ฟันคุด
รู้ไว้ก่อนหากจำเป็นต้อง ผ่าฟันคุด กับ คุณหมอเฉพาะทาง !
อาการปวดฟัน จากปัญหา ฟันคุด เป็นอีกหนึ่งในปัญหาสุขภาพในช่องปากและฟันที่พบได้บ่อยๆ และมักจบลงด้วยการที่ทันตแพทย์แนะนำให้ผ่าฟันคุดออกเป็นส่วนใหญ่
ซึ่งหลายๆ คนยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการฟันคุดนี้ว่า จำเป็นแค่ไหนที่ต้องผ่าออก การผ่าฟันคุดออกนั้น มีข้อควรปฎิบัติ ตัวอย่างไร เมื่อ ปวดฟันคุด ทำอย่างไร ให้หาย เรามีคำตอบมาฝากค่ะ
เลือกอ่านหัวข้อฟันคุดที่ต้องการ
- ฟันคุด คืออะไร
- สาเหตุการเกิดฟันคุด
- ลักษณะฟันคุดต้องผ่า
- อาการฟันคุดเมื่อเป็นมีลักษณะอย่างไร
- ปวดฟันคุดมาก วิธีแก้อาการปวดฟันคุดทำยังไง กินยาช่วยได้ไหม
- ปวดฟันคุด นอนไม่หลับทำยังไงดี
- ทำไมต้องผ่าฟันคุดถอนฟันคุด
- ปวดฟันคุด ไม่ผ่าฟันคุด อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
- ขั้นตอนการถอนฟันคุดผ่าฟันคุด
- การดูแลรักษาภายหลังการผ่าฟันคุด
- หลังผ่าฟันคุด กินอะไรได้บ้าง
- หลังผ่าฟันคุด ห้ามกินอะไรบ้าง
- วิธีแก้ปวดฟันคุด หลังผ่าฟันคุด
- ผ่าฟันคุด ปวดฟันคุด กี่วันหาย
- อาการข้างเคียงหลังผ่าฟันคุด
- ควรเอาฟันคุดออกตอนอายุเท่าไหร่
- ผ่าฟันคุดเจ็บไหม
- ผ่าฟันคุดช่วยให้หน้าเรียวรึเปล่า
- มีฟันคุด ต้องผ่าฟันคุดไหม ไม่ผ่าได้รึเปล่า
- ถอนฟันคุดต้องรอให้เห็นฟันคุดก่อนไหม
- ปวดฟันคุดเหงือกบวม ผ่าฟันคุดเลยได้ไหม
- สามารถป้องกันการเกิดฟันคุดได้ไหม
- ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังผ่าฟันคุด
ฟันคุด คืออะไร
ฟันคุด ( Impacted Tooth, Wisdom Tooth ) คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติในช่องปาก แบบฟันซี่อื่นๆ โดยอาจโผล่ออกมาเพียงบางส่วนเท่านั้นหรือในบางกรณีฟันคุดนั้นฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ก็มี ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าฟันคุดขึ้นช้ากว่าฟันซี่อื่นๆ ทำให้ไม่มีช่องว่างเพื่อที่จะโผล่ขึ้นมาได้
ฟันคุดจะมีทั้งหมด 4 ซี่ ด้านในของช่องปากทั้งบนและล่างในฝั่งซ้ายและขวา สามารถพบได้บ่อยๆ ในบริเวณฟันกรามซี่สุดท้าย ซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง
สาเหตุการเกิดฟันคุด
ปกติแล้วฟันคุด คือฟันซี่ที่ควรจะขึ้นในช่วงอายุประมาณ 16-25 ปี โดยอาจโผล่ขึ้นมาในลักษณะ ตั้งตรง เอียง หรือนอนในแนวราบ และมักจะอยู่ชิดกับฟันซี่ข้างเคียงเสมอ ฟันคุดเกิดจากฟันที่พยายามงอกขึ้นมา จึงมีแรงผลักดันการงอก และเป็นไปได้ว่าจะเบียดฟันซี่ข้างๆ หรืองอกขึ้นมาในขากรรไกร
