รากฟันเทียม

การทำรากฟันเทียม คืออะไร เป็นฟันปลอมที่ดีที่สุด จริงไหม ?

การทำรากฟันเทียม คือ คำตอบที่ดีที่สุด ในการทดแทนฟันที่สูญหายไป
เพราะสามารถเลียนแบบความเป็นฟันธรรมชาติซี่นั้นได้แทบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ รากฟันเทียม ช่วยในแง่ ‘ความสวยงาม’ และ ‘การใช้งาน’

รากฟันเทียม ราคา สุดคุ้ม พร้อมข้อมูลที่น่าสนใจ ก่อนตัดสินใจ ทำรากฟันเทียม ที่คุณหมอแนะนำให้อ่าน ให้ครบทุกหัวข้อนะครับ
เพราะรากฟันเทียม หากทำแล้ว ใช้งานอยากถูกต้อง จะสามารถอยู่กับเราได้ถึง 10-20 ปี หากเราดูแลดีๆ 
ซึ่งคนไข้สามารถปรึกษา การใส่รากฟันเทียม กับทันตแพทย์มหิดล ได้ฟรี ที่ smile and co dental clinic

เลือกหัวข้ออ่านรากฟันเทียม

รากฟันเทียม คืออะไร

หลายคนคงเคยสงสัยและอยากรู้ว่าอะไรคือ รากฟันเทียม และทำไมต้อง ใส่รากฟันเทียม

รากฟันเทียม (dental implant) คือ รากฟันเทียมที่ทำมาทดแทนรากฟันจริง ซึ่งผลิตจากวัสดุไททาเนียม  titanium ที่ได้รับ การออกแบบเป็นพิเศษ

เข้ากับร่างกายของคนเราได้ดี จึงสามารถฝังลงเพื่อให้ยึดติดกับกระดูกขากรรไกรของคนไข้ที่มีปัญหาเรื่องรากฟัน ช่วยทำให้ฟันเทียมติดแน่น รากฟันเทียมจะทำหน้าที่แทนรากฟันธรรมชาติเพื่อรองรับ ทันตกรรมฟันปลอม,ครอบฟัน หรือ สะพานฟัน ที่ให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด

รากฟันเทียม เป็น ฟันปลอม ที่ดีที่สุดคล้ายฟันธรรมชาติ ยึดติดแน่น ไม่ต้องถอดออก มีการตอบรับที่ดีกับ เนื้อเยื่อ เมื่อเวลาผ่านไปรากฟันเทียมจะยึดติดกับส่วนเดียวกับกระดูก ปัจจุบันการใส่รากฟันเทียมถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด วิธีหนึ่งเลยทีเดียว

ราคารากฟันเทียม อาจจะสูงอยู่บ้างแต่เมื่อเทียบกับอายุการใช้งานถือว่าคุ้มค่ามากๆ

ก่อนใส่รากฟันเทียม

การทำรากฟันเทียม

หลังใส่รากฟันเทียม

ทำรากฟันเทียมทดแทนฟันที่หายไป

ปัญหาสุขภาพฟันที่หายไป ส่งผลต่อเราอย่างไร ?

ฟันหายไป

เมื่อฟัน 1 ซี่ หรือ หลายซี่หายไป และไม่ได้รับการใส่ฟันตามเวลาที่สมควร

  1. ฟันข้างเคียงจะพยายามเข้ามาปิดช่อง ซึ่งส่งผลต่อฟันซี่นั้นจะเอียงหรือ ล้ม ทำให้ซี่นั้น ผุง่าย เป็นโรคเหงือก หรือปริทันต์ได้ง่าย กระดูกบริเวณนั้นหายไป จนเป็นเหตุให้ต้องถอนฟันอีกต่อเนื่อง
  2. ฟันคู่สบ จะพยายามเคลื่อนตัวมาบริเวณช่องนั้น ส่งผลให้ฟันยื่นยาว และเสียวฟันบริเวณนั้น ซึ่งหากปล่อยไว้ จะส่งผลให้ต้องถอนฟันซี่นั้นตามมา
  3. ฟันที่เหลืออยู่ (มีจำนวนน้อยลง) แต่ต้องรับแรงบดเคี้ยวเท่าเดิม ทำให้ฟันที่เหลืออยู่ได้รับแรงมาเกินไป ส่งผลให้ฟันแตก
  4. ใบหน้า ดูมีริ้วรอย จากการสูญเสียความสูงของฟัน บดเคี้ยวด้านหลัง
  5. ความสวยงามที่หายไป การขาดความมั่นใจ หรือยิ้มแล้วเห็นฟันหลอ โดยเฉพาะบริเวณฟันหน้า

