ผ่าฟันคุดกี่วันหาย ดูแลยังไง กินอะไรได้บ้าง ปวดมากต้องทำอย่างไร

ผ่าฟันคุดกี่วันหาย ดูแลยังไง กินอะไรได้บ้าง ปวดมากต้องทำอย่างไร

ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาได้เหมือนกับฟันปกติ สามารถพบได้บ่อยในฟันกรามซี่สุดท้าย และมักเป็นซี่ฟันที่สร้างความเจ็บปวดให้ใครหลายคน รวมถึงทำให้เกิดอาการฟันผุหรือเหงือกอักเสบตามมาได้ เนื่องจากทำความสะอาดได้อย่างไม่ทั่วถึง และเมื่อเกิดฟันคุดขึ้นมา หลายคนก็ต้องมองหาคลินิกทันตกรรมที่ทำการผ่าฟันคุดออก อาจจะเพราะรู้สึกเจ็บหรือจะต้องทำการจัดฟัน จึงต้องทำการผ่าฟันคุดทิ้ง 

แต่การผ่าฟันคุดก็มักทำให้คนไข้รู้สึกกังวลใจอยู่เสมอว่า ผ่าฟันคุดกี่วันหาย จะเจ็บไหม ต้องดูแลตัวเองหลังจากการผ่าฟันคุดยังไง รวมถึงสามารถกินอะไรได้บ้าง เพื่อป้องกันการติดเชื้อและแผลบวม

วันนี้ Smile and Co Dental Clinic จะทำการแนะนำรายละเอียดเกี่ยวกับการผ่าฟันคุด รวมถึงการดูแลตัวเองหลังจากผ่าฟันคุดให้ทราบกัน

ผ่าฟันคุดกี่วันหาย

โดยปกติแล้วผ่าฟันคุดจะใช้เวลาฟื้นตัวอยู่ที่ประมาณ 3-5 วัน และใช้เวลาไม่เกิน 1-2 สัปดาห์ แต่เพื่อให้เห็นภาพของอาการอย่างชัดเจน เราขอแบ่งเป็นช่วงเวลาของอาการออกเป็นตั้งแต่วันแรก จนถึง 1 เดือน ดังนี้

หลังผ่าฟันคุดวันแรก

หลังจากผ่าฟันคุดในช่วงวันแรก จะมีอาการบวมภายในช่องปากและแก้ม อ้าปากได้น้อยลง รู้สึกตึงๆ และเริ่มปวด รวมถึงมีอาการเลือดออกจากแผล ให้เริ่มต้นดูแลตัวเองโดยการกัดผ้าก๊อซทิ้งไว้จนกว่าเลือดจะหยุดไหล และงดบ้วนน้ำลายทิ้ง รวมถึงรับประทานยาปฏิชีวนะที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด 

นอกจากนี้ ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกให้ทำการประคบเย็นเพื่อลดอาการปวดและบวม และทำให้เลือดหยุดไหลเร็วขึ้น หลังจาก 24 ชั่วโมงไปแล้วให้เปลี่ยนมาเป็นประคบอุ่นแทน เพื่อลดอาการช้ำ ซึ่งการประคบทั้งหมดจะต้องเป็นการประคบภายนอกเท่านั้น ห้ามอมน้ำแข็งหรือกลั้วปากโดยน้ำอุ่น

หลังผ่าฟันคุด 2-4 วัน

หลังผ่าฟันคุด 2-3 วันจะยังมีอาการปวดและบวมได้อยู่ แนะนำให้ประคบน้ำเย็นตลอดเวลา และควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งต่อไป แต่ควรดูแลและทำความสะอาดแผลด้วยการแปรงฟันเบาๆ รวมถึงบ้วนปากเบาๆ เพื่อให้คงเหลือลิ่มเลือดที่แข็งตัวปิดแผลถอนฟันไว้

