ปวดรากฟัน เกิดจากอะไร แก้ไขยังไง ดูขั้นตอนการรักษาที่ถูกต้อง

อาการปวดรากฟันเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับโรคในช่องปาก โดยมักมีอาการ เจ็บเวลา เคี้ยวหรือกัดอาหาร มีอาการเสียวฟัน รู้สึกฟันหลวมหรือโยก ไปจนถึงการสูญเสียฟันซี่สำคัญได้ ดังนั้น จึงไม่ควรละเลยอาการปวดต่างๆ ที่เกิดขึ้น ควรหาสาเหตุว่า ปวดรากฟัน เกิดจากอะไร จะแก้ไขยังไง มาดูขั้นตอนการรักษาอาการปวดรากฟันที่ถูกต้องกันดีกว่าค่ะ

ปวดรากฟันคืออะไร

ปวดรากฟัน คือ อาการอักเสบจนเกิดหนองที่รากฟัน เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น รากฟันละลาย, ฟันคุด, อุดฟันแล้วปวดฟัน ฯลฯ ทำให้เกิดอาการปวด เสียวฟัน เจ็บรากฟัน นับเป็นปัญหาที่ต้องรีบเข้าพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษา ไม่เช่นนั้นอาจลุกลามจนเป็นฝีที่ปลายรากฟัน และในกระดูกขากรรไกร จนทำให้มีอาการปวดอย่างมากตามมาได้

สาเหตุปวดรากฟัน เกิดจากกรณีใดได้บ้าง

สาเหตุปวดรากฟัน เกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น…

ฟันผุทะลุโพรงประสาทจนปวดมาก 

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการปวดรากฟันคือฟันผุทะลุโพรงประสาท เพราะการปล่อยให้ฟันผุจนเข้าไปทำลายเนื้อฟันจนกระทั่งลุกลามไปยังโพรงประสาทฟัน ซึ่งเป็นเนื้อเยื่ออ่อนที่เต็มไปด้วยเส้นประสาทและเส้นเลือด เชื้อแบคทีเรียจะเข้าไปทำลายเส้นประสาทและเส้นเลือด ทำให้ฟันเกิดการอักเสบและติดเชื้อที่บริเวณรากฟัน ส่งผลให้เกิดอาการปวดรากฟันตามมานั่นเองค่ะ

รักษารากฟันแล้วยังปวดอยู่

อาการปวดรากฟันหลังจากรักษารากฟันเสร็จแล้วแต่ยังเกิดอาการปวดอยู่ อาจเป็นเพราะในระหว่างการรักษาทันตแพทย์อาจทำความสะอาดคลองรากฟันไม่ดีพอ เกิดฟันแตกหรือขยายคลองรากฟันไม่หมด จำเป็นต้องกลับมารักษาใหม่ และอาจจะต้องผ่าตัดปลายรากฟันร่วมด้วย 

อุดฟันแล้วปวดฟัน

อุดฟันแล้วปวดฟันสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น วัสดุอุดฟันสูงเกิน วัสดุอุดฟันที่สูงเกินอาจทำให้เกิดแรงกดต่อฟันและเหงือก, วัสดุอุดฟันไม่แข็งแรงส่งผลให้เกิดการแตกหักหรือหลุดออก และเกิดการติดเชื้อจนทำให้ปวดได้ เป็นต้น

ปวดฟัน รากฟันเป็นหนอง

หากพบว่ามีอาการปวด เหงือกบวมหรือมีหนองที่รากฟัน แสดงว่า มีปัญหาฟันผุทะลุโพรงประสาทฟันจนทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าไปทำลายเนื้อเยื่ออ่อนที่เต็มไปด้วยเส้นประสาทและเส้นเลือดในโพรงประสาทฟัน ส่งผลให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อ โดยเชื้อแบคทีเรียอาจลุกลามไปยังปลายรากฟันและก่อให้เกิดหนองได้

รากฟันละลายจากการจัดฟัน

รากฟันละลายจากการจัดฟันอาจทำให้ปวดรากฟันได้ เพราะการจัดฟันเป็นการเคลื่อนฟันให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ซึ่งต้องใช้แรงกดจากเครื่องมือจัดฟัน แรงกดนี้อาจทำให้กระดูกบริเวณรากฟันเกิดการละลายตัว จนทำให้รากฟันสั้นและอ่อนแอลง ก่อให้เกิดโอกาสการอักเสบและติดเชื้อ ส่งผลให้เกิดอาการปวดรากฟันได้นั่นเองค่ะ

ปวดรากฟันเทียม

อาการปวดรากฟันเทียมมักเกิดจากการอักเสบหรือการติดเชื้อบริเวณรากฟันเทียม เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อบริเวณปลายรากฟันเทียม, วัสดุอุดฟันหรือครอบฟันรากเทียมไม่แน่นสนิท, แรงกดที่มากเกินไปจากฟันปลอม, เหงือกอักเสบหรือเหงือกร่น เป็นต้น

ฟันคุด

ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติในช่องปาก บางซี่โผล่ออกมาบางส่วน บางซี่ฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร ฟันคุดจึงมีโอกาสทำให้เหงือกอักเสบและติดเชื้อได้ หากการติดเชื้อลุกลามไปยังรากฟัน อาจทำให้เกิดอาการปวดรากฟันได้ วิธีการแก้ไขคือ การผ่าฟันคุด

เหงือกอักเสบ

เหงือกอักเสบ เป็นภาวะที่เนื้อเยื่อเหงือกบวมแดงและอักเสบ เกิดจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์และหินปูนบนฟัน หากเหงือกอักเสบรุนแรง จนเชื้อแบคทีเรียอาจลุกลามไปยังรากฟันก็ทำให้เกิดอาการปวดรากฟันได้เช่นเดียวกันค่ะ

