลามารักษามากกว่านั้น 

บางกรณีเชื้อโรคยังไม่ลงบริเวณปลายรากมากนัก อาจใช้เวลารักษาแค่วันนั้นวันเดียว

ภายหลังการรักษารากฟัน ทำไมต้องใช้ที่ครอบฟันอีก

หลังจากทำการรักษารากฟัน ทันตแพทย์มักทำครอบฟันให้เพื่อป้องกันการแตกหักของตัวฟัน เนื่องจากการักษารากฟันมีความซับซ้อน และไม่ได้เสร็จสิ้นในครั้งเดียว ดังนั้นจึงใส่ที่ครอบฟันไว้เพื่อ ปกป้องกันการแตกของฟัน โดยสามารถเลือกประเภทครอบฟันได้ตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นโลหะ เซรามิก หรือ เซอร์โคเนีย

รักษารากฟัน ราคา

ราคารักษารากฟัน
รักษารากฟันหน้า 5,000-7,000 บาท
รักษารากฟันกรามน้อย 8,000-9,000 บาท
รักษารากฟันกราม 10,000-12,000 บาท

วิธีการรักษารากฟัน เป็นวิธีการที่ค่อนข้างยุ่งยากและสลับซับซ้อน และยังต้องใช้ระยะเวลา ดังนั้น ค่าใช้จ่ายอาจจะเพิ่มมากขึ้นตามอาการของปัญหาฟัน โดยทั่วไปราคาทำรากฟันชนิดฟันกรามจะมีค่าใช้ จ่ายที่สูงกว่าฟันซี่อื่นๆ จำเป็นต้องทันแพทย์ประเมินค่าใช้จ่ายเป็นรายๆ ไป 

ขึ้นอยู่กับความยากง่าย (ฟันหน้า ฟันกรามน้อย ฟันกรามใหญ่) ต้องใส่เดือยฟันหรือไม่ ต้องทำครอบฟันหรือไม่ หรือดูอัตราค่าบริการที่ Smile And Co เพิ่มเติมได้ที่ อัตราค่าบริการรักษารากฟัน

รักษารากฟันที่ไหนดี

แนะนำเป็นที่ที่มีคุณหมอเฉพาะทางด้านรักษารากฟัน และคุณหมอเฉพาะทางด้านครอบฟัน ที่สำคัญคือเรื่องการพยากรณ์ของฟันซี่นั้น ( prognosis ) ว่ารักษาแล้วเป็นอย่างไรบ้าง เพราะถ้าการพยากรณ์ของฟันซี่นั้นไม่ดีและฝืนทำไป ฟันซี่ดังกล่าวก็อาจต้องโดนถอนได้ การปรึกษากับคุณหมอจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

อาการหลังรักษารากฟัน มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง ?

หลังจากรักษารากฟันเสร็จใหม่ ๆ คนไข้จะมี อาการหลังรักษารากฟัน คือ เจ็บ ในช่วง 2-3 วันแรก อาจร่วมกับการบวมของเหงือกด้วยแต่อาการเจ็บจะค่อยๆ ทุเลาและจางหายไปเอง สามารถบรรเทาได้ด้วยยาระงับปวดทั่วไป

อีกกรณีคือมีอาการปวดหลังการรักษา ซึ่งเกิดจากคลองรากฟันยังไม่สะอาดแล้วอุด ขยายคลอง รากฟันไม่หมดหรือฟันแตก การรักษาอาจต้องมีการรื้อและรักษาใหม่

การดูแลหลังรักษารากฟัน

การดูแลรักษาหลังการรักษารากฟัน

ภายหลังการรักษารากฟัน ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำในการฏิบัติตัว แนะนำว่าควรปฎิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของตัวท่านเอง ในการรักษารากฟันที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้ งานได้ยืนยาว ดังนี้

  1. ไม่ควรรับประทานอาหารในทันที่ ควรงดรับประทานอาหารจนกว่าอาการ ชาที่ใช้จะหมดไป ป้องกันการกัดลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม
  2. ควรระมัดระวังในการใช้งานซี่ฟันที่รักษารากฟัน งดเคี้ยวหรือกัดอาหา รด้วยฟันซี่ที่รักษารากฟัน อาจทำให้ฟันแตกหรือหักได้
  3. ในกรณีที่วัสดุอุดฟันชั่วคราวเกิดหลุด ให้กลับมาพบทันตแพทย์ทันที เพื่อ ป้องกันโรคในช่องปากที่สามารถเขาสู่ภายในคลองรากฟันได้
  4. ควรมาตามนัดแพทย์ เพื่อลดโอกาสเสี่ยงถอนฟันซี่นั้นออกในอนาคต หากละเลย

คำถามการรักษารากฟันที่พบบ่อย

รักษารากฟันเจ็บไหม ?

