รักษารากฟัน
รักษารากฟัน ( Root canal treatment ) ก่อนฟันจะหายไป ปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน เป็นปัญหาใหญ่ที่คุณไม่ควรละเลย
โดยเฉพาะอาการปวดฟัน เสียวฟัน ที่ส่งผลให้เกิดฟันผุ เมื่อไม่ยอมเข้ารับการรักษา หรือทำการอุดฟัน ปล่อยปละละเลยให้ฟันผุ ฟันแตกเรื้อรัง อาจต้องทำการรักษารากฟัน เพราะฟันผุรุนแรงกระทั่งทะลุไปถึงโพรงประสาท เกิดการอักเสบและมีฝีรากฟันเป็นหนอง มีอาการปวดทรมาน จนไม่สามารถรักษาด้วยการอุดฟันได้อีกแล้ว
อีกทั้งยังอาจลุกลามไปสู่ฟันซี่อื่นๆ และสุดท้ายคุณอาจต้องสูญเสียฟันซี่นั้น หรือซี่ข้างเคียงไปเลยทีเดียว
เลือกหัวข้ออ่านการรักษารากฟัน
- การรักษารากฟัน คืออะไร
- โพรงประสาทฟัน คืออะไร
- รักษารากฟันแตกต่างจากการถอนฟันอย่างไร
- ทำไมต้องรักษารากฟัน
- สาเหตุการเกิดปัญหาที่รากฟัน
- ลักษณะอาการปัญหารากฟัน
- หนองปลายรากฟันเกิดได้อย่างไร
- ถ้าไม่ปวดฟัน เพราะอะไรถึงต้องรักษารากฟัน
- ประเภทของการรักษารากฟัน
- การเตรียมตัวก่อนรักษารากฟัน
- วิธีการรักษารากฟัน
- รักษารากฟันกี่วันหายปวด
การรักษารากฟัน คืออะไร ?
การรักษารากฟัน ( Root canal treatment ) คือ ขบวนการกำจัดเชื้อจุลชีพที่อยู่ในโพรงประสาทฟัน หรือเนื้อเยื่อขนาดเล็ก ที่อยู่ใจกลางฟัน อันเป็นเหตุให้เกิดการติดเชื้อ อักเสบ ของโพรงเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน หากโพรงประสาทฟันบางส่วนถูกทำลายจะต้องทำการเอาออกเพื่อรักษาและทำความสะอาดส่วนที่เหลือให้ปราศจากเชื้อโรค และทำการซ่อมแซม อุดคลองรากฟันและบูรณะตัวฟัน เพื่อคืนความแข็งแรงและสวยงาม ให้ฟันกลับมาใช้งานได้ตามปกติ การรักษารากฟัน เป็นวิธีที่ช่วยให้คุณไม่จำเป็นต้องถอนฟันออกไป ซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถช่วยรักษาฟันไว้ได้
ภาพประกอบ : การรักษารากฟัน
โพรงประสาทฟัน คืออะไร
โพรงประสาทฟัน คือชั้นที่อยู่ด้านในสุดของฟัน ที่ประกอบด้วย เส้นประสาทของฟัน เส้นเลือดที่มาเลี้ยง รวมถึงท่อน้ำเหลือง ทำให้เมื่อมีฟันผุลุกลามมาในชั้นโพรงประสาทฟัน จึงทำให้เกิดการอาการปวดฟันที่ค่อนข้างรุนแรง ซึ่งถ้ามีการติดเชื้อลุกลามมากขึ้น เชื้อโรคจะกระจายลงสู่ปลายรากฟัน และทำให้รากฟันอักเสบ
ภาพประกอบ : โพรงประสาทฟัน
การรักษารากฟันแตกต่างจากการถอนฟันอย่างไร