อาการปวดรากฟัน เป็นอย่างไร

อาการปวดรากฟันมีทั้งการปวดฟันเวลานอน การมีอาการเหงือกบวมแดง รู้สึกปวดฟันกรามตุบๆ จากการติดเชื้อที่รากฟัน บางคนอาจรู้สึกคลื่นไส้ หลายเคสจะรู้สึกปวดฟันอย่างรุนแรง ปวดตลอดเวลา ปวดมากขึ้นเมื่อเคี้ยวอาหารหรือดื่มน้ำเย็น จนรู้สึกว่ามีอาการฟันโยกได้เลยทีเดียว

วิธีแก้ปวดรากฟัน

ใช้ยาแก้ปวดรากฟัน

ยาแก้ปวดรากฟันเป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการปวดฟันที่เกิดจากปัญหาที่รากฟัน มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีฤทธิ์และกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกัน

  • ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) เป็นยาแก้ปวดและลดไข้ที่มีประสิทธิภาพ มักใช้บรรเทาอาการปวดฟันที่ไม่รุนแรง โดยขนาดการใช้ยาจะอยู่ที่ 10 – 15 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ต่อ 1 ครั้ง
  • ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และยานาพรอกเซน (Naproxen) เป็นยาแก้ปวดและลดการอักเสบ มักใช้บรรเทาอาการปวดฟันที่รุนแรงขึ้น

นอกจากนี้ ยังมียาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal anti-inflammatory drug) หรือ “NSAIDs”อีกหลายตัว เช่น ไดโคลเฟแนก (Diclofenac) คีโตโปรเฟน (Ketoprofen) อินโดเมทาซิน (Indomethacin) เป็นต้น ซึ่งใช้ในการแก้ปวดรากฟันได้เช่นกันค่ะ

ถอนฟัน

ถอนฟันสามารถแก้ปวดรากฟันได้ โดยเฉพาะในกรณีที่ฟันผุทะลุโพรงประสาทฟันและเกิดการอักเสบและติดเชื้อในเนื้อเยื่อรากฟันแล้วเชื้อแบคทีเรียลุกลามไปถึงรากฟัน หากรักษาด้วยวิธีอื่นๆ แล้วแต่ไม่ดีขึ้นก็ต้องใช้วิธีถอนฟันเพื่อกำจัดแหล่งที่มาของการติดเชื้อและบรรเทาอาการปวดฟันแบบถาวร

รักษารากฟัน

รักษารากฟัน เป็นวิธียอดนิยมที่ใช้รักษาอาการปวดฟันทั้งจากปัญหารากฟันอักเสบ มีการติดเชื้อหรือมีหนองในรากฟัน ซึ่งทันตแพทย์จะประเมินว่าจะรักษารากฟันด้วยวิธีปกติหรือจะต้องผ่าตัดปลายรากฟันเพิ่มเติม

ขั้นตอนการรักษารากฟัน แก้ปวดรากฟัน

  • ทันตแพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่เพื่อระงับความรู้สึกบริเวณที่จะรักษารากฟัน ผู้ป่วยอาจรู้สึกถึงแรงกดเล็กน้อยจากการฉีดยาชา แต่จะไม่รู้สึกเจ็บ
  • ทันตแพทย์จะใช้แผ่นยางบางๆ เพื่อแยกฟัน (Rubber dam) ที่มีปัญหาออกจากฟันอื่น
  • ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือทางทันตกรรมเพื่อเปิดฟันและเข้าถึงโพรงประสาทฟัน โดยเอาส่วนที่เสียหายออกกำจัดเนื้อฟันที่อักเสบหรือติดเชื้อออก
  • ทำความสะอาดคลองรากฟันด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย
  • อุดคลองรากฟันให้แน่นด้วยวัสดุอุดคลองรากฟันเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่รากฟันได้อีก
  • ปิดฟันด้วยวัสดุอุดฟัน

วิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกันการปวดรากฟัน

  • แปรงฟันด้วยวิธีที่ถูกต้อง วันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น เพื่อขจัดคราบพลัคและเศษอาหารออกจากฟันและเหงือก ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดฟันผุและโรคเหงือก
  • ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ ฟลูออไรด์ช่วยเสริมสร้างเคลือบฟันและทำให้ฟันแข็งแรงขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ทำให้เหงือกอักเสบและอาจทำให้ฟันผุได้
  • หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็งๆ การเคี้ยวอาหารแข็งๆ ที่อาจทำให้ฟันแตกหรือร้าว ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาการปวดรากฟันได้
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เนื่องจากเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงเป็นแหล่งอาหารของแบคทีเรียในช่องปาก ซึ่งอาจนำไปสู่ฟันผุได้
  • ไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหงือกและฟัน

สรุป

อาการปวดรากฟัน คือ ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับฟันที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ หากปล่อยไว้เนิ่นนานย่อมส่งผลเสียให้กับฟันซี่นั้นๆ โดยอาจทำให้สูญเสียฟันซี่สำคัญไปได้เลย แถมยังก่อให้เกิดความเจ็บปวด ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพร่างกายอีกด้วย

ดังนั้น หากคุณมีอาการปวดรากฟันอยู่ แนะนำให้ไปพบทันตแพทย์เพื่อได้รับการตรวจและวางแผนการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป จะได้รีบรักษาปัญหาที่เกิดขึ้น และเพื่อให้สุขภาพฟันของคุณสามารถคงอยู่ได้ตราบนานเท่านานอย่างที่ควรเป็นค่ะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Line chat facebook chat call to clinic

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า