จึงเป็นที่มาที่ทำให้เกิดอาการปวดฟันรุนแรง สร้างความทรมานแก่คนไข้ และนอกจากฟันคุดบริเวณฟันกรามล่างซี่สุดท้ายแล้ว ยังสามารถพบฟันคุดได้บริเวณฟันซี่อื่นๆ ฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อย แต่พบได้น้อย กว่าฟันกรามล่างซี่สุดท้าย
ลักษณะฟันคุด ต้องผ่า
ฟันคุดที่ต้องผ่า เพื่อลดปัญหาอาการปวด และอาการติดเชื้อ เช่น การอ้าปากได้จำกัด หรือ กลืนน้ำลายเจ็บคอ ในอนาคต มี 2 ลักษณะ
- ฟันคุดที่มีเหงือกคลุม (soft tissue impaction) มีลักษณะแค่เหงือกอย่างเดียวที่ปกคลุมฟันคุด และตัวฟันมีลักษณะตั้งตรง สามารถเอาออกโดยการเปิดเหงือก ร่วมกับการถอนฟันคุด
- ฟันคุดที่มีกระดูกคลุม (bony impaction) มีทั้งเหงือกและกระดูกที่คลุมฟันคุด รวมถึง ลักษณะตัวฟันคุดมีตำแหน่งได้หลายแบบ เช่น ตั้งตรง , เอียงตัว , นอน ทำให้ต้องมีการกรอกระดูกร่วมกับการแบ่งฟันคุดเป็นส่วนๆ เพื่อนำฟันคุดออกมา
อาการฟันคุด เมื่อเป็นมีลักษณะอย่างไร
ฟันคุด ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หากตัวฟันไม่โผล่ขึ้นมาเหนือเหงือก ต้องใช้การเอกซเรย์จึงจะสามารถเห็นได้ อาการของผู้ที่มีฟันคุด อาจมีอาการปวดฟันแสดงให้รู้สึก โดยจะรู้สึกเจ็บปวดมาก หรืออาจมีอาการอักเสบของเหงือกรอบๆ แก้มบวมโย้ อ้าปากได้น้อย กลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ ร่วมด้วย ในบางรายอาจมีอาการบวมและติดเชื้อลุกลามมาถึงใบหน้า แก้ม และลำคอ
อาการปวดฟันคุด โดยมากเกิดจากการติดเชื้อของฟันหรือเหงือกบริเวณนั้น ทำให้เกิดอาการปวด บวม ยิ่งมีการติดเชื้อมากขึ้นเท่าไหร่ อาการปวดก็เพิ่มขึ้นเท่านั้น
หากคุณเป็นคนที่พบทันตแพทย์อยู่สม่ำเสมอ ในช่วงอายุประมาณ 17 -18 ปีแพทย์มักจะแนะนำให้ทำการตรวจเอกซเรย์ เช็คดูว่าฟันซี่สุดท้ายมีลักษณะอย่างไรบ้าง มีฟันคุดซ้อนตัวอยู่หรือไม่ ตำแหน่งใด และหากตรวจพบฟันคุด ทันตแพทย์ก็มักแนะนำให้ผ่าฟันคุดออกเสีย ตั้งแต่ยังไม่มีอาการเจ็บปวด เพราะถ้าปล่อยให้ฟันคุดต่อไปนอกจากจะไม่เป็นประโยชน์แล้ว ยังจะมีผลเสียต่อสุขภาพของช่องปากที่จะตามมาอีกด้วย
ปวดฟันคุดมาก วิธีแก้อาการปวดฟันคุดทำยังไง กินยาช่วยได้ไหม
การทานยาแก้ปวดอย่างเดียว เป็นเพียงแค่การบรรเทาอาการ ไม่ได้แก้ที่สาเหตุ ซึ่งถ้าปล่อยไว้อาจลุกลามเป็นปวดฟันรุนแรง มีการบวมและติดเชื้อ เข้าสู่บริเวณใบหน้าและลำคอ