การรักษารากฟันสามารถเก็บรักษาฟันเดิมของคุณเอาไว้ใช้งานได้ต่อไปได้ โดยดีกว่าการถอนฟันแล้วเลือกวิธีการใส่ฟันปลอม เพราะฟันที่รักษารากแล้วจะมีคุณสมบัติเหมือนฟันในปากซี่อื่นๆ คือ มีเบ้ากระดูกยึดให้ฟันแน่นมั่นคงแข็งแรง และให้ความรู้สึกที่ดีกว่าการใส่ฟันปลอม สามารถใช้งานได้ สะดวกเป็นธรรมชาติ
ทำไมต้องรักษารากฟัน
เมื่อทันตแพทย์ตรวจแล้วพบว่ายังสามารถทำการรักษารากฟัน ได้โดยที่ไม่ต้องถอนออก ก็จะแนะนำให้คุณ รักษารากฟัน ซึ่งประโยชน์ของขบวนการรักษารากฟันจะช่วยให้การเคี้ยวกลับมามีประสิทธิภาพที่ดีเหมือนเคย สามารถใช้ฟันกัดอาหารได้อย่างปกติ ลักษณะรูปร่างของฟันกลับมาสวยงาม ที่ สำคัญที่สุดคือปัญหาสุขภาพฟันไม่ลุกลามป้องกันไม่ให้ฟันซี่อื่นถูกทำร้ายไปด้วย
สาเหตุหลักการเกิดปัญหาที่รากฟัน
- ฟันผุมาก
- มีปัญหาโรคเหงือก
- ฟันได้รับการกระทบกระแทก จนทำให้ฟันแตกหัก จนถึงโพรงประสาทฟัน
- นอนกัดฟันรุนแรง
- มีพฤติกรรมการเคี้ยวที่ค่อนข้างรุนแรง การกัดเค้นฟัน หรือใช้ฟันรุนแรง นับเป็นการไปรบกวนโพรงประสาทฟัน ส่งผลให้ฟันมีอาการร้าว จนกระทั่งเชื้อโรคสามารถแทรกซึมข้าไปในส่วนของโพรงประสาทฟันได้
บทความที่เกี่ยวข้อง
ลักษณะอาการเกิดปัญหารากฟัน
เมื่อเกิดปัญหาผิดปกติที่รากฟัน มักมีสัญญาณเตือนด้วยอาการ เจ็บเวลา เคี้ยวหรือกัดอาหาร มีอาการเสียวฟันเมื่อดื่มเครื่องดื่มร้อนหรือเย็น รู้สึกฟันหลวมหรือโยก ที่เป็นเช่นนี้ เพราะรากฟันถือเป็นส่วนหนึ่งในอวัยวะในช่องปากที่สำคัญมาก ฟันแต่ละซี่จะประกอบไปด้วยโพรงประสาทฟัน (Pulp chamber)
ซึ่งเป็นส่วนที่รับสัญญาณความรู้สึก เมื่อโพรงประสาทฟันหรือ คลองรากฟันเกิดการติดเชื้อ จะทำฟันซี่นั้นตายไป จึงเกิดอาการแสดงดังที่กล่าวมาข้างต้น รวมไปถึง ในบางรายอาจมีอาการหน้าบวม มีน้ำหนองไหลจากฟันที่ติดเชื้อ รากฟันเป็น หนอง หรือมีตุ่มหนองขึ้นบนเหงือก สีของฟันคล้ำลง ได้อีกด้วย
หนองปลายรากฟัน เกิดได้อย่างไร
อาการสัญญาณเตือนรุนแรง ที่บ่งบอกได้ว่ารากฟันของคุณกำลังมีปัญหาหนัก คือ เกิดหนองที่ปลายรากฟัน ซึ่งอาจมีหนองไหลออกมาให้เห็น หรือพบได้ จากการ x-ray เห็นเป็นลักษณะเงาดำที่ปลายรากฟัน นั้นหมายถึงว่ามีเชื้อโรคลุกลาม ไปจนกระทั่งทำลายส่วนของเนื้อเยื่อทั้งโพรงประสาทฟันแล้ว
ซึ่งลักษณะนี้ทันตแพทย์จะไม่สามารถ อุดฟัน ได้อย่างเดียว ต้องรักษารากฟันให้เรียบร้อยเสียก่อน
ทั้งนี้การพบหนองที่ปลายรากฟันเกิดขึ้นได้จากการที่คุณปล่อยให้เกิดฟัน ผุเป็นระยะเวลานาน โดยที่ไม่ได้รับการรักษา จนมีการอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณ รอบปลายรากฟัน ซึ่งจะมีอาการปวดฟันเวลาเคี้ยว หรือเมื่อฟันกระทบกัน บางรา ยอาจมีอาการบวมหรือตุ่มหนองบริเวณเหงือกหรือเพดานเกิดขึ้นร่วมด้วย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