รากฟันเทียม (implant) ช่วยอะไรได้บ้าง

เมื่อฟัน 1 ซี่ หรือ หลายซี่หายไป และไม่ได้รับการใส่ฟันตามเวลาที่สมควร

  1. ฟันข้างเคียงจะพยายามเข้ามาปิดช่อง ซึ่งส่งผลต่อฟันซี่นั้นจะเอียงหรือ ล้ม ทำให้ซี่นั้น ผุง่าย เป็นโรคเหงือก หรือปริทันต์ได้ง่าย กระดูกบริเวณนั้นหายไป จนเป็นเหตุให้ต้องถอนฟันอีกต่อเนื่อง
  2. ฟันคู่สบ จะพยายามเคลื่อนตัวมาบริเวณช่องนั้น ส่งผลให้ฟันยื่นยาว และเสียวฟันบริเวณนั้น ซึ่งหากปล่อยไว้ จะส่งผลให้ต้องถอนฟันซี่นั้นตามมา
    ฟันที่เหลืออยู่ (มีจำนวนน้อยลง) แต่ต้องรับแรงบดเคี้ยวเท่าเดิม ทำให้ฟันที่เหลืออยู่ได้รับแรงมาเกินไป ส่งผลให้ฟันแตก
  3. ใบหน้า ดูมีริ้วรอย จากการสูญเสียความสูงของฟัน บดเคี้ยวด้านหลัง
  4. ความสวยงามที่หายไป การขาดความมั่นใจ หรือยิ้มแล้วเห็นฟันหลอ โดยเฉพาะบริเวณฟันหน้า

รากฟันเทียมเหมาะกับใคร

  1. บุคคลที่มีการสูญเสียฟัน และปฏิเสธการใส่ฟันปลอมแบบถอดได้
  2. บุคคลที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
  3. บุคคลที่มีสุขภาพดี หรือ มีโรคประจำตัวที่สามารถควบคุมได้ สามารถเข้ารับการฝังรากเทียมได้ และมาตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

ก่อนจะทำรากฟันเทียม คุณหมอแนะนำให้อ่าน ข้อมูลเกี่ยวกับ เลือกทำรากฟันเทียมที่ไหนดีที่สุด

ซึ่งคุณหมอ เคยเขียน Check list ไว้ที่นี่ครับ

เลือกทำรากฟันเทียมที่ไหนดีที่สุด เลือกจากปัจจัยอะไรบ้าง ?

รากฟันเทียมประกอบด้วยอะไรบ้าง

ส่วนประกอบรากฟันเทียม

ส่วนประกอบ รากฟันเทียม

  • Implant body or Fixture คือ ส่วนที่อยู่ในกระดูกขากรรไกร ฝังตรงใต้เหงือก ทำให้หน้าที่แทนรากฟันจริง มีลักษณะคล้ายสกรู
  • Implant Abutment คือ ส่วนที่รับรองตัวครอบฟัน ที่ถูกนำมาใช้ทดแทนโครงสร้างแกนฟัน ต่อจากส่วน body 
  • Crown คือ ตัวฟันทำจากเซรามิก โดยมีสีเหมือนฟันและรูปร่างลอกเลียนฟันธรรมชาติ
  • Prosthetic component คือ ส่วน ทันตกรรมประดิษฐ์ หรือส่วนของฟันเทียม เช่น ครอบสะพาน โดยใช้กาวทางทันตกรรมยึด

รากฟันเทียมมีกี่แบบ

  1. รากฟันเทียม 1 ซี่ แบบปกติ (single tooth)
  2. รากฟันเทียมหลายซี่ (Multiple Dental Implants)
  3. การทำรากฟันเทียม ฟันหายเป็นจำนวนมาก (implants support bridge)
  4. การทำรากฟันเทียมาทดแทนฟันที่หายไปทั้งปาก (implants over denture)
  5. รากฟันเทียม ทั้งปาก แบบ All on 4

อ่านเพิ่มเติม : รากฟันเทียมมีกี่แบบ แต่ละแบบ ต่างกันอย่างไร พร้อมรีวิว

ทำรากฟันเทียม ภายใน 1 วัน one day implant คืออะไร

รากฟันเทียม ภายใน 1 วัน หรือ one day implant จะมีความพิเศษมากกว่ารากฟันเทียมที่ทำโดยทั่วไป คือ เรื่องเวลา ที่เสร็จเร็วกว่า ใช้งานได้เลย เพราะในวันที่ทำจะถอนฟัน พร้อมฝังรากเทียม รวมถึงใส่ครอบฟันแบบชั่วคราวในวันนั้นเลย ทำให้สามารถยิ้ม พูดคุย อย่างมั่นใจ ภายในวันนั้น

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่จะเหมาะสมในการทำรากฟันเทียมภายใน 1 วัน เพราะต้องมีข้อพิจารณาต่างๆ เพื่อให้เกิดความสำเร็จของรากเทียมให้ได้มากที่สุด