ทันตแพทย์จะทำการรักษาเพื่อแก้ที่สาเหตุด้วยการถอนฟันหรือผ่าตัดฟันคุดออกในทันที ร่วมกับการระบายการติดเชื้อ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้นการรีบมาพบทันตแพทย์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก
ปวดฟันคุด นอนไม่หลับทำยังไงดี
การปวดฟันคุดเป็นสัญญาณว่ามีการติดเชื้อแล้ว อันดับแรก ควรต้องรีบนัดทันตแพทย์มาทำการรักษาในเช้าวันรุ่งขึ้น เพื่อทำการกำจัดสาเหตุออกเพื่อทุเลาอาการโดยการผ่าฟันคุด ร่วมกับการทานยาแก้ปวด และยาฆ่าเชื้อ จะได้นอนหลับในคืนถัดไป
ทำไมต้องผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด
ดังที่กล่าวมาข้างต้นว่า ฟันคุด ไม่ได้มีประโยชน์ ตามหลักการแล้วฟันคุดทุกซี่ควรจะได้รับการเอาออกโดยเร็วที่สุดหลังตรวจพบ
ฟันคุดสามารถสร้างอันตรายต่อสุขภาพฟันได้หลายประการ ดังนี้
- ฟันคุดตัวการทำให้ฟันผุ เมื่อฟันคุดงอกขึ้นมาในลักษณะผิดรูปจึงเป็นที่กักเศษอาหารได้เป็นอย่างดี และเมื่อเราไม่สามารถทำความสะอาดออกได้ทั้งหมด แน่นอนว่าเป็นเรื่องยากเพราะอยู่ลึกใกล้ลำคอด้านใน ส่งผลให้ฟันคุดซี่นั้นผุและมักลุกลามไปยังฟันซี่ข้างๆ ให้ผุตามไปด้วย ในบางรายนอกจาก จะต้องผ่าฟันคุดออกแล้ว ยังจำเป็นต้องถอนฟันซี่ข้างๆ ที่ผุออกตามไปด้วยอีกซี่ก็มี
- ฟันคุดบ่อเกิดปัญหาเหงือกอักเสบ เมื่อฟันคุดงอกโผล่ออกมาไม่หมด อาจมีเหงือกเข้าไป ปกคลุมฟัน และเมื่อมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือกแล้ว ไม่สามารถทำความสะอาดได้ เชื้อแบคทีเรียที่มาสะสมอยู่จะทำให้เหงือกเกิดการอักเสบ ปวดและบวมเป็นหนอง เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค ไปยังส่วนอื่นๆ มีการติดเชื้อ บางรายกลืนไม่ได้ ลุกลามลงคอ อาจทำให้หายใจไม่ได้ จำเป็นต้องพบแพทย์โดยเร่งด่วน
- ฟันคุดมีโอกาสทำให้เกิดถุงน้ำ เมื่อมีฟันคุดเนื้อเยื่อรอบอาจพัฒนาเป็นถุงน้ำหรือเนื้องงอกได้ และด้วยฟันคุดที่มักอยู่ติดกับขากรรไกร จึงดัน เบียดกินกระดูกขากรรไกรไปเรื่อยๆ ในอนาคตจะส่ง ผลให้ใบหน้าผิดรูป มีโอกาสในการสูญเสียอวัยวะขากรรไกร และกระดูกขากรรไกรหักง่ายหากมีการกระทบ
นอกจากนี้การถอนฟันคุดยังมีวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น การจัดฟัน ต้องถอนฟันกรามซี่ที่สาม ออกเสียก่อนเพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนฟันซี่อื่นๆ เป็นต้น
ปวดฟันคุด ไม่ผ่าฟันคุด อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