ถ้าไม่ปวดฟัน เพราะอะไรถึงต้องรักษารากฟัน
บางครั้งปัญหารากฟันอักเสบ จากภาวะฟันผุ หรือแตก มานาน อาจไม่ส่งผลให้เกิดอา การเจ็บปวด หรืออาจเคยปวดแต่หายแล้ว แต่ว่าการดำเนินของโรคก็ยังคงอยู่ มีโอกาสที่จะกลับมาปวดอีกครั้งหรือมีการติดเชื้อมากกว่าเดิม เพราะรากฟันเองยังไม่ได้รับการแก้ปัญหา ซึ่งเมื่อทำการ x-ray และพบว่ามีหนองในรากฟัน ดังนั้นเมื่อตรวจพบควรรีบทำ การรักษารากฟันทันที เพื่อลดการสูญเสียฟัน
ประเภทของการรักษารากฟัน
การรักษารากฟันแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักคือ
1. การรักษารากฟันด้วยวิธีปกติ
ทันตแพทย์ตรวจวัดความยาวของ คลองรากฟัน โดยการถ่ายเอกซเรย์แล้วจะใช้ File ขนาดเล็กเพื่อรักษารากฟัน และทำความสะอาดภายในคลองรากฟันเพื่อขจัดเนื้อเยื่อที่มีปัญหาและแบคทีเรีย
หลังจากนั้นจะใช้วัสดุอุดคลองรากฟัน ( Gutta percha ) โดยที่ฟันจะไม่ถูกอุดอย่างถาวรจนกว่าจะขจัดจนปลอดเชื้อในโพรงประสาทและคลองรากฟัน
2. การรักษารากฟันด้วยวิธีการผ่าตัดปลายรากฟัน
วิธีการนี้จะเลือกใช้ เมื่อวิธีที่หนึ่งล้มเหลว โดยจะทำการผ่าตัดเข้าไปที่ตำแหน่งปลายรากฟันที่เป็น หนองทำการตัดปลายรากฟันออกบางส่วน ซึ่งปัจจุบันมีกล้องจุลศัลยกรรมที่ช่วย เพิ่มกำลังขยายในการมองเห็นคลองรากฟันที่มีขนาดเล็กให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ทันตแพทย์สามารถมองเห็นได้ชัดเจนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงเพิ่ม ผลสำเร็จในการรักษารากฟันให้สูงขึ้นด้วยหลังจากนั้นทำการอุดวัสดุเข้าไปใน ส่วนปลายรากฟันที่ทำความสะอาดไว้
โดยวัสดุนี้จะไม่เป็นพิษต่อเนื้อเยื่อ และทำให้เกิดการหายของเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟันขึ้น
การเตรียมตัวก่อนรักษารากฟัน
- ก่อนอื่นเมื่อพบทันตแพทย์ และได้รับการวินิฉัยว่ามีฟันผุทะลุโพรงประสาทต้องรักษารากฟัน คุณหมอจะส่งคุณหมอที่ทำครอบฟันว่าซี่ดังกล่าวสามารถทำครอบได้หรือไม่ เพราะถ้าทำครอบฟันไม่ได้ การรักษารากฟันอาจไม่มีความหมาย
- โดยทั่วไปจะใช้ 2 ครั้งในการรักษารากฟัน
- ครั้งแรก คือ การทำความสะอาดโพรงประสาทฟันและรากฟัน โดยการขยายขนาดของบริเวณคลองรากฟัน รวมถึงใช้น้ำยาทำความสะอาดเพื่อกำจัดเชื้อโรค