ข้อดีและข้อจำกัดของการทำรากฟันเทียมภายใน 1 วัน

ข้อดี

  1. ฟื้นฟูความสวยงามและการใช้งานได้ทันที ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้พร้อมกับฟันชั่วคราวในวันเดียวกัน ทำให้สามารถยิ้ม พูด และใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมั่นใจตั้งแต่วันแรก
  2. ลดระยะเวลารวมของการรักษา ไม่ต้องรอนัดหลายครั้งเป็นเวลาหลายเดือนเหมือนรากฟันเทียมแบบดั้งเดิม จึงประหยัดเวลาและเดินทางน้อยลง
  3. ช่วยรักษาสภาพเนื้อเยื่อเหงือกและกระดูกขากรรไกร การใส่รากฟันเทียมทันทีหลังถอนฟันช่วยลดการละลายของกระดูกและรักษารูปร่างของเหงือก ทำให้ใบหน้าไม่ตอบ และดูอ่อนเยาว์กว่า
  4. ลดจำนวนการผ่าตัด รวมขั้นตอนถอนฟัน ฝังรากเทียม และใส่ครอบฟันชั่วคราวไว้ในการผ่าตัดเพียงครั้งเดียว จึงลดความไม่สบายตัวและความเสี่ยงจากการใช้ยาชาซ้ำหลายครั้ง
  5. ส่งผลดีต่อสภาพจิตใจและอารมณ์ของผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ที่สูญเสียฟันหน้าหรือฟันในตำแหน่งที่เห็นได้ชัด การมีฟันให้ยิ้มได้ทันทีส่งผลบวกต่อความมั่นใจและคุณภาพชีวิต

ข้อจำกัด

  1. ต้องได้รับการคัดกรองอย่างเหมาะสม ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถทำได้ ต้องมีปริมาณกระดูกที่เพียงพอ เหงือกแข็งแรง ไม่มีการติดเชื้อ และสุขภาพช่องปากโดยรวมต้องดี
  2. ความเสี่ยงต่อความล้มเหลวของรากฟันเทียมสูงขึ้น การใส่ครอบฟันทันทีอาจทำให้เกิดแรงกระแทกต่อรากเทียมในระยะฟื้นตัว ส่งผลต่อการยึดติดกับกระดูกได้ หากควบคุมแรงบดเคี้ยวไม่ดีพอ
  3. ต้องวางแผนการรักษาอย่างละเอียดและซับซ้อนมากขึ้น ต้องใช้การเอกซเรย์ 3 มิติ การพิมพ์ปากแบบแม่นยำ และเทคนิคการผ่าตัดขั้นสูง ข้อผิดพลาดเล็กน้อยอาจส่งผลต่อผลลัพธ์ในระยะยาว
  4. ครอบฟันชั่วคราวมีข้อจำกัดในการใช้งาน ฟันที่ใส่ในวันแรกมักเป็นชิ้นงานชั่วคราว ไม่สามารถรับแรงเคี้ยวหนักได้ ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เช่น การรับประทานอาหารอ่อน
  5. ค่าใช้จ่ายอาจสูงกว่าการรักษาแบบทั่วไป เนื่องจากใช้เทคโนโลยีทันสมัย วัสดุคุณภาพสูง และทันตแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์มาก ทำให้ต้นทุนโดยรวมสูงกว่าการใส่รากฟันเทียมแบบปกติ

ชนิดของรากฟันเทียม

โดยทั่วไป ถ้าแบ่งง่ายๆต่อความเข้าใจ จะแบ่งตามระยะเวลาการใส่รากเทียมหลังจากถอนฟัน หรือระยะเวลาการใส่ครอบฟันบนรากเทียม

  • Conventional Implant คือ แบบดั้งเดิม เป็นแบบที่แน่นอนที่สุด แต่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาในการรักษา แบบนี้ หลังจากถอนฟัน แล้วจะรอ 3-6 เดือน เพื่อให้กระดูกที่ถอนฟันไปมีการหายที่สมบูรณ์ แล้วค่อยใส่รากเทียม จากนั้น รออีก 3-6 เดือน เพื่อให้กระดูกยึดติดกับพื้นผิวรากเทียม แล้ว ค่อยทำครอบฟันบนรากฟันเทียม
  • Immediate implant placement แบบนี้จะประหยัดเวลากว่า แบบแรกคือ หลังจากถอนฟัน แล้วทำการใส่รากฟันเทียมเลย จากนั้น รอ 3-6 เดือน แล้วค่อยมาทำครอบฟันบนรากฟันเทียม เหมาะกับ ฟันหน้า หรือ ฟันหลัง ที่มีกระดูกที่พอเพียง สำหรับการถอนฟัน แล้วใส่รากฟันเทียม ร่วมกับการปลูกกระดูก ซึ่งต้องให้ คุณหมอเฉพาะทางเป็นผู้ประเมินความเป็นไปได้ในแต่ละเคส รวมถึงการ X-ray 3 มิติ
  • Immediate loaded implant คือการใส่รากฟันเทียม ร่วมกับการทำครอบฟัน บนรากเทียมเลยในวันนั้นเลย ข้อดีคือ ประหยัดเวลามาก แต่ควรจะประเมินให้ดีโดยคุณหมอถึงความเป็นไปได้ในแต่ละเคส ซึ่งมีปัจจัยต่างๆ เช่น ปริมาณกระดูกที่มีอยู่ , ลักษณะการสบฟัน รวมถึงความคาดหวังในการรักษาของคนไข้แต่ละท่าน  

ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม

1. การฝังรากฟันเทียม

การฝังรากฟันเทียม
  • ปรึกษาทำรากฟันเทียมกับทันตแพทย์ ทันตแพทย์จะตรวจดูสภาพกระดูกและ x-ray หรือในกรณีที่มีการฝังรากฟันเทียมหลายตัว ทันตแพทย์จะพิมพ์ฟันเพื่อประกอบการวางแผนการรักษา และทำ surgical guide 
  • ทันตแพทย์จะอธิบายขั้นตอนการรักษา รวมถึงการทำศัลยกรรมอื่น ๆ เช่นการปลูกกระดูก (bone graft) หรือการยกผนังไซนัส (maxillary sinus lifting) (ถ้ามี) และจะแจ้งค่าใช้จ่ายในการรักษา รวมถึงนัดหมายวันฝังรากเทียม
  • การเตรียมตัวก่อนการฝังรากเทียม
    • พักผ่อนให้เพียงพอ
    • รับประทานยาประจำตัวให้เรียบร้อย
    • ทำใจให้สบาย
  •  เมื่อถึงวันฝังรากเทียม  ทันตแพทย์จะฝังรากเทียมภายใต้ยาชาเฉพาะที่  การรักษาในแต่ละครั้ง ประมาณ 1 ชั่วโมง  กรณีที่มีการศัลยกรรมอื่น ๆ ร่วมด้วย จะใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง ทันตแพทย์จะเย็บแผล และนัดมาตัดไหม 1 อาทิตย์

2. การใส่ครอบฟัน

การใส่ครอบฟัน
  • หลังจากฝังรากเทียม 3-6 เดือน รอให้ฟันเทียมยึดติดกับกระดูก  ทันตแพทย์จะนัดมาทำครอบฟัน
  • ทันตแพทย์จะพิมพ์บริเวณรากฟันเทียม และส่งแลปเพื่อทำครอบรากฟันเทียม
  • หลังจากนั้น 1-2 อาทิตย์ ทันตแพทย์จะนัดมาใส่ครอบรากฟันเทียม
  • ตรวจเช็ครากฟันเทียม 1 เดือน, 3 เดือน , 6 เดือน และทุก ๆ ปีหลังจากทำ

อ่านเพิ่มเติม : ครอบฟัน คืออะไร เปลี่ยนฟันเสียให้เป็นฟันสวยได้อย่างไร

รีวิวเคสรากฟันเทียม

เคสรากฟันเทียม Astratech ฝังบริเวณฟันหน้า 3 ซี่ ร่วมกับการปลูกกระดูกแบบ particulate bone graft

เคสรากเทียมยากๆ เคสนี้คุณหมอใช้รากเทียม AstraTech แบบ 1:1
ฝังบริเวณฟันหน้า 3 ซี่ ร่วมกับการปลูกกระดูกแบบ particulate bone graft เพื่อให้ได้กระดูกที่สวยงาม

เคสรากฟันเทียม

การรักษารากเทียมที่สมบูรณ์แบบ ไม่ใช่จากการฝังรากฟันเทียมที่ดี หรือการใส่ครอบเสร็จเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องมีการดูแลและติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้รากฟันเทียมเหล่านี้ มี “อายุการใช้งาน” ที่ยาวนานที่สุด

ตัวอย่างเคสคนไข้ที่ได้รับการฝังรากฟันเทียม และมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เคสนี้ คนไข้ดูแลรักษารากฟันเทียมได้อย่างดีเยี่ยม และเมื่อติดตามอาการ กระดูกบริเวณรอบยังแข็งแรงสมบูรณ์ เป็นปกติเหมือนวันแรก

รักษารากฟันเทียม พร้อมจัดฟัน invisalign

ลองดูที่ x-ray before จะเห็น ‘ฟันกรามด้านบนย้อยลงมา’ ‘ฟันกรามล่างล้มเข้าหาช่องว่าง’ ทำให้เกิดโรคปริทันต์อักเสบ ‘ฟันหน้าล่างห่างออก’

