ปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นเรื่องที่หลายคนกังวลใจ เพราะนอกจากจะส่งผลต่อความมั่นใจในการยิ้มแล้ว ยังอาจนำไปสู่โรคอื่นๆ ที่ร้ายแรงได้อีกด้วย แต่สำหรับผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมแล้ว ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรมที่ได้รับจากประกันสังคม จะช่วยให้คุณดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างทั่วถึง โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายมากนัก สำหรับใครที่สนใจจะทำฟัน ประกันสังคม แต่ยังไม่มั่นใจว่าครอบคลุมบริการไหนบ้าง บทความนี้ มีคำตอบค่ะ
ทำฟันประกันสังคมคืออะไร
ทำฟัน ประกันสังคม คือ สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 สามารถใช้ในการเข้ารับบริการทางทันตกรรมได้ฟรีภายใต้วงเงิน 900 บาทต่อปี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด ภายในวงเงินที่กำหนดค่ะ ซึ่งเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพช่องปากให้กับประชาชนจากรัฐ
ทำฟันประกันสังคม แล้วไม่ต้องสำรองจ่ายจริงไหม
จริงค่ะ! ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 สามารถใช้สิทธิทำฟันประกันสังคมได้ โดย ไม่ต้องสำรองจ่าย ภายในวงเงินที่กำหนด ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 900 บาทต่อปี แต่ในกรณีนี้จะไม่นับรวมผู้ประกันตนตามมาตรา 40 นะคะ นอกจากนี้ ผู้ประกันตนตามมาตรฐาน 33 และ 39 จะต้องมีการสมทบเงินเข้ากองทุนครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน สำหรับผู้ประกันตนที่ลาออกจากงาน หลังจากที่ส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนแล้ว จะยังคงมีสิทธิทำฟันต่อไปได้อีก 6 เดือน นับจากวันที่ลาออกค่ะ
ทำฟันประกันสังคมที่ไหนได้บ้าง
สำหรับใครที่ต้องใช้ทำฟันด้วยสิทธิประกันสังคม เบื้องต้นสามารถใช้บริการได้ทั้งโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน และคลินิกทันตกรรม เพียงแต่จะต้องเป็นสถานพยาบาลที่มีการทำสัญญากับสำนักประกันสังคมค่ะ โดยวิธีสังเกตคลินิกหรือสถานพยาบาลที่ทำฟัน ประกันสังคมได้นั้น โดยส่วนใหญ่จะมีสติกเกอร์หรือป้ายประชาสัมพันธ์ติดไว้ให้เห็นชัดเจนว่า “สถานพยาบาลแห่งนี้ให้บริการผู้ประกันตน กรณีทันตกรรม ‘ทำฟัน’ ไม่ต้องสำรองจ่าย” หากเห็นป้ายที่แสดงข้อความดังนี้ หมายความว่าสถานพยาบาลแห่งนั้นสามารถทำทันตกรรมโดใช้สิทธิประกันสังคมได้ค่ะ
สามารถตรวจสอบรายชื่อสถานพยาบาลและคลินิกที่สามารถทำฟัน ประกันสังคมได้ที่ รายชื่อสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน
ทันตกรรม 900 บาท ทำอะไรได้บ้าง
สิทธิขูดหินปูน ประกันสังคม
สิทธิขูดหินปูน เป็นหนึ่งในสิทธิทันตกรรมจากประกันสังคม โดยหินปูนจะค่อยๆ เกาะตัวตามซี่ฟันและใต้เหงือก หากไม่ได้รับการขูดออก จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปากตามมา เช่น โรคเหงือก ฟันผุ และสูญเสียฟัน ดังนั้น การขูดหินปูนเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาสุขภาพช่องปากให้แข็งแรงค่ะ
สิทธิการอุดฟัน ประกันสังคม
การอุดฟันเป็นการรักษาที่สำคัญเพื่อรักษาสุขภาพช่องปาก การใช้สิทธิอุดฟันประกันสังคมจึงเป็นโอกาสดีที่จะช่วยให้คุณมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพช่องปากได้อีกด้วยค่ะ สำหรับใครที่มีแผนจะจัดฟัน โดยส่วนใหญ่แพทย์ก็จะแนะนำให้อุดฟันก่อนเช่นกันค่ะ