การปล่อยฟันคุดไว้นาน ๆ อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปากมากมาย ยกตัวอย่างเช่น
- เหงือกอักเสบ
- ฟันซี่ข้าง ๆ ผุ
- ฟันล้ม ฟันเก
- มีกลิ่นปาก
- มีปัญหาการสบฟัน
- แรงดันจากฟันคุดจะไปทำลายกระดูกรอบ ๆ รากฟันหรือรากฟันข้างเคียงจนต้องรักษารากฟัน
- มีโอกาสใบหน้าผิดรูป
- ปัญหาที่ไซนัส การติดเชื้อในเหงือก ใบหน้าและลำคอ อาจทำให้หายใจลำบาก
ขั้นตอนการถอนฟันคุด ผ่าฟันคุด
เมื่อเอกซเรย์ตรวจพบตำแหน่งของฟันคุด ทันตแพทย์จะวางแผนการผ่าฟันคุดออก ซึ่งขั้นตอนการผ่าฟันคุดออกนั้นเป็นเรื่องง่าย ไม่ได้น่ากลัวอย่างหลายคนกังวล และไม่ต่างไปจากการถอนฟันซี่อื่นๆ มากนัก
โดยทันตแพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่เพื่อระงับความรู้สึก หลังจากนั้นก็จะเปิดเหงือกเพื่อให้เห็น ฟันคุดซี่นั้นๆ แล้วใช้เครื่องกรอตัดฟันออกมา แล้วล้างทําความสะอาดก่อนเย็บแผลปิด การผ่าฟันคุดไม่จำเป็นต้องเสียเวลาพักฟื้น เมื่อทำเสร็จสามารถกลับบ้านได้ไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล
การดูแลรักษาภายหลังการผ่าฟันคุด
- หลังผ่าตัดฟันคุด ห้ามบ้วนเลือดและนํ้าลาย ในวันนั้น เพราะอาจทําให้เลือดไหลไม่หยุดได้ ให้กัดผ้าก๊อสนาน 1-2 ชั่วโมง กลืนนํ้าลายตามปกติได้
- ควรประคบนํ้าแข็ง หรือ cold pack บริเวณแก้ม ในช่วง 3-5 วันแรก เพื่อลดอาการบวม
- หลังจากวัน ผ่าตัดอาจมีอาการตึงๆบริเวณแก้มด้านที่ทําการผ่าตัด ควรฝึกบริหารกล้ามเนื้อโดยการอ้าปาก
- ระหว่างช่วงที่มีอาการปวดฟันคุด โดยในช่วงเวลานั้นสามารถรับประทานยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะตามแพทย์สั่ง เพื่อบรรเทาอาการ และรับประทานอาหารได้มากขึ้น
- แนะนำให้เลือกรับประทานอาหารชนิดอ่อนๆ ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนต่อแผล
- การทำความสะอาด สามารถแปรงฟันทําความสะอาดในช่องปากตามปกติ และกลับไปตัดไหมหลังผ่าตัด 5- 10 วัน
หลังผ่าฟันคุด ห้ามกินอะไรบ้าง
- ห้ามรับประทานอาหารเผ็ดจัด ร้อนจัด
- สามารถอมน้ำแข็ง ทานของเย็นๆได้
- ห้ามรับประทานอาหารที่มีความแข็งที่อาจส่งผลกระทบฟันและแผลผ่าตัด
- ห้ามสูบบุหรี่อย่างน้อย 3 วันแรก เนื่องจากการสูบบุหรี่จะเป็นการขัดขวางการหายของแผลและมีเลือดออกจากแผลมากขึ้น
วิธีแก้ปวดฟันคุด หลังผ่าฟันคุด
หลังจากผ่าตัดฟันคุดแล้วควรจะต้องดูแลตนเองตามที่ทันตแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด มิเช่นนั้นอาจมีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนมากขึ้น เช่น