เมื่อมีฟันหาย จึงแนะนำให้มีการใส่ฟันปลอมทดแทน เคสนี้มาด้วยปัญหาฟันห่าง และต้องการใส่ฟัน การรักษาจึงทำร่วมกัน ระหว่างการจัดฟัน และรากฟันเทียม

คุณหมอกิ๊ก ณัฐนันท์ ได้วางแผนจัดฟัน โดยใช้ Invisalign ปิดช่องฟันห่าง และดันฟันกรามบนที่ย้อยขึ้น เมื่อได้ตำแหน่งแล้ว คุณหมอกอล์ฟ ธนพล และคุณหมอวรรณ วรวรรณ ได้ทำการรักษารากฟันเทียมทดแทนฟันที่หายไป ให้คนไข้มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น บดเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยิ้มได้อย่างมั่นใจ

เคสรีวิวรากฟันเทียม 2 ซี่ เคสฟันเขี้ยว ฟันตัดข้างหาย

เคสนี้ฟันเขี้ยวและฟันตัดข้างหาย ได้รับการรักษาโดยการฝังรากฟันเทียม 2 ซี่ โดยคุณหมอธนพล และทำครอบรากฟันเทียมโดยคุณหมอวรวรรณ

รากฟันเทียมราคา

หลายคนที่มีปัญหาอยาก ทำรากฟันเทียม ก็คงอยากจะทราบ ราคารากฟันเทียม และสงสัยว่าการทำรากฟันเทียมราคาเท่าไหร่

โดยการทำ ฟันปลอม รากเทียม ราคามีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับปัญหาช่องปากและความต้องการของคนไข้ หากไม่สะดวกจ่ายเต็มจำนวน

ทางคลินิกก็มีบริการผ่อนชำระเป็นรายงวด เพื่อให้คนไข้เกิดความสะดวกและเข้าถึงบริการ การทำรากฟันเทียม ได้

ยี่ห้อ ราคา (รวมครอบฟันแบบ All ceramics)
รากฟันเทียม Hiossen (อเมริกา) 39,000
รากฟันเทียม Astra Tech ( สวีเดน) 59,000
รากฟันเทียม Straumann (สวิตซ์เซอร์แลนด์) 65,000
  • ราคาดังกล่างรวมครอบฟันคุณภาพดีหากต้องการเป็นเปลี่ยนเป็นครอบฟันที่คุณภาพสูงกว่า หรือเป็นเซรามิกล้วนจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ราคาดังกล่าวไม่รวม ค่า x-ray ค่าพิมพ์ฟัน หรือศัลยกรรมอื่น ๆ เช่น การปลูกกระดูก การยกผนังไซนัส และค่ายาและเวชภัณฑ์อื่น ๆ

ดูข้อมูลเกี่ยวกับการผ่อนชำระ โปรโมชั่นต่างๆ ของ Smile And Co Dental Clinic ได้ที่ด้านล่างนี้ครับ

ราคารากฟันเทียม ทุกรูปแบบ สามารถผ่อนชำระได้ !

รากฟันเทียมมีกี่ยี่ห้อ

  • Hiossen เป็น brand จาก อเมริกา
  • Astra Tech เป็น brand จาก สวีเดน
  • Straumann เปิน brand จาก สวิตช์เซอร์แลนด์

ทุก brand ที่ใช้ จะทำร่วมกับ ครอบฟันที่เป็นเซรามิกล้วน (all ceramics crown) brand จาก Astra tech กับ straumann
ทาง brand จะรับประกันส่วนของตัวรากเทียม (fixture) ตลอดอายุการใช้งาน

อ่านเพิ่มเติมบทความที่คุณหมอเคยเขียนได้ที่ : รากฟันเทียม สวิสเซอแลนด์ / สวีเดน / เกาหลี แบบไหนดีที่สุด

ระยะเวลาการทำรากฟันเทียม

การทำรากฟันเทียม แบ่งการรักษาเป็น 2 ครั้ง ครั้งแรก จะใส่รากฟันเทียมไปในกระดูกรองรับรากฟัน แล้วรอให้รากฟันยึดติดกับกระดูก การทำรากฟันเทียมครั้งแรกนี้จะใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพกระดูกของคน ไข้ และการเลือกชนิดรากฟันเทียมมาใช้ด้วย

ครั้งที่สอง หลังจากรากฟันเทียมยึดติกระดูกแล้ว ก็จะทำในส่วนของการใส่ฟัน บนรากฟันเทียมที่ มีการยึดกระดูกแล้ว