หลังผ่าฟันคุด 5-7 วัน

ในช่วง 5-7 วันอาการบวมจะน้อยลง แนะนำให้สลับประคบอุ่น เพื่อช่วยให้เลือดที่มาคั่งบริเวณแผล หรือช่วยให้เลือดที่ค้างในเนื้อเยื่อตรงแก้มที่ยังเขียวอยู่ให้กระจายตัวหายไปเร็วขึ้น และในช่วงวันที่ 7 หากไม่มีอะไรผิดปกติก็สามารถทำการตัดไหมได้เลย ในกรณีที่ใช้ไหมละลาย คนไข้อาจไม่ต้องไปตัดไหมก็ได้ เพราะไหมจะละลายไปเองในระยะ 2-4 อาทิตย์ แต่ส่วนใหญ่แพทย์จะนัดมาตรวจแผล ล้างแผล และให้คำแนะนำเพิ่มเติมไม่ว่าจะใช้ไหมละลายหรือไม่ก็ตาม

หลังผ่าฟันคุด กินอะไรได้บ้าง กี่วันกินได้ปกติ

หลังจากการผ่าฟันคุดในช่วง 1-2 วันแรก หลีกเลี่ยงกินอาหารแข็งๆเหนี่ยวๆ เพราะอาจไปโดนแผลทำให้แผลบวมขึ้นมาได้ ดังนั้น ต้องเลือกรับประทานอาหารที่อ่อนนุ่มและเคี้ยวง่ายเป็นหลัก ยกตัวอย่างเช่น

  • น้ำเปล่าและน้ำผลไม้
  • โยเกิร์ตและนม
  • ขนมปังและขนมหวานที่ไม่มีเม็ด
  • ผักต่างๆ ที่ต้มสุกแล้ว เช่น กะหล่ำ ผักกาด ฟักทอง เป็นต้น
  • ปลา ไก่ ไข่ และเนื้อสัตว์ที่ต้องการนำไปทำอาหารก็ได้ แต่ต้องทำให้สุกโดยใช้วิธีต้มหรือนึ่ง
  • ซุปหรือโจ๊กต่างๆ เช่น ซุปฟักทอง โจ๊กปลา ซุปมักกะโรนี เป็นต้น
  • อาหารที่นิ่มและเคี้ยวง่าย เช่น ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง แกงจืดเต้าหู้หมูสับ ข้าวต้มปลา เป็นต้น

หลังจากผ่านช่วงเวลา 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าแผลจะหายดีจึงค่อยกลับมารับประทานอาหารตามปกติได้

หลังผ่าฟันคุด กี่วันหายปวด

หลังผ่าฟันคุด กี่วันหายปวด? โดยปกติแล้วในช่วงวันแรกๆ คนไข้อาจจะรู้สึกปวดและบวมอยู่ ซึ่งสามารถรับประทานยาแก้อักเสบและแก้ปวดเพื่อบรรเทาได้ แต่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น ซึ่งประมาณ 3-7 วัน อาการเหล่านี้จะหายไปเอง

ข้อห้ามหลังผ่าฟันคุด

หลังจากผ่าฟันคุดแล้วจะมีแผลบวมที่บริเวณฟันที่ถูกผ่าออกมา และแผลจะเริ่มหายไปตามปกติหลังจาก 1-2 สัปดาห์ หลังการผ่าฟันคุดควรปฏิบัติตามขั้นตอนการดูแลตัวเองที่เหมาะสมตามที่ทันตแพทย์แนะนำ และควรหลีกเลี่ยงในพฤติกรรมที่ทำให้เสี่ยงเกิดอาการแผลบวมหรืออักเสบตามมา เช่น 

  • ห้ามสูบบุหรี่ 
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ไม่ควรกินอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด 
  • งดรับประทานอาหารที่เย็นจัด หรือร้อนจัด
  • ห้ามดูดแผลหรือใช้ลิ้นดุนบริเวณแผล
  • ห้ามใช้นิ้วกดที่แผล
  • หลีกเลี่ยงการบ้วนน้ำในวันแรก หรือถอดๆ ใส่ๆ ผ้าก๊อซ เพราะอาจทำให้เลือดหยุดไหลช้า และทำให้แผลติดเชื้อได้
  • ไม่ควรกินอาหารที่เคี้ยวยาก เช่น เนื้อ หมูกรอบ อาหารประเภทถั่ว ฯลฯ
  • หลีกเลี่ยงการใช้หลอดดูดน้ำ
  • งดอาหารแสลงที่ไม่ผ่านความร้อน เช่น ปลาร้า เพราะเสี่ยงทำให้แผลติดเชื้อได้
  • งดรับประทานอาหารทะเล เนื่องจากเสี่ยงทำให้เกิดอาการแพ้ตามมาได้ง่าย
  • งดการออกกำลังกาย ในช่วงแรกภายหลังจากผ่าฟันคุด