- เลือดไหลจากแผลผ่าตัดมากกว่าปกติ อาจเกิดจากการห้ามเลือดที่ไม่ถูกต้อง หรือเป็นผู้ที่มีภาวะเลือดไหลหยุดยาก
- การติดเชื้อหลังผ่าตัด อาจเกิดจากการดูแลความสะอาดแผลผ่าตัดไม่ดีพอ
- การอักเสบจากการผ่าตัดฟันคุดที่อยู่ลึกมาก ๆ จนเนื้อเยื่อบอบช้ำ
- ชาที่ใบหน้า ริมฝีปาก หรือลิ้น อาจเกิดจากยาชา หรือการผ่าตัดไปกระทบกับเส้นประสาทรับความรู้สึกที่อยู่บริเวณขากรรไกรล่าง
ถ้ามีอาการเหล่านี้ควรรีบติดต่อไปพบทันตแพทย์เพื่อหาทางแก้ไขให้ทันท่วงที
อาการข้างเคียงหลังผ่าฟันคุด
หลังผ่าฟันคุดผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดค่อยข้างเกิดขึ้นได้ แต่ค่อนข้างน้อยมาก เช่น มีเลือดไหลจากแผลผ่าตัดมากกว่าปกติ บางรายมีไข้ หรือมีการติดเชื้อหลังการผ่าตัด อาการปวดบวมไม่ทุเลา มีกลิ่นปาก มีอาการเจ็บแปลบๆ หรือ ชาที่ใบหน้า ริมฝีปาก หรือลิ้น ถ้ามีอาการเหล่านี้ควรรีบติดต่อไปพบทันตแพทย์เพื่อหาทางแก้ไขให้ทันท่วงที
ควรเอาฟันคุดออกตอนอายุเท่าไหร่
หากพบว่ามีฟันคุดสามารถทำการผ่าออกได้ ยิ่งเร็วยิ่งดี การผ่าตัดในช่วงที่อายุยังน้อย 18 – 25 ปี สามารถทำได้ง่ายกว่า ฟื้นตัวได้ไวกว่า แผลหายเร็วกว่า และผลแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดต่ำ เมื่อเทียบกับการผ่าตัดฟันคุดในช่วงอายุมากกว่า 25 ปี เช่น อาการชาของริมฝีปากล่างจากฟันคุดใกล้เส้นประสาท
ผ่าฟันคุดเจ็บไหม
ความเจ็บหรือไม่เจ็บขึ้นอยู่กับคุณหมอที่ให้การรักษาว่าสามารถควบคุมการฉีดยาชาได้ดีขนาดไหน ถ้าควบคุมได้ดีมาก คนไข้จะไม่มีอาการเจ็บเลยในขณะทำการรักษา แต่ถ้าคนไข้มีอาการกลัวมากๆ การผ่าฟันคุดโดยการดมยาสลบ ก็เป็นคำตอบในการรักษาครับ
ผ่าฟันคุดช่วยให้หน้าเรียวรึเปล่า
การผ่าฟันคุด หรือการถอนฟันคุด ไม่ได้ช่วยทำให้ใบหน้าของเราเรียวลง เพราะไม่ได้เป็นการช่วย ทำให้ขากรรไกรมีขนาดเล็กลง
มีฟันคุด ต้องผ่าฟันคุดไหม ไม่ผ่าได้รึเปล่า
โดยปกติแพทย์มักแนะนำให้ถอนฟันคุดออกในทุกกรณี กรณีที่พบฟันคุดแล้วไม่ผ่าออกนั้น แพทย์จะต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆ รวมด้วย เช่น ตำแหน่งของฟันคุด ฟันคุดกับตำแหน่งเส้นประสาท รวมทั้งยังต้องคำนึงถึงอายุด้วย ดังนั้นควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อประกอบการตัดสินใจและวางแผนการรักษา
ปวดฟันคุดเหงือกบวม ผ่าฟันคุดเลยได้ไหม