สิทธิถอนฟัน ประกันสังคม
การถอนฟัน คือ การรักษาทางทันตกรรมที่จำเป็นต้องนำเอาฟันซี่หนึ่งซี่ออกจากกระดูกเบ้าฟัน เนื่องจากฟันซี่นั้นไม่สามารถรักษาให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติอีกต่อไปค่ะ เช่น ในกรณีของผู้ที่มีปัญหาฟันผุเป็นโพรง เป็นต้น
สิทธิถอนฟันคุด / ผ่าฟันคุด ประกันสังคม
การถอนฟันคุดเป็นการรักษาที่จำเป็นเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพช่องปากในระยะยาว หากคุณมีอาการปวดหรือรู้สึกไม่สบายบริเวณฟันคุด แนะนำให้รีบถอนออกเพราะแรงดันจากฟันคุดที่พยายามดันขึ้นมาจะทำให้กระดูกรอบรากฟันหรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลายไปด้วยค่ะ ปกติแล้วการถอนหรือผ่าฟันคุจะมีราคาที่ค่อนข้างแพง ทำให้การใช้สิทธิทำฟัน ประกันสังคม จะช่วยให้คุณประหยัดเงินไปได้มากเลยทีเดียวค่ะ
สิทธิการทำฟันปลอม ประกันสังคม
สำหรับใครที่ต้องการทำฟันปลอม สิทธิประกันสังคมก็ครอบคลุมและช่วยเหลือในส่วนนี้เช่นกันค่ะ เพียงแต่อาจมีรายละเอียดที่แตกต่างออกไปเล็กน้อย ดังนี้
- ฟันปลอมชนิดถอดได้บางส่วน
- ฟันปลอมจำนวน 1-5 ซี่ เบิกได้เท่ากับที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 1,300 บาท
- ฟันปลอมจำนวน 5 ซี่ เบิกได้เท่ากับที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท
- ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปาก
- ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปาก บนหรือล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 2,400 บาท ในระยะเวลา 5 ปี
- ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปาก บนและล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท ในระยะเวลา 5 ปี
เอกสารที่ใช้เบิกค่าทำฟันประกันสังคม
สำหรับเอกสารที่จำเป็นต้องใช้สำหรับทำฟัน ประกันสังคม มีดังนี้ค่ะ
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม (สปส.2-16)
- ใบรับรองแพทย์
- ใบเสร็จรับเงิน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
- เวชระเบียนของแพทย์ผู้รักษา(กรณีเบิกฟันปลอมฐานอคริลิก) ทั้งนี้ แนะนำให้สอบถามสถานพยาบาลที่จะใช้บริการทำฟัน ประกันสังคมเพื่อความมั่นใจ และความครบถ้วนของเอกสารที่ต้องใช้ทุกครั้งค่ะ
- กรณีขอรับเงินทางธนาคาร ให้แนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ที่มีชื่อและเลขที่บัญชี 11 ธนาคาร ดังนี้ค่ะ
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
รายชื่อธนาคารอาจมีการเปลี่ยนแปลง
สามารถเช็กได้ที่เว็บไซต์ กรณีทันตกรรม (ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ผ่าตัดฟันคุด และใส่ฟันเทียม) โดยตรงค่ะ
ทำฟัน ประกันสังคม สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนตามกฎหมาย
ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 มีสิทธิ์ได้รับการรักษาทางทันตกรรม โดยสามารถใช้สิทธิทำฟันกับคลินิกทันตกรรมที่เข้าร่วมโครงการประกันสังคมได้ฟรีค่ะ โดยการทำฟัน ประกันสังคม 900 บาทครอบคลุมตั้งแต่การถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าตัดฟันคุด แต่สำหรับการทำฟันปลอมอาจมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันไป แนะนำให้สอบถามสถานพยาบาลหรือคลินิกทันตกรรมที่เลือกใช้บริการโดยตรงค่ะ