การปฏิบัติตัวหลังผ่าฟันคุด

หลังจากทำการผ่าฟันคุดเรียบร้อยแล้ว ควรปฏิบัติตามขั้นตอนด้านล่างเพื่อป้องกันการติดเชื้อและแผลบวมอย่างเคร่งครัด ในวันแรก

  • ให้กัดแผ่นสำลีเอาไว้บริเวณแผลที่ทำการผ่าฟันคุด เพื่อช่วยหยุดเลือดและป้องกันการติดเชื้อเป็นเวลา 1-2 ชั่วโมง โดยสามารถกลืนน้ำลายได้ตามปกติ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ฟันในข้างที่เพิ่งทำการผ่าฟันคุด เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่ตามมาได้
  • งดการบ้วนน้ำลาย หากมีเลือด หรือน้ำลายซึม ให้กลืนเลือดหรือน้ำลายลงไปเลย
  • ทำการคายผ้าก๊อซทิ้งหลังจากผ่านไป 1-2 ชั่วโมง หากเลือดยังไม่หยุดไหลให้ทำการเปลี่ยนผ้าก๊อซแล้วกัดไว้อีกประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง
  • ทำการประคบเย็นภายนอก บริเวณกระพุ้งแก้มข้างที่ผ่าตัด เพื่อลดอาการบวม
  • รับประทานยาให้ครบตามที่ทันตแพทย์สั่ง โดยคำนวณตามน้ำหนักตัว ซึ่งจะแบ่งปริมาณในการทาน ยกตัวอย่างเช่น
    • ผู้ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 40 กิโลกรัม หรือผู้ที่ต้องรับประทานยาพาราเซตามอลแบบน้ำ
      • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวไม่ถึง 10 กิโลกรัม ให้รับประทาน 60-80 มิลลิกรัม/ 1 ช้อนชา
      • ผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 12-15 กิโลกรัม ให้รับประทาน 120-125 มิลลิกรัม/ 1 ช้อนชา
      • ผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 16-24 กิโลกรัม ให้รับประทาน 160 มิลลิกรัม/1 ช้อนชา
      • ผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 25-40 กิโลกรัม ให้รับประทาน 250 มิลลิกรัม/1 ช้อนชา
    • ผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 22-67 กิโลกรัม หรือผู้ที่ต้องรับประทานยาพาราเซตามอล ขนาด 325 มิลลิกรัม
      • ผู้ที่มีน้ำหนักตัว 22-33  กิโลกรัม ควรรับประทานปริมาณครั้งละ 1 เม็ด
      • ผู้ที่มีน้ำหนักตัว 34-44 กิโลกรัม ควรรับประทานปริมาณครั้งละ 1 เม็ดครึ่ง 
      • ผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 45-67 กิโลกรัม ควรรับประทานปริมาณครั้งละ 2 เม็ด
  • สามารถแปรงฟันเบาๆ บริเวณใกล้แผล และทำการบ้วนปากเบาๆ ในวันถัดไป
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะควันบุหรี่อาจทำให้แผลบวมและทำให้แผลหายช้า
  • ปรับเปลี่ยนอาหารและเครื่องดื่มโดยเลือกรับประทานอาหารที่ไม่ต้องเคี้ยวมาก เช่น น้ำผลไม้ โยเกิร์ต โจ๊ก ฯลฯ และหลีกเลี่ยงอาหารที่ต้องทำให้เคี้ยวนานหรือใช้ฟัน เช่น น้ำแข็ง เนื้อสัตว์ ฯลฯ
  • สังเกตอาการที่แผล หากมีอาการบวม แดง หรือมีเส้นไฟแดงยาวออกจากแผล ควรปรึกษาแพทย์อย่างเร็วที่สุด