สามารถทำการผ่าฟันคุดได้ครับ เดิมทีมีความเชื่อเก่าๆ ว่าควรรอให้หายปวดก่อน หรือรอให้หายเหงือกบวมก่อน แล้วค่อยมาผ่าฟันคุด แนะนำว่าอย่ารอครับ เพราะเราไม่รู้ว่าเหงือกบวมจากฟันคุดจะมีการติดเชื้อที่ลุกลามไปบริเวณใบหน้า ศีรษะ ลำคอ เช่น มีอาการอ้าปากได้จำกัด ,แก้มบวม, กลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ ซึ่งส่งผลต่อการลุกลามของเชื้อเข้าสู่อวัยวะอื่นๆ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุด คือการเข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุด คือ การผ่าฟันคุด ร่วมกับการได้รับยาฆ่าเชื้อ กับคุณหมอเฉพาะทางครับ
สามารถป้องกันการเกิดฟันคุดได้ไหม
ฟันคุดเป็นฟันที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จึงไม่สามารถป้องกันได้ สิ่งที่ดีที่สุดคือการตรวจเช็คสุขภาพช่องปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ หากพบความผิดปกติ จะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที
การผ่าฟันคุดออก ไม่ได้เป็นเรื่องน่ากลัว หากเปรียบเทียบกับโทษที่อาจเกิดจากฟันคุด และหากพบว่ามีฟันคุดเกิดขึ้นแล้วแต่ปล่อยปละละเลย กลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค และการติดเชื้อลุกลามไปอวัยวะอื่น ๆ จะยิ่งก่อปัญหาสุขภาพปากและช่องฟันตามมา
แน่นอนว่ามี ปัญหาสุขภาพปากและช่องฟันตามมา ทั้งเหงือกอักเสบ ฟันผุ เกิดขึ้นได้ สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าตนเองมีฟันคุดหรือไม่ สามารถตรวจเอกซเรย์หาตำแหน่งของฟันคุดได้ โดยคุณสามารถวางแผนกา รักษากับทันตแพทย์ได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้เกิดอาการปวด ส่งผลเสียในภายหลัง
เวลากินพวกเนื้อสัตว์เช่นไก่ย่างหมูทอดอ่ะค่ะพอเวลากินเสร็จมันจะมีอาการปวดมากๆที่ฟันคุดอ่ะค่ะต้องรักษายังไงคะ
สามารถนัดเพื่อปรึกษาและผ่าฟันคุดได้เลยค่ะ
ปวดเหงือกมากเลยค่ะ ตอนนี้อายุ21ปี กำลังมีน้องค่ะ จำเป็นไหมค่ะที่ต้องรอให้น้องถึงอายุครรภ์4-5 เดือน ถึงจะผ่าหรือถอนได้ ในตัวเราไม่เข้าใจตรงนี้ค่ะ ขอวิธีแนะนำหน่อยค่ะ ทานข้าวลำบากมากค่ะ
แนะนำให้เริ่มถอนตอนไตรมาสที่ 2 (เดือนที่ 4-6) แต่หากคนไข้ปวดมากสามารถนัดเข้ามาตรวจทางคลินิกได้ค่ะ
สวัสดีค่ะ เคยไปเอ็กซ์เรย์รากแล้วหมอบอกไม่เจอฟันคุด แต่ก็มีอาการปวดหายไม่ตลอดควรทำยังไงคะ เวลาปวดจะปวดเหงือกด้านล่างในสุดตรงขากรรไกรปวดจนอ้าปากไม่ได้เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไรค่ะ
สามารถนัดเข้ามาตรวจได้ค่ะ อาจจะเป็นอาการของกล้ามเนื้อและข้อต่อขากรรไกร