การรักษารากฟัน เจ็บ แน่นอน เพราะฟันทุกซี่ซึ่งมีรากฟัน มีเส้นประสาท และเส้นเลือดในการหล่อเลี้ยง ฟัน แต่อาการเจ็บมากเจ็บน้อยแต่คนต่างกันขึ้นอยู่กับจำนวนซี่ และลักษณะซี่ฟัน แต่ในขบวนการรักษารากฟัน มีการฉีดยาชาเข้าร่วมในระหว่างการรักษาอยู่แล้ว จึงไม่รู้สึกเจ็บระหว่างการรักษา อาจจะรู้สึกตึงๆ บ้างระหว่างทำ

รักษารากฟันจัดฟันได้ไหม

จัดได้ตามปกติ และควรต้องรีบรักษารากฟันให้เสร็จก่อนถึงจะเริ่มจัดฟันได้ เพราะถ้าฟันซี่นั้นมีการติดเชื้อ และได้รับการจัดฟัน การเคลื่อนฟัน ยิ่งจะส่งผลเสียต่อฟันซี่นั้นมากยิ่งกว่าเดิม

ถอนฟันทิ้ง แทนการรักษารากฟันดีกว่าไหม

ฟันแท้ถือเป็นสิ่งมีค่า และมีความมั่นคงแข็งแรง ใช้งานได้อย่างเป็นตามธรรมชาติ ไม่มีฟันเทียม ชนิดใดดีไปกว่าฟันแท้ของตัวคุณเอง ดังนั้นหากเกิดปัญหาสุขภาพฟันและการรักษารากฟันยังสามารถ ยังคงฟันแท้ของคุณได้ นั้นเป็นที่สิ่งที่เราอยากแนะนำ เพราะการถอนฟันทิ้งไปเลยไม่ใช่การจบปัญหาเพราะยังมีปัญหาของช่องว่างระหว่างฟันที่ส่งผลให้เกิดความล้ม ฟันเอียงตามมาได้ มีปัญหาของโรค เหงือกและปัญหาการบดเคี้ยวตามาให้แก้ไข ไม่รู้จบ

รักษารากฟันแล้วทำไมต้องกลับมาหาทันตแพทย์

โดยปกติเราควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพฟัน การรักษารากฟันซี่นั้นหายแล้ว แต่ปัญหาสุขภาพในช่องปากยังไม่หมดไป

เพื่อป้องกันจากฟันผุและโรคเหงือก และลดความเสี่ยงที่จะต้องกลับไปรักษารากฟันอีกครั้ง จึงควรพบทันตแพทย์สม่ำเสมอ

อย่างไรก็ตามเพื่อให้สุขภาพฟันของคุณสามารถคงอยู่ได้อย่างยาวนาน

ควรให้ความสำคัญกับ สุขภาพช่องปากและฟัน แปรงฟันสม่ำเสมอ หากพบความผิดปกติควรรักษาทันที ลด ละอาหารที่ก่อให้ เกิดฟันผุ เช่น ของหวาน น้ำอัดลม และเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำร้ายฟัน เช่น กัดของแข็ง ใช้ฟันดึงสิ่งของ

มิเช่นนั้นคุณอาจะทำการักษาฟันและ รักษารากฟัน บ่อยๆ หากดูแลรักษาอย่างดีจะสามารถยืดอายุ การใช้งานของฟันได้อีกยาวนาน

แหล่งอ้างอิง : ข้อมูลการรักษารากฟัน โดย มหาวิทยาลัยมหิดล คณะทันตแพทย์ศาสตร์

Line chat facebook chat call to clinic

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า