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังผ่าฟันคุด

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังผ่าฟันคุดในช่วง 2-3 วันแรกจะเป็นอาการปวดและบวมในบริเวณที่ทำการผ่าฟันคุด จนทำให้อ้าปากได้น้อย จึงควรรับประทานยาแก้อักเสบให้ครบตามที่ทันตแพทย์สั่ง และอาจจะมีเลือดออกอยู่เรื่อยๆ แนะนำให้กลืนแทนการบ้วนในช่วงวันแรกๆ ที่ทำการผ่าฟันคุดออกไป และใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบข้างแก้มทุก 15 นาที นอกจากนี้จะเจอกับหลุมลึกหลังถอนฟัน ทำให้มีเศษอาหารตกลงไปได้ง่าย หากผ่านไป 7 วันแล้วให้บ้วนปากแรงๆ เพื่อขจัดเศษอาหารให้หลุดออกไปให้หมด

ส่วนอาการอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้และทำให้คนไข้กังวล ก็อย่างเช่น อาการชา เนื่องจากรากฟันของฟันคุดในบางตำแหน่งอยู่ใกล้คลองเส้นประสาทฟันล่างอาจทำให้เกิดอาการชาริมฝีปากล่างภายหลังการผ่าฟันคุด ซึ่งจะค่อยๆ ดีขึ้นใน 3-6 เดือน หรือในบางกรณีที่ฟันคุดเป็นเคสที่ยากหรือเคยติดเชื้อมาก่อน รวมถึงทำความสะอาดแผลได้ไม่ดีพอก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อของแผลผ่าตัดขึ้นมาได้ ซึ่งจะต้องเข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจดูอาการ และเพิ่มขั้นตอนการดูแลแผลให้ดีมากขึ้นด้วย

อาการหลังผ่าฟันคุดที่ควรไปพบแพทย์

ปกติแล้วผลแทรกซ้อนหลังผ่าฟันคุดนั้นเกิดขึ้นได้ไม่บ่อย แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะชะล่าใจได้ ถ้าหากใครมีอาการดังต่อไปนี้ ให้ทำการเข้าพบทันตแพทย์ทันที ไม่ว่าจะเป็น…

  • หลังจากคายผ้าก๊อซทิ้งแล้วมีอาการเลือดไหลมากผิดปกติไม่ใช่แค่อาการเลือดซึม
  • มีไข้หรือแผลติดเชื้อหลังจากทำการผ่าตัด
  • ผ่านไปแล้ว 2-3 วันแต่ยังมีอาการปวดบวมเท่ากับวันแรกหรือมากขึ้นกว่าเดิม
  • มีอาการชาที่บริเวณริมฝีปากล่างนานกว่าปกติถึงแม้ว่ายาชาจะหมดฤทธิ์ไปแล้ว
  • มีอาการกระดูกเบ้าฟันอักเสบ (Dry socket, Alveolar osteitis) จากลิ่มเลือดที่อยู่ในเบ้าฟันละลายทั้งหมดหรือบางส่วน ทำให้มีอาการปวดปานกลางจนถึงรุนแรง ซึ่งมีที่มาจากหลายสาเหตุ เช่น การดูดแผลและบ้วนน้ำบ่อยๆ, การสูบบุหรี่, การติดเชื้อ, การถอนฟันหรือผ่าฟันคุดที่ยาก เป็นต้น

หลังผ่าฟันคุด เจ็บแผลมากทำอย่างไร

หลังจากผ่าฟันคุดมักมีอาการปวดและบวมเป็นปกติ หากมีอาการเจ็บแผลมากให้รับประทานยาแก้ปวดและแก้อักเสบตามที่ทันตแพทย์จัดให้ รวมถึงทำการประคบเย็นใน 24 ชั่วโมงแรก และเปลี่ยนมาเป็นประคบอุ่นต่อ แต่ถ้าหากรู้สึกเจ็บแผลมากติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น รู้ปวดร้าวไปที่บริเวณหน้าหู และศีรษะ, มีอาการปวดบวมที่ไม่ลดลง, มีเลือดออกจากแผลจำนวนมากจนทำให้เจ็บ ฯลฯ จะต้องเข้าพบกับทันตแพทย์ทันที 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Line chat facebook chat call to clinic

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า