การทำงานของรากฟันเทียม

เนื่องจาก รากฟันเทียม เป็นวัสดุที่ทำจากไททาเนียมหรือเซรามิก มีลักษณะคล้ายกับสกรู เวลาใส่ เข้าไปในขากรรไกร รากฟันเทียมเป็นหลักยึดครอบฟัน สะพานฟัน หรือฟันปลอม เพื่อทดแทน ฟันเดิม ซึ่งใช้เวลาในการรักษาประมาณ 3-6 เดือน ซึ่งแต่ละคนจะใช้เวลาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับ หลายปัจจัย เช่น สภาพกระดูกขากรรไกร จำนวนฟันที่ต้อง ทำรากฟันเทียม

การเตรียมตัวก่อนทำรากฟันเทียม

  1. ปรึกษากับคุณหมอเฉพาะทางเพื่อวางแผนการรักษา เช่น จำนวนของรากฟันเทียมที่ใส่ , ต้องปลูกกระดูกร่วมด้วยหรือไม่
  2. ถ้าคนไข้มีโรคประจำตัว ควรแจ้งกับคุณหมอ เพื่อวางแผนประเมิน ก่อนทำรากฟันเทียม
  3. อาจต้อง X-ray 3 มิติ เพื่อวางแผนการรักษาในกรณีที่ต้องใส่รากฟันเทียมหลายซี่ หรือ มีกระดูกที่หายไปค่อนข้างมาก

การดูแลรักษารากฟันเทียม

เพื่อให้รากฟันเทียมมีการสมานแผลที่ดีและมีอายุการใช้งานยาวนาน ควรปฏิบัติตามคำแนะนำการดูแลหลังการผ่าตัดอย่างเคร่งครัด ดังนี้:

  1. การดูแลทันทีหลังผ่าตัด
    • หลีกเลี่ยงการรบกวนบริเวณที่ผ่าตัด: ไม่ควรสัมผัส บ้วนปาก หรือถ่มน้ำลายแรง ๆ ภายใน 24 ชั่วโมงแรก เพื่อให้ลิ่มเลือดสามารถสร้างตัวได้อย่างสมบูรณ์
    • ประคบเย็น บริเวณใบหน้าภายนอกในช่วง 24–48 ชั่วโมงแรก เพื่อลดอาการบวม
    • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ใช้แรงมาก: เช่น การออกกำลังกายหนัก หรือยกของหนักในช่วง 2–3 วันแรก
    • นอนยกศีรษะสูง ในช่วงคืนแรกหลังการผ่าตัด เพื่อช่วยลดอาการบวมและเลือดออก
  2.  คำแนะนำด้านโภชนาการ
    • รับประทานอาหารอ่อน เป็นเวลาอย่างน้อย 7–10 วัน เช่น ซุป ข้าวต้ม ไม่ควรรับประทานอาหารแข็ง กรอบ หรือเหนียวที่อาจกระทบกับรากฟันหรือไหมเย็บแผล
    • ดื่มน้ำมาก ๆ แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้หลอดดูด ซึ่งอาจสร้างแรงดูดและทำให้แผลเปิด
    • งดดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญที่ขัดขวางการสมานแผลและเพิ่มความเสี่ยงของการล้มเหลวของรากฟันเทียม
  3. การรักษาสุขอนามัยในช่องปาก:
    • แปรงฟันเบา ๆ ด้วยแปรงขนนุ่ม เริ่มได้ภายใน 24–48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด โดยหลีกเลี่ยงบริเวณที่ทำการฝังราก
    • ใช้น้ำยาบ้วนปากต้านเชื้อแบคทีเรีย เช่น คลอร์เฮกซิดีน 0.12% ตามที่ทันตแพทย์สั่ง เพื่อลดการติดเชื้อในระยะฟื้นฟู
    • เริ่มใช้ไหมขัดฟันหรือแปรงซอกฟัน เมื่อแผลเริ่มหายดี โดยเลือกใช้แบบที่ปลอดภัยต่อรากฟันเทียม
  4.  การติดตามผลและตรวจสุขภาพช่องปาก
    • มาตรวจตามนัด เพื่อประเมินการสมานแผล ถอดไหม และตรวจสอบการยึดของรากฟันกับกระดูก (osseointegration)
    • ถ่ายภาพรังสี (x-ray) เป็นประจำทุกปี เพื่อตรวจสอบระดับกระดูกรอบรากฟัน
    • ทำความสะอาดโดยผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยใช้เครื่องมือเฉพาะที่ปลอดภัยต่อรากเทียม เช่น เครื่องมือพลาสติกหรือไททาเนียม
  5.  การจัดการด้านไลฟ์สไตล์และปัจจัยเสี่ยง:
    • ผู้ที่มีพฤติกรรมขบเคี้ยวหรือกัดฟันตอนนอน อาจต้องใส่เครื่องป้องกัน (nightguard) เพื่อป้องกันแรงกดที่มากเกินไปบนรากฟัน
    • ควบคุมโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน หรือภาวะกระดูกพรุน ซึ่งอาจมีผลต่อกระบวนการยึดของรากฟันเทียม
    • แจ้งแพทย์หากมีการเปลี่ยนแปลงของยา โดยเฉพาะยาประเภท bisphosphonates ที่อาจมีผลต่อกระดูกขากรรไกร

