ฟันหัก หรือ Broken Tooth เป็นสิ่งที่ถึงแม้ส่วนใหญ่จะพบได้มากในเด็ก หรือวันรุ่น เพราะเป็นวัยที่ชอบวิ่งเล่นจนมักจะได้รับแรงกระแทกบริเวณปากอยู่บ่อยครั้ง แต่ทุกวัยก็อาจประสบพบเจอปัญหาฟันหักจากปัจจัยต่าง ๆ ได้เช่นกัน ซึ่งฟันหัก หรือฟันแตกนั้นก็จะมีระดับความรุนแรง แต่ละระดับก็จะมีวิธีรักษาแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับขนาดฟันที่หักหรือแรงกระทบที่ได้รับ
หลาย ๆ คนเมื่อฟันหักอาจจะปล่อยทิ้งไว้เนื่องจากดูไม่ส่งผลอะไรต่อร่างกาย หรือคิดว่าเป็นการยากที่จะทำให้ฟันที่หักนั้นกลับมาสมบูรณ์เหมือนเดิมได้ และยิ่งเมื่อเป็นฟันน้ำนมที่หักในเด็กนั้นอาจดูไม่เป็นไร เพราะสุดท้ายเมื่อฟันน้ำนมหลุด ก็จะมีฟันแท้ขึ้นมาแทนที่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ควรไปตรวจเผื่อว่าจะมีผลกระทบที่มองไม่เห็นภายในอยู่ด้วยถ้าไม่ใช่การหลุดของฟันโดยธรรมชาติ
เช่นกันกับทุกวัย เมื่อฟันหักไม่ควรวางใจ เพราะดูเพียงผิวเผินอาจมีแค่ฟันหัก แต่การกระแทก หรือการเสื่อมสภาพใด ๆ ที่ส่งผลให้ฟันหัก ก็สามารถส่งผลไปถึงระบบภายในช่องปากซึ่งจะแสดงอาการต่าง ๆ ออกมาภายหลัง ซึ่งมีรูปแบบและระดับความรุนแรงอย่างไรนั้น ลองมาตรวจเช็กกัน
ฟันหัก เป็นอย่างไร เกิดจากอะไรได้บ้าง?
ฟันหัก แบ่งออกได้เป็นตามตำแหน่งของฟัน ได้แก่ ฟันหน้า และฟันกราม ส่วนใหญ่มักจะหักทั้งซี่ เหลือเพียงรากฟัน ในบางกรณีก็หักครึ่งซี่ หรือบางส่วนของฟันก็ได้เช่นกัน ซึ่งฟันหักมีสาเหตุปัจจัยเกิดขึ้นได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการได้รับอุบัติเหตุ ฟันเสื่อมสภาพ หรือการนอนกัดฟัน เป็นต้น การหักของฟันแต่ละตำแหน่งก็มักจะมีปัจจัยในการเกิดแตกต่างกัน
ฟันกรามหัก
ฟันกรามหัก ส่วนใหญ่มักเกิดจากการเคี้ยวของแข็ง ฟันผุ หรือนอนกัดฟัน เนื่องจากเป็นส่วนที่ใช้ในการเคี้ยวอาหารมากกว่าบริเวณฟันหน้า ก็จะทำให้ได้รับสิ่งกระตุ้นในการสึกหรอของฟันได้มากกว่า รวมถึงเมื่อชั้นเคลือบฟันเริ่มเสื่อมสภาพ โอกาสที่ฟันจะหักก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน โดยรูปแบบของฟันกรามที่หักนั้น มักจะเป็นฟันหักหรือแตกในระดับชั้นเคลือบฟัน หรือแตกครึ่งซี่ ซึ่งในบางกรณีก็สามารถส่งผลกระทบไปถึงรากฟันและโพรงประสาทฟันได้
ฟันหน้าหัก
ฟันหน้าเป็นส่วนที่ใช้ในการกัดฉีกเมื่อรับประทานอาหาร โอกาสที่จะทำให้ฟันหน้าหักก็มักจะเป็นการใช้แรงกัดของแข็ง ได้รับการกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ เช่น หกล้ม หรือการรับประทานอาหารที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ฟันปรับสภาพไม่ทันจนเกิดรอยร้าว และทำให้ฟันมีการหักในภายหลัง
ระดับความรุนแรงของฟันหัก
เมื่อฟันหัก ทันตแพทย์จะประเมินระดับความรุนแรงเพื่อวางแผนการรักษา โดยขั้นตอนและวิธีการรักษาก็จะขึ้นอยู่กับการประเมินของทันตแพทย์ และระดับความรุนแรง โดยสามารถแบ่งความรุนแรงของฟันหักตามระดับได้ ดังต่อไปนี้
ฟันหัก ฟันแตกเล็กน้อย
ฟันแตกหรือหักเล็กน้อย จะมีลักษณะเป็นเหมือนรอยร้าวอยู่บริเวณชั้นเคลือบฟัน ระดับความรุนแรงน้อย เพราะไม่ส่งผลกระทบถึงรากฟันและโพรงประสาทฟัน
ฟันหักครึ่งซี่ถึงเนื้อฟัน
ฟันหักครึ่งซี่ถึงเนื้อฟัน ความรุนแรงอยู่ในระดับเล็กน้อย อาจทำให้เกิดอาการเสียวฟันได้จากการดื่มเครื่องดื่มที่เย็นหรือร้อนจัด รวมถึงการเคี้ยวน้ำแข็งต่าง ๆ เพราะเส้นประสาทจะได้รับของเหลวและการกระทบโดยตรง
ฟันหักเหลือแต่ราก
ฟันหักเหลือแต่รากนั้นจะมีความรุนแรงค่อนข้างมาก ขึ้นอยู่กับความเสียหายของฟันและอาการของผู้ป่วย รูปแบบการรักษาก็จะแตกต่างกันไปด้วย
ฟันหัก ฟันแตกลึกถึงโพรงประสาทฟัน
ฟันหักลึกจนถึงโพรงประสาทฟัน มีระดับความรุนแรงมาก ควรรีบมาตรวจรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้จนโพรงประสาทฟันเสียหาย หรือมีภาวะฟันตาย ก็จะบูรณะให้ฟันเดิมกลับมาสมบูรณ์ได้ยาก ในกรณีที่ประเมินว่าไม่สามารถรักษาฟันเดิมได้ ก็จะมีการถอนฟันและทำการรักษาในขั้นตอนถัดไป
เมื่อฟันหัก ควรทำอย่างไร?