- ครั้งที่สอง คือ เมือโพรงประสาทฟันและรากฟันสะอาดปราศจากเชื้อโรค คุณหมอจะอุดคลองรากฟัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และถ้าเป็นไปได้คุณหมอจะทำเดือยฟัน (core build up) เพื่อเป็นแกนกลางในการเสริมสร้างความแข็งแรงของการทำครอบฟันต่อไป
วิธีการรักษารากฟัน
- การรักษารากฟัน ทันตแพทย์จะทำร่วมกับการฉีดยาชา จะใช้แผ่นยางบางๆ เพื่อแยกฟัน (Rubber dam) ที่มีปัญหาออกจากฟันอื่น
- หลังจากนั้นทันตแพทย์จะเอาฟันผุโดยเอาส่วนที่เสียหายออกกำจัดเนื้อฟันที่อักเสบหรือติดเชื้อออกจนถึงส่วนโพรงประสาทฟัน
- ทำความสะอาดรากฟัน และใส่ยาลง ไปในคลองรากฟัน
- ปิดรากฟันด้วยวัสดุอุดชั่วคราว เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ
อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษารากฟัน ในบางรายไม่ได้จบในครั้งเดียวจำเป็นต้องใช้เวลาหลายครั้งในการทำความสะอาด รวม ถึงเปลี่ยนยาในคลองรากฟันเพื่อฆ่าเชื้อจนกว่าการติดเชื้อ หรือการอักเสบจะหายเป็นปกติ
เมื่อพบว่า ไม่เกิดการอักเสบแล้ว ทันตแพทย์ก็จะอุดปิดคลองรากฟัน และใส่เดือยฟัน เพื่อเป็นแกนเสริมสร้างความแข็งแรง เพื่อการทำ ครอบฟัน ซึ่งเป็นขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้อาจต้องขึ้นกับสภาพเนื้อฟันที่เหลืออยู่มาร่วมพิจารณา
รักษารากฟัน กี่วันหายปวด
บางครั้งทันตแพทย์อาจสามารถรักษารากฟันเสร็จได้ในครั้งเดียว ในกรณีที่การติดเชื้อไม่ ลุกลามรุนแรง หากไม่มีอาการอื่นๆแทรกซ้อน ใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 2-3 สัปดาห์ จึงจะหายปวด และกลับมาเป็นปกติครับ
รักษารากฟัน กี่วันเสร็จ ใช้เวลาไหนไหม
โดยมากใช้เวลา 2 ครั้งในการมาพบทันตแพทย์ ห่างกัน 1-2 สัปดาห์ ขึ้นกับสภาพการติดเชื้อของฟันซี่นั้นว่ามากน้อยเพียงใด บางกรณีที่มีการติดเชื้อหรือหนองปลายรากมาก อาจต้องใช้เวลามารักษามากกว่านั้น
บางกรณีเชื้อโรคยังไม่ลงบริเวณปลายรากมากนัก อาจใช้เวลารักษาแค่วันนั้นวันเดียว
ภายหลังการรักษารากฟัน ทำไมต้องใช้ที่ครอบฟันอีก
หลังจากทำการรักษารากฟัน ทันตแพทย์มักทำครอบฟันให้เพื่อป้องกันการแตกหักของตัวฟัน เนื่องจากการักษารากฟันมีความซับซ้อน และไม่ได้เสร็จสิ้นในครั้งเดียว ดังนั้นจึงใส่ที่ครอบฟันไว้เพื่อ ปกป้องกันการแตกของฟัน โดยสามารถเลือกประเภทครอบฟันได้ตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นโลหะ เซรามิก หรือ เซอร์โคเนีย
รักษารากฟัน ราคา
ราคารักษารากฟัน | |
---|---|
รักษารากฟันหน้า | 5,000-7,000 บาท |