เปรียบเทียบรากฟันเทียม สะพานฟัน ฟันปลอมถอดได้

รากฟันเทียม สะพานฟัน ฟันปลอมถอดได้

รากฟันเทียม vs สะพานฟัน

  1. เราไม่ต้องกรอฟันข้างเคียง ซึ่งจะทำให้เสียเนื้อฟัน เพื่อเป็นหลักให้กับฟันซี่ตรงกลางที่จะใส่ฟัน
  2. การกรอฟันข้างเคียง ถ้านานวันแล้วเราทำความสะอาดไม่ค่อยดี จะทำให้เกิดการผุบริเวณรอยต่อของขอบวัสดุอุด ซึ่งนำมาซึ่งการถอนฟันซี่นั้นในอนาคต
  3. การทำความสะอาดที่ค่อนข้างง่ายกว่าการทำสะพานฟัน เพราะสามารถใช้ dental floss ผ่านเข้า-ออกได้

ข้อด้อยกว่า คือ เรื่องของระยะเวลาในการทำ การทำสะพานฟันโดยมากจะเสร็จเร็วกว่า มีขั้นตอนการทำที่ยุ่งยากน้อยกว่า (ไม่ต้องทำการผ่าตัดฝังรากเทียม) ส่วนเรื่องราคา ในปัจจุบัน ราคาค่าใช้จ่ายไม่ต่างกันมากเหมือนในสมัยก่อน การทำสะพานฟันในปัจจุบันจึงมีแนวโน้มลดลงอย่างมาก

รากฟันเทียม vs ฟันปลอมถอดได้

  1. รากฟันเทียมเป็นฟันปลอมที่ติดแน่น ไม่ต้องถอดเข้า ถอดออก
  2. มีความสวยงามกว่า เพราะสามารถทำตัวครอบฟัน เป็นวัสดุเซรามิก ที่มีความสวย ความใส เหมือนฟันธรรมชาติ ในขณะที่ฟันปลอมถอดได้จะใช้เป็น acrylic
  3. มีประสิทธิภาพการเคี้ยวหารที่ดีกว่า เพราะรากฟันเทียม ยึดอยู่ในกระดูก

ข้อด้อยกว่า คือ เรื่องราคาค่าใช่จ่ายของรากเทียม ที่สูงกว่า ฟันปลอมถอดได้

ข้อดี-ข้อจำกัด การปลูกรากฟันเทียม

ข้อดีรากฟันเทียม

  1. เพิ่มความมั่นใจ เสริมบุคลิก พูดและยิ้มได้อย่างเต็มที่
  2. ทำให้สุขภาพอนามัยในช่องปากดีขึ้น และช่วยรักษาเนื้อเยื่อของเหงือก เนื่องจากโครงสร้าง ของฟันสมบูรณ์และแข็งแรง
  3. ทำให้เคี้ยวอาหารได้สะดวกขึ้น และรักบประทานอาหารได้ปกติ
  4. พูดและออกเสียงได้ชัดขึ้น
  5. ลดความกังวลเกี่ยวกับปัญหาในช่องปากได้

ข้อจำกัดในการรักษา

  1. ราคาสูงกว่าฟันปลอมประเภทอื่น
  2. การทำรากฟันเทียมไม่สามารถทำในเด็กที่อายุต่ำกว่า18ปี
  3. มีข้อจำกัดสำหรับผู้มีโรคประจำตัว
  4. คนที่สูบบุหรี่หรือดื่มสุราจัดมีความเสี่ยงในการรักษา

ถาม-ตอบ รากฟันเทียม

รากฟันเทียมสามารถอยู่ได้ตลอดไหม มีอายุใช้งาน นานเท่าไหร่

รากฟันเทียม สามารถอยู่ได้นาน 10-20 ปีขึ้นไป ถ้าเราดูแลที่ดี เช่น ทำความสะอาดดีๆ (แปรงฟันถูกวิธีร่วมกับการใช้ไหมขัดฟัน) , การไม่เคี้ยวของแข็งจนเกินไป เพราะสามารถทำให้ครอบรากเทียมแตกได้ และการหมั่นมาเช็คสภาพกับคุณหมอเป็นประจำ เพียงเท่านี้ก็สามารถ ยืดอายุการใช้งานได้นานๆ