ทำอย่างไรเมื่อฟันหัก ในเบื้องต้นนั้นมีข้อควรปฏิบัติเมื่อรู้ตัวว่าฟันหัก ดังนี้
- หากฟันหักแบบมีเศษหรือหลุดออกมาทั้งซี่ ให้เก็บฟันไว้ หรือแช่ไว้ในน้ำนม น้ำเกลือ หรือน้ำดื่มสะอาดเพื่อรักษาชั้นเคลือบฟัน
- ทำความสะอาดช่องปากด้วยน้ำเปล่า ไม่ให้มีเศษอาหารในช่องปากหรือบริเวณซอกฟันเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ
- หลีกเลี่ยงการจับหรือสัมผัสบริเวณที่ฟันหลุดหรือหักออกมา
- กรณีที่มีเลือดไหล ให้ใช้ผ้าก๊อซห้ามเลือด หากมีอาการปวดร่วมด้วยสามารถรับประทานยาแก้ปวดได้
- รีบไปพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุด
วิธีบูรณะฟันหลังฟันหัก
ต่อฟันหัก
หากฟันหักเพียงเล็กน้อย มีรอยร้าวบริเวณชั้นเคลือบฟัน หรือหักบริเวณด้านบน ไม่ลึกไปถึงชั้นรากฟัน สามารถรักษาได้โดยการต่อฟันเดิมที่หักกลับไปที่เดิม แต่ต้องมีการตรวจดูว่าชั้นเคลือบฟันนั้นมีความเสียหายมากน้อยแค่ไหน ดังนั้นเมื่อฟันหักผู้ป่วยจึงควรนำฟันแช่น้ำนมเพื่อให้แคลเซียมในนมรักษาชั้นเคลือบฟันให้พอที่จะสามารถติดกลับไปที่เดิมได้
อุดฟัน
ในกรณีที่ไม่มีฟันเดิม หรือต่อฟันไม่ได้ ทันตแพทย์ก็จะทำการรักษาด้วยการอุดฟัน โดยจะเป็นการใช้วัสดุสีเหมือนฟัน หรือสีเงิน เติมบริเวณที่ฟันหัก และเมื่อได้รูปทรงที่คลายฟันเดิมแล้ว ก็จะใช้แสงบนวัสดุ เพื่อทำให้วัสดุแข็งตัวและยึดกับฟันเดิม
ทำครอบฟัน
การทำครอบฟันเพื่อแก้ปัญหาฟัน จะเป็นการครอบวัสดุครอบฟันคลุมฟันซี่ที่หักทั้งซี่ ซึ่งจะต้องมีการกรอฟันเพิ่มเติมเพื่อให้มีขนาดพอดีกับวัสดุครอบฟัน เหมาะสำหรับผู้ที่ฟันเดิมเหลือน้อย หรือไม่สามารถอุดฟันได้ โดยวัสดุที่ใช้ครอบฟันมักจะเป็นเซรามิกล้วน พอร์ซเลน หรือโลหะ เป็นต้น
ทำวีเนียร์
วีเนียร์เป็นเทคโนโลยีรักษาฟันที่เป็นที่รู้จัก และเป็นที่นิยมในปัจจุบัน มีอายุการใช้งานได้นาน ให้ลักษณะฟันที่สวย เหมือนฟันธรรมชาติ โดยวีเนียร์จะเป็นการใช้วัสดุที่ทำออกมาเป็นแผ่นรูปทรงฟัน แปะลงไปบริเวณฟันที่ต้องการ และจะต้องกรอผิวฟันเล็กน้อยเพื่อให้วีเนียร์ติดกับฟัน เหมาะสำหรับคนที่ต้องการปกปิดฟันเดิม แต่ไม่อยากครอบฟัน เพราะต้องการเก็บเนื้อฟันให้มากที่สุด
รักษารากฟัน
หากฟันหักในระดับรุนแรงจนถึงรากฟัน ก็จะต้องรักษารากฟันเพื่อป้องกันการติดเชื้อในภายหลัง โดยวิธีการรักษารากฟันจะเป็นการนำเนื้อเยื่อรากฟันออกมา พร้อมกับฆ่าเชื้อ ทำความสะอาด อุดปิดคลองรากฟันและทำการบูรณะให้ฟันกลับมาแข็งแรงสมบูรณ์
ทำรากฟันเทียม
รากฟันเทียม เป็นการทำรากฟันใส่ทดแทนรากฟันที่ไม่สามารถทำการรักษาได้ ให้ผลลัพธ์คล้ายฟันแท้ปกติ และไม่จำเป็นต้องถอดออกเหมือนฟันปลอมถอดได้ และเมื่อเวลาผ่านไปรากฟันเทียมจะยึดติดกับกระดูก รวมถึงเข้ากับเนื้อเยื่อร่างกายได้ดี จึงเป็นวิธีที่ได้ประสิทธิภาพในการรักษาฟันที่หักกระทบจนรากฟันแท้เสียหายที่ไม่สามารถบูรณะกลับมาได้