รักษารากฟันกรามน้อย | 8,000-9,000 บาท |
รักษารากฟันกราม | 10,000-12,000 บาท |
วิธีการรักษารากฟัน เป็นวิธีการที่ค่อนข้างยุ่งยากและสลับซับซ้อน และยังต้องใช้ระยะเวลา ดังนั้น ค่าใช้จ่ายอาจจะเพิ่มมากขึ้นตามอาการของปัญหาฟัน โดยทั่วไปราคาทำรากฟันชนิดฟันกรามจะมีค่าใช้ จ่ายที่สูงกว่าฟันซี่อื่นๆ จำเป็นต้องทันแพทย์ประเมินค่าใช้จ่ายเป็นรายๆ ไป
ขึ้นอยู่กับความยากง่าย (ฟันหน้า ฟันกรามน้อย ฟันกรามใหญ่) ต้องใส่เดือยฟันหรือไม่ ต้องทำครอบฟันหรือไม่ หรือดูอัตราค่าบริการที่ Smile And Co เพิ่มเติมได้ที่ อัตราค่าบริการรักษารากฟัน
รักษารากฟันที่ไหนดี
แนะนำเป็นที่ที่มีคุณหมอเฉพาะทางด้านรักษารากฟัน และคุณหมอเฉพาะทางด้านครอบฟัน ที่สำคัญคือเรื่องการพยากรณ์ของฟันซี่นั้น ( prognosis ) ว่ารักษาแล้วเป็นอย่างไรบ้าง เพราะถ้าการพยากรณ์ของฟันซี่นั้นไม่ดีและฝืนทำไป ฟันซี่ดังกล่าวก็อาจต้องโดนถอนได้ การปรึกษากับคุณหมอจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
อาการหลังรักษารากฟัน มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง ?
หลังจากรักษารากฟันเสร็จใหม่ ๆ คนไข้จะมี อาการหลังรักษารากฟัน คือ เจ็บ ในช่วง 2-3 วันแรก อาจร่วมกับการบวมของเหงือกด้วยแต่อาการเจ็บจะค่อยๆ ทุเลาและจางหายไปเอง สามารถบรรเทาได้ด้วยยาระงับปวดทั่วไป
อีกกรณีคือมีอาการปวดหลังการรักษา ซึ่งเกิดจากคลองรากฟันยังไม่สะอาดแล้วอุด ขยายคลอง รากฟันไม่หมดหรือฟันแตก การรักษาอาจต้องมีการรื้อและรักษาใหม่
การดูแลรักษาหลังการรักษารากฟัน
ภายหลังการรักษารากฟัน ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำในการฏิบัติตัว แนะนำว่าควรปฎิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของตัวท่านเอง ในการรักษารากฟันที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้ งานได้ยืนยาว ดังนี้
- ไม่ควรรับประทานอาหารในทันที่ ควรงดรับประทานอาหารจนกว่าอาการ ชาที่ใช้จะหมดไป ป้องกันการกัดลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม
- ควรระมัดระวังในการใช้งานซี่ฟันที่รักษารากฟัน งดเคี้ยวหรือกัดอาหา รด้วยฟันซี่ที่รักษารากฟัน อาจทำให้ฟันแตกหรือหักได้
- ในกรณีที่วัสดุอุดฟันชั่วคราวเกิดหลุด ให้กลับมาพบทันตแพทย์ทันที เพื่อ ป้องกันโรคในช่องปากที่สามารถเขาสู่ภายในคลองรากฟันได้
- ควรมาตามนัดแพทย์ เพื่อลดโอกาสเสี่ยงถอนฟันซี่นั้นออกในอนาคต หากละเลย
คำถามการรักษารากฟันที่พบบ่อย
รักษารากฟันเจ็บไหม ?