ทำรากฟันเทียม เจ็บไหม

คำตอบ คือ ไม่เจ็บอย่างที่คิดค่ะ เพราะ ความเจ็บปวด สามารถควบคุมได้ค่ะ โดยแบ่งเป็น 2 อย่างนะคะ 1.ขณะทำรากเทียม กับ 2.หลังทำรากเทียม ในขณะทำ อันนี้ขี้นกับคุณหมอที่ทำว่าจะมีวิธีอย่างไรให้ไม่เจ็บอย่างที่คิดไว้ ส่วนหลังทำ ขึ้นกับ ยาแก้ปวด ที่คุณหมอสั่งให้นะคะ ถ้าทานยาตามที่คุณหมอแนะนำ ก็สามารถควบคุมความเจ็บปวดได้อยู่หมัดเลยค่ะ

อายุเท่าไหร่ถึงทำรากฟันเทียมได้

อายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป สามารถเริ่มทำรากฟันเทียมได้ เพราะกระดูกขากรรไกรมีการเจริญเติบโตที่ค่อนข้างเต็มที่แล้ว

ทำไมต้องทำรากฟันเทียม

เนื่องจากสภาพปัญหาช่องปากของแต่ละคนมีความรุนแรงไม่เท่ากัน เช่น ฟันแตกจาก อุบัติเหตุ ฟันห่าง การจัดฟันไม่เข้าที่ต้องจัดฟันเพิ่มเติม จึงจำเป็นต้องสร้างรากฟัน เทียม ขึ้นมาทดแทนรากฟันจริง

ใครบ้างไม่ควรทำรากฟันเทียม

ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางประการ เช่น เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้หรือกำลังรับการรักษาด้วยเคมีบำบัด อาจต้องได้รับการประเมินเพิ่มเติมจากทันตแพทย์

รากฟันเทียมมีการคุ้มครองจากประกันไหม

การคุ้มครองขึ้นอยู่กับแผนการประกันและผู้ให้บริการประกันบางประเภท อาจคุ้มครองแค่บางส่วน เช่น ค่าครอบฟัน แต่ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดหรือการใส่รากฟันเทียม ผู้ป่วยควรตรวจสอบรายละเอียดกับผู้ให้บริการประกันของตน

Reference  Paper dental implant

  1. Wang, Hom-Lay; Boyapati, Lakshmi .“PASS” Principles for Predictable Bone Regeneration Implant Dentistry. 15(1):8-17, March 2006
  2. Misch, Carl E.; Perel, Morton L.; Wang, Hom-Lay . Implant Success, Survival, and Failure: The International Congress of Oral Implantologists (ICOI) Pisa Consensus Conference .Implant Dentistry. 17(1):5-15, March 2008
  3. Sheridan, Rachel A.; Decker, Ann M.; Plonka, Alexandra B.; Wang, Hom-Lay . The Role of Occlusion in Implant Therapy: A Comprehensive Updated Review . Implant Dentistry. 25(6):829-838, December 2016.
  4. Steigenga, Jennifer T.; Al-Shammari, Khalaf F.; Nociti, Francisco H.; Misch, Carl E.; Wang, Hom-Lay . Dental Implant Design and Its Relationship to Long-Term Implant Success . Implant Dentistry. 12(4):306-317, December 2003
  5. Manzano, Guillermo; Montero, Javier; Martín-Vallejo, Javier . Risk Factors in Early Implant Failure: A Meta-Analysis . Implant Dentistry. 25(2):272-280, April 2016
  6. Trakas, Theodoros; Michalakis, Konstantinos; Kang, Kiho . Attachment Systems for Implant Retained Overdentures: A Literature Review . Implant Dentistry. 15(1):24-34, March 2006.
  7. De Rouck T, Collys K, Cosyn J. Single-tooth replacement in the anterior maxilla by means of immediate implantation and provisionalization: A review. Int J Oral Maxillofac Implants 2008;23:897–904
  8. Buser D, Broggini N, Wieland M, et al.  Enhanced bone apposition to a chemical-ly modied SLA titanium surface. J Dent Res 2004;83:529–533
  9. Gokcen-Rohlig B, Yaltirik M, Ozer S, Tuncer ED, Evlioglu G. Survival and success of ITI implants and prostheses: retrospective study of cases with 5-year follow-up. Eur J Dent 2009; 3: 42−49
  10. Zupnik J, Kim S-W, Ravens D, Karimbux N, Guze K. Factors associated with dental implant survival: a 4-year retrospective analysis. J Periodontol 2011; 82: 1390−1395

บทความนี้ตรวจสอบโดย

ทันตแพทย์-ธนพล-อริยะนันทกะ-ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต-มหาวิทยาลัยมหิดล

ทพ. ธนพล อริยะนันทกะ

ประสบการณ์ทางการแพทย์

  • ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยมหิดล
  • Higher Graduate Diploma of oral and maxillofacial surgery Mahidol University
  • Residency training program of oral and maxillofacial surgery Mahidol University
  • Thai board of oral and maxillofacial surgery
  • Oral and maxillofacial surgeon at Phayathai2 hospital