นอกจากนี้รากฟันเทียมยังมีหลากหลายวัสดุจากแต่ละผู้ผลิตให้เลือก เช่น
- Hiossen ประเทศอเมริกา
- Astra Tech ประเทศสวีเดน
- Straumann ประเทศสวิตซ์เซอร์แลนด์
ทำฟันปลอม
การรักษาฟันหักที่เสียหาย ทันตแพทย์ประเมินว่าไม่สามารถบูรณะกลับมาได้ ก็สามารถทำฟันปลอมทดแทนฟันเดิมได้เช่นกัน โดยฟันปลอมก็จะมีฐานหลากหลายรูปแบบ ไม่ได้มีเพียงฟันปลอมแบบทั้งปากเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นฟันปลอมถอดได้ฐานพลาสติก หรือฟันปลอมถอดได้ฐานโลหะ ทั้งยังมีความแข็งแรงที่ดี
ต่อฟันหัก ราคาเท่าไหร่?
การต่อฟันหักแต่ละวิธีก็จะมีราคาแตกต่างกันไป โดยราคาเริ่มต้นของการรักษารูปแบบต่าง ๆ มีดังนี้
- ต่อฟันหักติดกับฟันเดิม เริ่มต้น 1,200 บาท
- อุดฟัน วัสดุสีโลหะ เริ่มต้น 800 บาท สีเหมือนฟัน เริ่มต้น 1,000 บาท
- ครอบฟัน เริ่มต้น 17,000 บาท
- วีเนียร์ ราคาขึ้นอยู่กับวัสดุ เริ่มต้นที่ 12,000 บาท
- รักษารากฟัน เริ่มต้น 6,000 บาท
- ทำรากฟันเทียม เริ่มต้น 39,000 บาท
- ทำฟันปลอม เริ่มต้น 4,000 บาท
สรุป
ฟันหัก ถึงแม้จะดูเล็กน้อยแต่ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ โดยเฉพาะฟันที่หักจนถึงบริเวณรากฟัน หรือรากฟันเสียหายร่วมด้วย เนื่องจากจะทำให้มีโอกาสที่จะทำลายโพรงประสาทจากการได้รับสิ่งกระตุ้นบ่อยครั้ง ซึ่งจะแสดงออกผ่านอาการเสียวฟัน รวมถึงความเสี่ยงที่จะติดเชื้อจากแบคทีเรียผ่านเศษอาหารที่เข้าไปบริเวณรอยร้าวของฟันที่แตกหัก หรือถ้าเป็นฟันหักแบบที่หลุดออกจากฟันเดิม ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อบริเวณรากฟัน หรือโพรงประสาทฟัน แต่ชั้นเคลือบฟันก็มีความเสียหาย ดังนั้น เพื่อไม่ให้มีปัญหาหลังจากนั้นตามมา ก็ควรที่จะรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ และยังมีโอกาสติดฟันที่หักกลับไปเหมือนเดิมอีกด้วย
ในการรักษาฟันด้วยวิธีต่าง ๆ ก็ควรรับการรักษากับคลินิกที่มีคุณภาพ และได้รับการรับรองจากทันตแพทยสภา สามารถตรวจสอบประวัติของทันตแพทย์ผู้ทำการรักษาได้ เพื่อให้ได้รับการประเมินวินิจฉัยที่ตรงจุด และมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีรีวิวประกอบการตัดสินใจที่เชื่อถือได้ ซึ่งที่คลินิก Smile & Co มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ในการรักษาฟันเฉพาะทางด้วยรูปแบบต่าง ๆ พร้อมให้คำแนะนำอย่างใส่ใจ สามารถปรึกษาหรือนัดเข้าพบทันตแพทย์ได้ผ่านช่องทางไลน์ @smileandco หรือโทร 082-787-7444 ได้โดยตรง