การรักษารากฟัน เจ็บ แน่นอน เพราะฟันทุกซี่ซึ่งมีรากฟัน มีเส้นประสาท และเส้นเลือดในการหล่อเลี้ยง ฟัน แต่อาการเจ็บมากเจ็บน้อยแต่คนต่างกันขึ้นอยู่กับจำนวนซี่ และลักษณะซี่ฟัน แต่ในขบวนการรักษารากฟัน มีการฉีดยาชาเข้าร่วมในระหว่างการรักษาอยู่แล้ว จึงไม่รู้สึกเจ็บระหว่างการรักษา อาจจะรู้สึกตึงๆ บ้างระหว่างทำ
รักษารากฟันจัดฟันได้ไหม
จัดได้ตามปกติ และควรต้องรีบรักษารากฟันให้เสร็จก่อนถึงจะเริ่มจัดฟันได้ เพราะถ้าฟันซี่นั้นมีการติดเชื้อ และได้รับการจัดฟัน การเคลื่อนฟัน ยิ่งจะส่งผลเสียต่อฟันซี่นั้นมากยิ่งกว่าเดิม
ถอนฟันทิ้ง แทนการรักษารากฟันดีกว่าไหม
ฟันแท้ถือเป็นสิ่งมีค่า และมีความมั่นคงแข็งแรง ใช้งานได้อย่างเป็นตามธรรมชาติ ไม่มีฟันเทียม ชนิดใดดีไปกว่าฟันแท้ของตัวคุณเอง ดังนั้นหากเกิดปัญหาสุขภาพฟันและการรักษารากฟันยังสามารถ ยังคงฟันแท้ของคุณได้ นั้นเป็นที่สิ่งที่เราอยากแนะนำ เพราะการถอนฟันทิ้งไปเลยไม่ใช่การจบปัญหาเพราะยังมีปัญหาของช่องว่างระหว่างฟันที่ส่งผลให้เกิดความล้ม ฟันเอียงตามมาได้ มีปัญหาของโรค เหงือกและปัญหาการบดเคี้ยวตามาให้แก้ไข ไม่รู้จบ
รักษารากฟันแล้วทำไมต้องกลับมาหาทันตแพทย์
โดยปกติเราควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพฟัน การรักษารากฟันซี่นั้นหายแล้ว แต่ปัญหาสุขภาพในช่องปากยังไม่หมดไป
เพื่อป้องกันจากฟันผุและโรคเหงือก และลดความเสี่ยงที่จะต้องกลับไปรักษารากฟันอีกครั้ง จึงควรพบทันตแพทย์สม่ำเสมอ
อย่างไรก็ตามเพื่อให้สุขภาพฟันของคุณสามารถคงอยู่ได้อย่างยาวนาน
ควรให้ความสำคัญกับ สุขภาพช่องปากและฟัน แปรงฟันสม่ำเสมอ หากพบความผิดปกติควรรักษาทันที ลด ละอาหารที่ก่อให้ เกิดฟันผุ เช่น ของหวาน น้ำอัดลม และเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำร้ายฟัน เช่น กัดของแข็ง ใช้ฟันดึงสิ่งของ
มิเช่นนั้นคุณอาจะทำการักษาฟันและ รักษารากฟัน บ่อยๆ หากดูแลรักษาอย่างดีจะสามารถยืดอายุ การใช้งานของฟันได้อีกยาวนาน
แหล่งอ้างอิง : ข้อมูลการรักษารากฟัน โดย มหาวิทยาลัยมหิดล คณะทันตแพทย์ศาสตร์